เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 6) “มงคลในแบบกับมงคลนอกแบบ” คืออะไร?

00:47 Mali_Smile1978 1 Comments


เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 6) 
“มงคลในแบบกับมงคลนอกแบบ” คืออะไร?

ที่มา: https://goo.gl/sh82ar

ถาม: มงคล คืออะไร เคยได้ยินเขาว่า “มงคลในแบบกับมงคลนอกแบบ” หมายความว่าอย่างไร และมงคล เช่น ด้ายมงคล ซึ่งสวมเวลาแต่งงาน เป็นต้น มีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้จริงหรือ


ตอบ: คำว่า มงคล เราได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่โบราณแล้ว จนไม่คิดอยากจะแปลกันว่าหมายถึงอะไร เพราะชินหู คำนี้เป็นภาษาบาลี เป็นภาษาแขก แต่เรานำมาพูดมาเขียนกันจนชินแล้วอย่างว่า เลยกลายเป็นภาษาไทยมานานแล้วด้วย

     มงคล แปลอย่างภาษาชาวบ้านฟังกันรู้เรื่องว่า “เหตุให้ถึงความเจริญ” หรือ “สิ่งที่สามารถนำความสุขความเจริญให้แก่ชีวิตมนุษย์” คราวนี้ก็มาถึงปัญหาต่อไปว่า ก็เหตุหรือสิ่งนั้นคืออะไรล่ะ ก็ต้องแจงกันมากหน่อยอีกข้อหนึ่ง

     คือทุกคนทั้งผู้ถามและผู้ตอบ ต่างก็ต้องการความสุขความเจริญด้วยกันทั้งนั้นแหละ ไม่มีพิเศษยกเว้นใครทั้งสิ้น ข้อนี้ไม่มีใครปฏิเสธเมื่อต้องการความสุขความเจริญก็ต้องแสวงหากัน ตอนแสวงหานี่แหละเริ่มผิดแผกกันไป ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างหา ต่างคนต่างไป ไม่ดำเนินไปตามทางเดียวกันทั้งหมด

     หลายคนคิดว่า ความสุขความเจริญจะมีได้ ต้องขยันทำมาหากินเก็บหอมรอบริบไว้ เงินทองทรัพย์สมบัติจึงจะมีพอกินพอใช้ให้เป็นสุข ให้เจริญได้ จึงต่างคนต่างก็แสวงหาทรัพย์สินเงินทองกันตามความเชื่อความเข้าใจของตัว ได้สมประสงค์บ้าง ได้ไม่สมประสงค์บ้าง
ที่มา: https://goo.gl/sh82ar
ที่มา: https://goo.gl/sh82ar

     หลายคนคิดว่า ต้องมีของดีอยู่ในตัว เช่น ต้องมีลักษณะดี มีอักษรชื่อดี มีสัตว์ดีอยู่ในบ้าน มีว่าน มีต้นไม้ มีเครื่องรางของขลัง มีวัตถุมงคลอยู่ในบ้าน เงินทองจึงจะไหลมาเทมา

     สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์คิดว่าจะบันดาลให้เกิดความสุขความเจริญดังกล่าวมาทั้งหมดนี้แหละชาวโลกสมมติเรียกกันว่า “มงคล” 
     ทีนี้ก็พอจะได้ความหมายมงคลในแบบกับมงคลนอกแบบได้แล้ว

     “มงคลในแบบ” คือ มงคลที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้จำนวน ๓๘ อย่าง ทั้ง ๓๘ อย่างนี้เท่านั้นจึงจะนำความสุขความเจริญมาให้มนุษย์ได้อย่างแท้จริง
     “มงคลนอกแบบ” คือ มงคลที่นอกเหนือไปจาก ๓๘ ประการนั้น ซึ่งได้แก่ มงคลที่ชาวโลกทั่วไปนับถือว่าเป็นของดีดังกล่าวถึงข้างต้น
     พูดง่ายๆ อีกทีก็คือ มงคลในแบบเป็นมงคลที่เกิดจากการกระทำด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องบันดาลให้เป็นไป หรือด้วยอำนาจของเทพเจ้า ดวงดาวและวัตถุใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นผลที่เกิดจากอิทธิพลของการลงมือปฏิบัติของมนุษย์ ส่วนมงคลนอกแบบเป็นมงคลที่เกิดจากวัตถุภายนอก จากอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้า ดวงดาว หรืออยู่ภายใต้ของโชคเคราะห์ เป็นต้น 

     มงคลทั้งสองนี้ ในทางพระพุทธศาสนาให้เชื่อมงคลในแบบเท่านั้นเพราะสามารถนำความสุข ความเจริญ นำสมบัติที่มนุษย์ต้องการมาให้ได้ทุกอย่าง นับตั้งแต่มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติอันเป็นสมบัติวิเศษสูงสุด มงคลในแบบ ๓๘ ประการนั้น เช่น การไม่คบคนพาล การคบแต่บัณฑิต การบูชาสิ่งที่ควรบูชา การตั้งตนชอบ เป็นต้น จนขั้นสูงสุด คือการทำใจให้หมดจดจากกิเลส ให้มีความเกษม

ที่มา: https://goo.gl/sh82ar
     ส่วนมงคลนอกแบบ ซึ่งได้แก่ วัตถุบางอย่าง เช่น ด้าย อาวุธ ใบไม้บางอย่าง เช่น ใบเงินใบทอง ขนมบางอย่าง เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ถ้วยฟู สัตว์บางชนิด เช่น แมว ช้าง ม้า โค นก รวมไปทั้งอำนาจของเทพเจ้าดวงดาวต่างๆ มงคลนอกแบบเหล่านี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะบันดาลความสุขความเจริญและสมบัติให้แก่มนุษย์ได้ทุกอย่างเหมือนมงคลในแบบ 

     แต่ชาวโลกยอมรับว่าเป็นมงคลจึงให้ความนับถือกันอยู่ ก็เพราะนำความสบายใจมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ เช่น ถ้าแต่งงานไม่มีมงคลแฝดสวม คู่บ่าวสาวก็จะไม่สบายใจถือว่าทำไม่ถูกวิธี เมื่อไม่สบายใจก็ทำให้เป็นกังวลอยู่เรื่อย ทำให้จิตใจหวาดระแวงอยู่เสมอ หากมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นภายหลัง ก็จะโทษทันทีว่าเพราะไม่สวมมงคลแฝด เป็นต้น ซึ่งที่จริงแล้วคนที่สวมมงคลแฝดแต่งงานกลับหย่าร้างกัน มีเรื่องราวก็มาก ส่วนคนไม่ได้สวมแต่อยู่ดีกินดีก็มีถมไป

     แต่ยังถือยังทำอยู่ก็เพราะทำเพื่อให้เกิดความสบายใจ คือ ตกในคติที่ว่า ทำดีกว่าไม่ทำ ทำไปแล้วก็ไม่เสียหายอันใด
     เรื่องอื่นๆ ก็เช่นกัน ถือกันมาเสียจนเป็นปกติธรรมดา ไม่เป็นของแปลก แต่ถ้าไม่ถือสิกลับเป็นแปลกไป ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน คือ ทำดีกว่าไม่ทำ มีดีกว่าไม่มี เชื่อดีกว่าไม่เชื่อ อะไรทำนองนั้น

ที่มา: https://goo.gl/5yP96f

     ยังมีอีกมงคลหนึ่งที่ทางศาสนาปฏิเสธว่าเป็นสิ่งไม่ควรถือ คือ มงคลตื่นข่าว
     อันมงคลตื่นข่าว ก็คือการเชื่อถืออะไรตามข่าวร่ำลือ ตามที่ได้ยินได้ฟังมา เข้าลักษณะคนหูเบา เชื่ออะไรง่ายๆ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้มีสาส์นแห่งการนำโชคลาภระบาดทั่วกรุง คนที่เชื่อก็เกรงกลัว พิมพ์แจกคนโน้นบ้างคนนี้บ้างต่อๆ กันไป คนที่ไม่เชื่อก็เฉยๆ และก็ไม่เห็นจะมีอะไรเกิดขึ้นดังนี้ เป็นต้น นี่เป็นการเชื่อแบบคนหูเบา แบบโง่เขลา ไม่คิดถึงเหตุผล ความเป็นไปได้ ตกอยู่ในความกลัวตาย เขาว่าคนโง่เป็นเหยื่อของคนฉลาดก็เพราะอย่างนี้เอง ไม่ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองดูเหตุผลเสียก่อน ว่าเป็นได้หรือไม่ได้

     นี่แหละหนอ อิทธิพลมงคลตื่นข่าว ปิดบังปัญญาคนฉลาดๆ ก็ได้ทำให้ตบอดตามัวก็ได้ และทำให้ล่มจมกันมาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว ยังไม่เข็ดกันอีก

กรรมของมนุษย์แท้ๆ!


ขอบคุณข้อมูล
หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร, เมษายน ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๒๑ - ๒๔.

1 ความคิดเห็น:

สวดมนต์ให้ขลังด้วยกำลัง 5 ประการ

02:42 Mali_Smile1978 5 Comments

ที่มา: https://goo.gl/VNBUlM

สวดให้ขลังด้วยกำลัง 5 ประการ

     การสวดมนต์เพื่อป้องกันภัยนั้น จะเกิดอานุภาพมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในบทสวดและความตั้งใจของผู้สวดเป็นสำคัญ เพราะพุทธมนต์แต่ละบทล้วนมีพลังอานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวแล้ว เพียงแต่ว่าใครจะสามารถนำออกมาใช้ให้เกิดผลได้มากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น หัวใจของการปลุกพุทธมนต์ให้เกิดฤทธานุภาพนั้น มี อยู่ 5 ประการ เรียกว่า พละ 5 คือ

๑. ต้องมีศรัทธา คือ มีความเชื่อมั่นในอานุภาพของพระรัตนตรัย เชื่อมั่นในอานุภาพของบทสวด เชื่อมั่นในอานุภาพแห่งความดี เชื่อมั่นว่าการสวดมนต์เป็นการทำความดี และเชื่อมั่นว่าเมื่อตนทำความดีด้วยการสวดมนต์แล้ว ความดีจักคุ้มครองตนให้ปลอดภัย ทำให้ชีวิตมีความสุขและคิดให้เป็นสุขได้

๒. ต้องมีวิริยะ คือ มีความเพียร ตั้งใจทำ ไม่ทำด้วยความเกียจคร้าน

๓. ต้องมีสติ คือ ในขณะสวดต้องมีสติรักษาใจให้จดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่ปล่อยใจลอยไปคิดเรื่องอื่น คนที่สวดแต่ปาก แต่ใจลอยไปที่อื่น การสวดมนต์ก็เปล่าประโยชน์

๔. ต้องมีสมาธิ คือ ขณะสวดพึงรักษาจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่อยู่กับการสวดเท่านั้น ถ้าผู้สวดสามารถรักษาสติให้อยู่กับบทสวดได้นานเท่าไร สมาธิก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จิตที่มีสมาธิมาก ย่อมมีพลังในการปลุกเสกพระพุทธมนต์ให้เกิดอานุภาพได้มาก

๕. ต้องมีปัญญา หมายถึง ต้องสวดด้วยความเข้าใจ คือ ในขณะ สวดมนต์ก็ให้พิจารณาทำความเข้าใจในเนื้อหาของบทสวดไปด้วย เพราะเมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจที่ประกอบด้วยเหตุผลแล้ว ก็จะเป็นแรงหนุนให้มีศรัทธามากขึ้น เมื่อศรัทธามากขึ้น ก็ทำให้มีวิริยะมากขึ้น เมื่อวิริยะมากขึ้น สติก็มากขึ้น เมื่อสติมากขึ้นก็เกื้อหนุนให้สมาธิแก่กล้าขึ้น เมื่อสมาธิแก่กล้าขึ้น ปัญญาก็ เฉียบแหลมยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในพระพุทธมนต์ก็จะซึมซาบเข้าสู่จิตใจ ก่อให้เกิดพลานุภาพคุ้มครองตนเองได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง 

ที่มา: https://goo.gl/VNBUlM

อานิสงส์การสวดมนต์ ๑๕ ประการ
     ผู้ที่สวดมนต์ด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือผลความดี มากมายดังต่อไปนี้

๑. ทำให้สุขภาพดี การสวดมนต์ออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เมื่อปอดทำงาน เลือดลมก็เดินสะดวก เมื่อเลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกรฉับกระเฉง

๒. คลายความเครียด ขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่กับบทสวด สมองไม่ได้คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

๓. เพิ่มพูนศรัทธาในพระรัตนตรัย บทสวดแต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เมื่อสวดบ่อย จิตก็จะยิ่งแนบแน่นอยู่กับพระรัตนตรัย

๔. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะสวดต้องใช้ความอดทนเพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตลอดถึงอารมณ์ฝ่ายต่ำทั้งหลายมีความเกียจคร้าน เป็นต้น ยิ่งสวดบ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น

๕. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะสวดจิตจดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่วอกแวกฟุ้งซ่านไปที่อื่น จึงทำให้จิตสงบและเกิดสมาธิมั่นคง

๖. บุญบารมีเพิ่มพูน ในขณะสวดมนต์ จิตใจย่อมปราศจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าเกิดบุญบารมี บุญบารมีนี้ เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่เราต้องการ

๗. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาหลังจากสวดมนต์ เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธในใจให้เบาบางและลดน้อยลง ทำให้จิตใจปราศจากความโกรธ และพบแต่ความสุข 

ที่มา: https://goo.gl/VNBUlM

๘. เกิดความเป็นสิริมงคล การสวดมนต์เป็นการทำความดีไปพร้อมกันทั้งทางกาย วาจา ใจ การทำดี พูดดี คิดดี ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

๙. เทวดารักษา ผู้ที่ประกอบกรรมดี ทางกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดา และการที่เราได้แผ่เมตตาให้แก่เทวดานั้น ก็ยิ่งจะเป็นที่รักของเทวดามากขึ้น

๑๐. ปัญญาเกิด การสวดมนต์พร้อมคำแปล ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงความหมายของบทสวดนั้น

๑๑. ผิวพรรณผ่องใสและมีเสน่ห์ การสวดมนต์ทำให้จิตใจของผู้สวดสดชื่นเบิกบาน จิตที่สดชื่นเบิกบานย่อมส่งผลให้ผิวพรรณดี หน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเป็นมิตร รักใคร่เอ็นดู

๑๒. ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้เป็นมิตรยิ่งรักใคร่

๑๓. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

๑๔. ทำให้ดวงดี แก้ไขเคราะห์ร้าย ปัดเป่าเสนียดจัญไร เพราะดวงชะตาของคนเราขึ้นอยู่กับการกระทำ ใครทำดี ดวงชะตาย่อมดี ใครทำชั่ว ดวงชะตาก็ตก การสวดมนต์เป็นการทำดีที่สามารถเปลี่ยนดวงชะตาให้ดีขึ้นได้

๑๕. ครอบครัวและสังคมสงบสุข ที่พ่อบ้าน แม่บ้าน สวดมนต์อยู่เป็นประจำ และสอนให้บุตรหลานได้สวดมนต์ จะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง และการที่จะไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นก็ไม่มี มีแต่จะทำให้คนรอบข้างและสังคมอยู่เป็นสุข สงบ ร่มเย็น และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นอีกด้วย 

สามเณรเชน เณรน้อย 8 ขวบ! ท่องบท ‘ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร’ 



ขอบคุณข้อมูล
- "พุทธฤทธิ์ พิชิตภัย" สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง
http://www.lc2u.org/th/know_mon.php
- https://www.youtube.com/watch?v=QvcI7GpDQdg

5 ความคิดเห็น:

เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่5):อายุของศาสนาพุทธมีกี่ปี เริ่มต้นเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร?

06:45 Mali_Smile1978 0 Comments

เรียนรู้เรื่องศาสนา จากปัญหาข้องใจ(ตอนที่5):

ที่มา: https://goo.gl/uFCl4D

ถาม: อายุของศาสนาพุทธมีกี่ปี เริ่มต้นเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร?

ตอบ: เรื่องอายุของพระพุทธศาสนานี้เป็นเรื่องที่คนโบราณเชื่อถือกันมานานแล้วว่าศาสนาพุทธจะมีอายุได้ ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น โดยนับเริ่มแต่ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือเท่ากับ พ.ศ. ๑ ในปีนั้นนั่นเอง ก็แสดงว่า ศาสนาพุทธมีอายุล่วงมาได้แล้ว ๒๕๑๙ ปีแล้ว (ณ ปัจจุบันนี้อายุพระศาสนาล่วงมาแล้ว ๒๕๖๐ ปี )

     คราวนี้มาว่ากันตามหลักวิชาบ้าง ผู้ตอบยังไม่พบหลักฐานจากที่ไหนที่บ่งบอกว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสอายุพระพุทธศาสนาไว้เพียง ๕,๐๐๐ ปี เห็นมีแต่ปรากฏในคัมภีร์ญาโณทัยปกรณ์ ซึ่งพระพุทธโฆษาได้แต่งไว้เมื่อประมาณศตวรรษที่ ๑๐ พระเถระองค์นี้เป็นผู้ฉลาด แต่งคัมภีร์อธิบายความพระพุทธพจน์ไว้มาก จนได้รับยกย่องจากนักปราชญ์ทั่วไปทั้งในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธและนับถือศาสนาอื่น คัมภีร์ที่ท่านแต่งไว้นั้น คณะสงฆ์ไทยได้นำมาเป็นหลักสูตรให้ศึกษาเล่าเรียนกันตั้งแต่ชั้นประโยค ปธ.๓ ถึง ปธ.๙ เลยทีเดียว
     ในคัมภีร์ญาโณปกรณ์นั้น มีบทเริ่มต้นว่า
“พระพุทธศาสนาจะครบกำหนด ๕,๐๐๐ ปี ในปีชวด ”

     ข้อความเพียงเท่านี้กระมังที่ทำให้คนโบราณถือว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาและบอกเล่ากันต่อๆ มา

     ตามความเห็นของผู้ตอบแล้ว เห็นว่าอายุของพระศาสนาอาจมากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ แต่อย่าได้เป็นห่วงอายุพระศาสนาเท่านั้นเลย ห่วงอายุของตัวเองเถิด อย่าให้อายุของตัวเองล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักศาสนาไว้เสมอแล้วศาสนาก็ชื่อว่ายังอยู่ อายุศาสนาจะยังไม่สิ้นไป

ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS

     ตอนนี้ขออ้างตำราหน่อย คือในตำราท่านว่าไว้ว่าความสูญสิ้นแห่งศาสนานั้นเป็นไปตามลำดับขั้นตอน คือเสื่อมไปตั้งแต่ข้อต้นจนถึงข้อสุดท้าย
     ลำดับของความเสื่อมมี ๕ ขั้น คือ
(๑) ปริยัติอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย
(๒) ปฏิปัตติอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการปฏิบัติธรรม
(๓) ปฏิเวธอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการรู้แจ้งธรรม
(๔) ลิงคอันตรธาน ความเสื่อมแห่งเพศ
(๕) ธาตุอันตรธาน ความเสื่อมแห่งพระธาตุ

     หมายความว่า อันดับแรกการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และคำสอนของพระพุทธเจ้าจะเสื่อมสูญไปก่อน หาผู้ศึกษาไม่ได้ เมื่อไม่ศึกษาก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ปฏิบัติไม่ถูก ปฏิบัติตามใจชอบ การปฏิบัติธรรมก็เสื่อมสูญ เมื่อไม่ปฏิบัติธรรม การรู้แจ้งแทงตลอดมรรคผลก็ไม่เกิดขึ้น พระเณรก็เป็นเพียงผู้นุ่งเหลืองห่มเหลืองเท่านั้น หนักเข้าๆ ก็ไม่มีผู้ศรัทธาที่จะบวช บวชแล้วก็ไม่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาที่จะบำรุงเลี้ยง ความเป็นอยู่ของพระเณรก็ลำบาก 

ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS

     เมื่อลำบากก็อยู่ไม่ได้ พากันสึกหมด ที่บวชใหม่เพิ่มเติมก็ไม่มี ผู้ดำรงเพศเป็นพระก็หมดไป เมื่อพระเณรหมด ก็ไม่มีคนกราบไหว้บูชารักษาพระธาตุ พระธาตุก็ย่อมเสื่อมสูญไปตามธรรมสภาพ เมื่อพระธาตุอันตรธานเสื่อมสูญไป ศาสนาก็ชื่อว่าหมดอายุลงด้วยประการฉะนี้
     ใน ๕ ข้อนั้น ข้อแรกเริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีอันตรธานไปโดยเร็วเสียด้วยซี

ถาม: ใครเป็นผู้รับผิดชอบศาสนาพุทธ (หมายถึงโลกวิญญาณ)

ตอบ: ผู้รับผิดชอบต่อศาสนาพุทธนั้นหาใช่ใครที่ไหนเลย ที่แท้ก็พวกเราชาวพุทธนี่แหละ ชาวพุทธที่เรียกว่า “พุทธบริษัท” ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทุกท่านนี่เองที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนา เป็นศาสนทายาทที่รับมรดกศาสนามาจากบรรพบุรุษแล้ว ต้องช่วยกันประคับประคองไว้ให้ดี ช่วยกันรับผิดและรับชอบที่เกิดขึ้นต่อพระศาสนา คือต้องรับทั้งส่วนที่ผิดและส่วนที่ชอบ ไม่ใช่รับเฉพาะส่วนที่ชอบอย่างเดียว

ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS

     ส่วนที่ผิด คือความผิดพลาดในการดำเนินการรักษาพระศาสนา ความผิดพลาดในนโยบายการเผยแผ่พระศาสนา กล่าวคือความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะพึงเกิดขึ้นในวงการพระศาสนาต้องยอมรับกันว่าเป็นความผิดแล้วช่วยกันหาทางแก้ไขปรับปรุง ไม่โยนกลองกันไปมาหรือหันหลังให้ส่วนที่ผิดนี้ เพราะตราบใดพุทธบริษัทไม่ยอมรับส่วนที่ผิดว่าเป็นผิดก็ย่อมจะแก้ความผิดไม่ได้ เหมือนหมดจะรักษาโรคต้องยอมรับว่านั่นเป็นโรคจริงๆ เสียก่อนจึงจะรักษาให้หายได้ หากไม่ยอมรับว่ามันเป็นโรคแล้ว ยากที่จะรักษาได้ หรือบางทีไม่ยอมรักษาไปเลย

     ส่วนการรับชอบนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะส่วนใหญ่ก็ชอบกันอยู่แล้ว

     ผู้รับผิดชอบต่อศาสนานั้นคือพุทธบริษัทดังกล่าว คราวนี้พุทธบริษัทที่ว่านั้นอยู่ในวัดก็มี อยู่บ้านก็มี โดยเฉพาะผู้อยู่ในวัดต้องเป็นแกนกลาง เป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้นำเป็นผู้เสนอ ผู้อยู่บ้านเป็นผู้ตาม เป็นผู้สนอง
ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS

     ผู้อยู่วัด ได้แก่ พระเณร ทั้งที่เป็นมหาเถระ พระเถระ อุปัชฌาย์อาจารย์จนถึงพระหนุ่มเณรน้อยทั้งหลาย

     ผู้อยู่บ้าน ได้แก่ พ่อบ้าน แม่บ้าน สมาชิกในครอบครัวทั้งหมด รวมทั้งหน่วยงานทางราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อศาสนาโดยตรง เช่น กรมการศาสนา กรมศิลปากร และโดยอ้อม เช่น โรงเรียน เป็นต้น

ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS

     เมื่อฝ่ายวัดฝ่ายบ้านมาช่วยกันจริงๆ จังๆ แล้ว ศาสนาพุทธก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น หากต่างก็ช่วยกันไปตามหน้าที่เท่านั้น ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่กระตือรือร้น ไม่มีจิตสำนึกว่าต้องทำเพื่อศาสนาอันเป็นที่รักเป็นที่หวงแหนแล้ว สภาพของศาสนาพุทธก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างที่เห็นๆ กันและอาจจะเลวร้ายลงทุกวันๆ กล่าวคือ ผู้คนห่างวัดห่างศาสนากันมากขึ้น ภัยศาสนาเกิดรุกรานกันมากขึ้น ศาสนาหรือลัทธิอื่นย่อมได้โอกาสได้ช่องที่จะเผยแผ่ศาสนาของตนได้รวดเร็วขึ้นด้วยซ้ำ

     ถ้าจะว่าให้ชัดรัดกุมลงไปก็คือว่า ขอให้พุทธบริษัทพยายามประพฤติ ปฏิบัติธรรม สั่งสอบอบรมธรรม และทำตัวทำใจให้อยู่ในกรอบของธรรมเท่านั้นเท่ากับว่าได้ช่วยกันรับผิดชอบต่อศาสนาแล้ว เพราะการทำเช่นนั้นเท่ากับว่าได้สร้างพลังในวงการศาสนา หากวงการศาสนามีพลังอย่างว่า และต่างก็ดีด้วยกันทั้งหมดแล้ว ใครจะมาทำอะไรเราได้ เหมือนมือที่ปราศจากแผลจะกอบจะกำยาพิษไปไหนก็ย่อมได้ ยาพิษจะทำยาพิษให้ไม่ได้เลย เพราะเราไม่มีแผลให้ยาพิษแทรกซึมเข้าไป

รวมความแล้วต้องช่วยกัน และช่วยกันจริงๆ ว่างั้นเถอะ


ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร, พฤษภาคม ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๒๗ - ๓๐.


0 ความคิดเห็น:

น้ำใจคนไทย! ไม่เคยสูญสิ้นไปจากผืนแผ่นดิน: อีกสิ่งที่หล่อหลอมสังคมให้น่าอยู่

03:16 Mali_Smile1978 1 Comments

ที่มา: https://goo.gl/h1q0fz Tnn24 
น้ำใจคนไทย! รถแหวกทางยาวให้กู้ภัยช่วยคนเจ็บ
โซเชียลชื่นชมผู้ใช้รถใช้ถนนชาวกระบี่ ให้ความร่วมมือรถกู้ภัยในการช่วยเหลือคนเจ็บ ด้วยการขับรถเปิดทางให้

     เมื่อวันที่ 24พ.ค.60...โดยในคลิปเป็นเหตุการณ์ขณะรถกู้ภัยเร่งเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ รถจักรยานยนต์ชนกับรถยนต์ บริเวณถนนอุตรกิจ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีการจราจรที่ติดขัดพอสมควร รถกู้ภัยไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุได้ จึงเปิดไซเรน และประกาศขอทาง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้รถใช้ถนนบริเวณนั้นเป็นอย่างดี รีบหลบ หลีกทางเพื่อให้รถกู้ภัยสามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุได้อย่างปลอดภัย (อ่านเพิ่มเติม: 
https://goo.gl/h1q0fz Tnn24)

     การที่เห็นคนไทยแสดงน้ำใจต่อกัน นี่ไม่ใช่เพียงเหตุการณ์แรกแต่เคยมีเหตุการณ์ลักษณะคล้ายๆ กันเกิดมานักต่อนักแล้ว นับว่าเป็นคุณธรรมประจำในจิตใจพวกเราคนไทย ถือเป็นความดีงามที่น่าชื่นชมยกย่องและขอให้ดำรงรักษาไว้ไปนานแสนนาน วันนี้จึงอยากจับแง่คิดมุมมองต่อยอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในเรื่องความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเสียสละ 



ที่มา: https://goo.gl/DvO04v

     สังคมไทยเป็นสังคมที่มีประวัติความเป็นมาสืบทอดต่อกันมาเนิ่นนาน มีลักษณะหลายประการที่เป็นของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด เช่น การเคารพผู้มีอาวุโส ความเกรงอกเกรงใจกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อะไรคือสิ่งที่หล่อหลอมอุปนิสัยของคนไทยในด้านคุณธรรมจริยธรรมเหล่านี้ อาจพิจารณาในด้านกว้าง ๆ 3 ประการ ดังนี้ (๑) จริยธรรมตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา (๒) สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีต (๓) สภาพการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน
     ความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ คือการช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยวัตถุสิ่งของโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ การสร้างถนนหนทาง สร้างสะพาน สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน สร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เป็นต้น เพื่อให้คนหมู่มากใช้สอยร่วมกัน
     ความมีน้ำใจยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยไม่หวงแหน แนะนำหลักการดำเนินชีวิต โดยอาศัยหลักธรรมและประสบการณ์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ การเสียสละสุขและผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อสุขและประโยชน์ส่วนรวม การเสียสละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เล็กน้อย เพื่อประโยชน์ที่มากกว่า เป็นการสละกิเลสออกจากใจ
ที่มา: http://news.mthai.com/webmaster-talk/135349.html

ที่มา: https://goo.gl/DvO04v

     ความเสียสละเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคมต้องมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรมเครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะนิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวม มากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัว
คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมจะเกิดความสงบสุขได้ควรจะมีคุณธรรม คือความเสียสละ 

     เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะถ้าต่างคนต่างเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่คนอื่นแล้ว ส่วนรวมก็จะเดือดร้อน เมื่อส่วนรวมเกิดความเดือดร้อนเสียแล้วความสุขความสงบจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

     เมื่อเราได้ระลึกถึงการเสียสละที่ผ่านมา เป็นภาพแห่งความดีจะทำให้เกิดความปลื้ม เมื่อได้ปฏิบัติธรรม จะเกื้อหนุนใจให้เบิกบาน เกิดปีติเอิบอิ่ม ต่อจากนั้นจะเกิดความสงบกายสงบใจ มีใจตั้งมั่นแน่วแน่ ทำให้ประกอบหน้าที่การงานได้ผลดี

     การระลึกถึงการเสียสละของตนอยู่เป็นนิตย์ว่า เป็นลาภของเราแท้ เราได้ปฏิบัติดีแล้ว คนอื่นถูกความตระหนี่รุมเร้าเผาใจอยู่ แต่เรามิได้เป็นเช่นเขา มีใจปราศจากความตระหนี่ มีอัธยาศัยยินดีในการเสียสละ ใครต้องการขอ เราพอใจในการให้และการแบ่งปันกัน เมื่อระลึกอยู่อย่างนี้ จิตจะไม่ถูกราคะ โทสะ และโมหะรุกรานรังแก
ที่มา: https://goo.gl/DvO04v
     ความมีน้ำใจมีอานิสงส์กำจัดความตระหนี่หวงแหน ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี เมื่อกำจัดความตระหนี่ได้อย่างนี้ ย่อมมีผลทำให้มีจิตใจปลอดโปร่ง ไม่เคียดแค้น

     ความมีน้ำใจ การเสียสละ เป็นบารมีธรรมของผู้มีอัธยาศัยเป็นพระโพธิสัตว์ ด้วยบารมีธรรมนี้ เป็นหลักที่ทำให้บุคคลมุ่งมั่นในการทำความดี แม้จะประสบปัญหาอุปสรรคมากมาย จะไม่หวั่นไหว มีจิตใจเสียสละ เอื้อเฟื้อด้วยวัตถุสิ่งของและสละความไม่พอใจกัน ความขัดเคืองใจต่อกันออกไปจากจิตใจ จึงทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสงบสุข



ขอบคุณข้อมูลจาก
1. https://goo.gl/YhqGOj

1 ความคิดเห็น:

อะไรคือความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ และจะทำให้เกิดความสุขเช่นนั้นได้อย่างไร

04:14 Mali_Smile1978 0 Comments

เรียนรู้เรื่องศาสนา จากปัญหาข้องใจ(ตอนที่4)

ที่มา: google.com


ถาม: อะไรคือความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ และจะทำให้เกิดความสุขเช่นนั้นได้อย่างไร

ตอบ: ความสุข คือความสบายกายสบายใจ มีความคล่องตัวคล่องใจในการเป็นอยู่ อย่างที่ชาวบ้านชอบพูดกันว่า มีความอยู่ดีกินดี นั่นแหละ
     มนุษย์ทกคนต้องการความสุขด้วยกันทั้งนั้น แต่ต้องการความสุขไม่เหมือนกัน สำหรับมนุษย์ที่เบื่อโลกแล้ว ความสุขที่ต้องการ คือ การหมดกิเลสหมดกองทุกข์ได้สิ้นเชิง ส่วนมนุษย์ทั่วไปซึ่งยังไม่เบื่อโลก ความสุขที่ต้องการที่แท้จริงก็คือความอยู่ดีกินดี มีคนเคารพนับถือ มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีสุขพร้อมนั่นเอง

     ความสุขอย่างที่ว่า เป็นความสุขของผู้ครองเรือนซึ่งภาษาพระเรียกว่า “ คิหิสุข” จะเกิดมีได้หลายทางด้วยกัน ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านแสดงไว้ ๔ ประการ คือ

(๑) สุขเกิดจากการมีทรัพย์

     ทรัพย์ในที่นี้ หมายถึง ทั้งทรัพย์ที่มีวิญญาณ คือบริวาร คนรับใช้ สัตว์ยานพาหนะ สัตว์เลี้ยงต่างๆ และทรัพย์ไร้วิญาณ คือ ที่ดิน บ้าน นา สวน อาหาร ของใช้ แก้วแหวนเงินทอง เป็นต้น คนเราหากมีทรัพย์อยู่กับตัวก็พออุ่นใจได้ไปไหนมาไหนทำอะไรก็สะดวกใจดี ถ้าขาดทรัพย์ อะไรๆ ก็ดูจะขาดเสียไปหมด แม้ทางศาสนาก็รับว่า ความจนเป็นทุกข์ในโลก หากมีบ้านอยู่มีเงินใช้ก็ถือว่ามีความสุขเกือบจะสมบูรณ์

     ทรัพย์ย่อมทำให้คนเรามีความสุขได้ ดังนั้น เมื่อต้องการความสุขจำต้องหาทรัพย์ไว้เป็นสมบัติสำหรับตัว เมื่อมีทรัพย์แล้วก็คล่องตัวไปทุกอย่างผู้คนก็ยอมรับ ดังคำโบราณว่า "มีเงินมีทองพอพูดได้ มีไม้มีไร่ปลูกเรือนงาม"


ที่มา: https://goo.gl/a72oQV

(๒) สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์

     เรื่องการจ่ายทรัพย์ดูเผินๆ แล้วไม่น่าจะกล่าวถึงทั้งไม่น่าจะทำให้เกิดความสุขได้เลย เพราะเป็นการเสียทรัพย์ไป เพราะใครๆ ก็จ่ายได้จ่ายเป็น หากมีทรัพย์อยู่ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือหากไม่รู้จักใช้จ่าย หรือใช้จ่ายไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ ทรัพย์นั้นอาจพาทุกข์มาให้ได้ และจะพาลหมดเอาเสียด้วย อย่างเช่นในกรณีที่มีเงินแล้วไปว่าจ้างให้ไปทำทุจริตผิดกฎหมายเข้า หรือเก็บไว้เฉยๆ ไม่รู้จักใช้ก็ลำบากใจ ต้องระวังรักษา กลัวเขาจะมาลักขโมยเอาไป เกรงเขาจะรู้ว่ามีเงินมีทองมาก เป็นต้น

     การใช้จ่ายทรัพย์ที่จะนำความสุขมาให้ได้ก็ต่อเมื่อรู้จักใช้ รู้จักอะไรควรไม่ควร ใช้แบบประหยัดไม่ใช้แบบสุรุ่ยสุ่ร่าย หรือแบบมีเท่าไรใช้หมดหมดแล้วหาใหม่

ในกรณีนี้ท่านวางหลักในการใช้จ่ายทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดความสุขและเป็นการใช้ในทางที่ถูกที่ควร คือ

o จ่ายเลี้ยงตัวเอง มารดา บุตร ภรรยา คนรับใช้ให้เป็นสุขพอสมควรแก่อัตภาพ

o จ่ายเลี้ยงเพื่อฝูงให้เป็นสุขพอควรแก่อัตภาพ

o จ่ายในการป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดและเกิดแล้ว เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น

o จ่ายเพื่อทำพลี ๕ อย่าง มีเสียภาษี เป็นต้น 


บริจาคทานในสมณะ ชี พราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ 

ที่มา: https://goo.gl/tbB41B

     แต่ทรัพย์ที่จับจ่ายแล้วนำความสุขมาให้นั้นต้องเป็นทรัพย์ที่หาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง ได้มาโดยถูกธรรม และเป็นทรัพย์ที่บริสุทธิ์ จ่ายแล้วจึงสบายใจ สิ่งของที่เราใช้นั้นหากได้มาจากการซื้อหาด้วนทรัพย์บริสุทธิ์ก็ใช้ได้สะดวกใจ ไม่ต้องหวาดระแวงคนจะสงสัยว่าได้ทรัพย์จากไหนมาซื้อ

     ตรงกันข้ามหากเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบ โดยไม่ถูกธรรม เช่น ได้มาด้วยการทุจริต ฉ้อโกง ลักปล้นเขามา ก็จ่ายมาคล่องตัว ต้องหวาดระแวงกลัวคนจะรู้ สิ่งของที่ลักขโมยเขามาก็ไม่กล้านำออกมาใช้ให้คนเห็น กลัวถูกจับได้ คนมีทรัพย์เช่นนี้ย่อมจะไม่ได้ความสุข ไม่ได้ความสะดวกใจในการใช้จ่ายทรัพย์ที่ตนมี

(๓) สุขเกิดจากการไม่มีหนี้

     การเป็นหนี้สินคนอื่นถือว่าเป็นยอดของความทุกข์อย่างหนึ่ง ดังพระพุทธภาษิตว่า อิณาทานํ ทุกขํ โลเก – การกู้หนี้ยืมสินเขามาเป็นทุกข์ในโลก และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ลูกหนี้ทุกคนมักจะนอนไม่เป็นสุข ใจพะวงกังวลอยู่กับการใช้หนี้ หากหาไม่ทันก็ยิ่งหนักใจเพิ่มขึ้น แม้ว่าหน้าจะยิ้มแต่ภายในนั้นหาความสุขจริงๆไม่ได้เลย เมื่อถูกทวงหนี้ก็จำต้องหน้าทนผลัดวันชำระหนี้ ไม่เคยโกหกก็ต้องโกหกเป็น ไม่เคยหนีหน้าคนก็ต้องหนีหน้า ทุกข์เพราะเงินต้นยังไม่พอ ยังทุกข์เพราะดอกอีกเล่า มันจะงอกอยู่ทุกวัน หากได้ใช้หนี้ไปได้บ้างหรือใช้หมดไปก็เหมือนกับยกภูเขาออกจากอกอย่างนั้นแหละ
     ผู้ที่ไม่เคยเป็นหนี้ใครจึงถือว่าเป็นไทเป็นอิสระแก่ตัว จะไปไหนมาไหนก็ไม่ต้องพะวงใจ คนมีหนี้ไม่มีอิสระอย่างนั้น ยิ่งหนี้มากก็เหมือนกับมีเพชฌฆาตตามติดอยู่เสมอทีเดียว

     หากต้องการทราบว่าความเป็นหนี้มันทุกข์ขนาดไหน ลองไปกู้หนี้ยืมสินเขาดูเถิด จะรู้ดี 

ที่มา: https://goo.gl/lin2Ue

(๔) สุขเกิดจากการทำงานที่ไม่มีโทษ

     ข้อนี้บ่งบอกถึงการมีความสุขจากการประกอบอาชีพที่สุจริตไม่ผิดศีลธรรมและกฎหมาย ทำงานที่สุจริตอย่างนี้ย่อมได้รับความสบายใจ ไม่ต้องวิตกกังวลคอยถูกจับผิด

     คนเราหากไม่มีงานทำก็เดือดร้อน หรือทำงานที่ทุจริตก็เดือดร้อนอีก ยิ่งเป็นงานทุจริตที่ก่อความเสียหายให้แก่สังคมส่วนรวม แก่ทางราชการด้วยแล้วยิ่งเป็นทุกข์กังวลมากขึ้น มีความไม่สบายใจอยู่ตลอดเวลา กลัวเขาจะจับได้ไล่ทันบ้าง ต้องหลบต้องซ่อนตัวบ้าง

     ดังนั้น ผู้มีงานทำเป็นหลักฐาน แม้เป็นงานที่มีรายได้ต่ำและไร้เกียรติแต่เป็นงานที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม ย่อมได้รับความสบายใจกว่าผู้ทำงานทุจริตผิดศีลธรรมและกฎหมาย แม้ว่างานนั้นจะเป็นงานมีรายได้สูงและมีเกียรติก็ตาม

     สุขของมนุษย์ ๔ ประการนี้เป็นสุขที่พึงปรารถนาของทุกคน เมื่อต้องการก็พึงแสวงหากันเถิด 


ขอบคุณข้อมูล

- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒,(จากวารสารมงคลสาร, มีนาคม ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.

0 ความคิดเห็น:

ดื่มเหล้าผิดตรงไหน?: เราซื้อของเรามาดื่มเอง ไม่ได้ไปลักขโมยของใครและเราก็ดื่มแต่เพียงเล็กน้อย ไม่ได้ไปก่อเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับใคร ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่เห็นน่าจะผิดตรงไหน ทำไมท่านจึงปรับโทษไว้ด้วย?

05:38 Mali_Smile1978 1 Comments

เรียนรู้เรื่องศาสนา จากปัญหาข้องใจ(ตอนที่3):


ที่มา: https://pantip.com/topic/31921387

ถาม: ศีลข้อที่ห้าที่ท่านบัญญัติไว้ว่าห้ามดื่มสุราและเมรัยนั้น ความจริงการดื่มสุราและเมรัยซึ่งเราซื้อของเรามาดื่มเอง ไม่ได้ไปลักขโมยของใครและเราก็ดื่มแต่เพียงเล็กน้อย ไม่ได้ไปก่อเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับใคร ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ไมเห็นน่าจะผิดตรงไหน ทำไมท่านจึงปรับโทษไว้ด้วย

ตอบ: ปัญหาของคุณเห็นจะต้องตอบอย่างไม่เกรงใจกันกระมัง เพราะว่าน่าคิดน่าตอบทีเดียว จึงขอตอบแบบนักเลงหน่อยๆ ก็แล้วกัน

     ปัญหาข้อนี้ถ้าคิดเพียงผิวเผินอย่างว่าก็จะเห็นว่าไม่น่าผิดตรงไหนอย่างที่คุณคิด เพราะเป็นของของเรา เงินก็ของเรา สุราเมรัยก็ของเรา บางทีดื่มแล้วก็นอนไม่น่าผิด แล้วท่านยังมาเอาผิดจนได้นี่ซิ คนทั่วไปคงคิดอย่างคุณนี่ละกระมัง โรงงานสุราบางยี่ขันและอีกหลายโรงจึงตั้งอยู่ได้จนทุกวันนี้ และทำท่าว่าจะเจริญยิ่งๆ ขึ้นเสียด้วยซ้ำไป

     คุณเอาที่ไหนมาว่าดื่มเพียงเล็กน้อย และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกับใคร ผู้ตอบยังไม่เคยพบเลยว่านักดื่มคนไหนจะดื่มเพียงเล็กน้อย เห็นมีแต่ดื่มไม่น้อยกันทั้งนั้น ลงมันได้ดื่มแล้วมันให้ มีลูกติดพันอยู่เรื่อยแหละน่า จะขอเวลานอกกันก็ตอนหมดขวดแล้ว หรือไม่ก็ตอนลุกแทบไม่ไหวับแทบทั้งนั้น

     นักดื่มทั้งหลายมักจะประเมินในใจว่า “ดื่มเพียงแค่นี้ไม่เห็นจะเดือดร้อนใครที่ไหน” แต่ความจริงแล้ว คนที่เดือดร้อนเพราะการดื่มของตัวน่ะมีแน่และมีมากคนด้วย อันดันแรกก็คือตัวเอง ต่อไปก็พ่อแม่ ลูก ภรรยา สามีคนในปกครอง เดือดร้อนกันไปหมด สำหรับตัวผู้ดื่มเองเดือดร้อนอย่างไรขอตอบยกหลัง


ที่มา: https://goo.gl/tPJwzP
เบื้องต้นขอยกบุคคลอื่นที่เดือนร้อนก่อน

     พ่อแม่ที่มีลูกเป็นคอเหล้าหรือติดยาเสพติดอย่างอื่นจะรู้สึกสะเทือนใจมาก เสียใจมาก จะเกิดความผิดหวังในตัวลูกอย่างที่สุด ทั้งเสียดายเงินทองที่ลูกผลาญด้วยการไปซื้อสุราเมรัย ยาเสพติด ทั้งเสียดายอนาคตลูกที่ตัววาดไว้อย่างสวยหรู การกระทำของลูกประเภทนี้เหมือนหนามแทงตาแทงใจพ่อแม่ทุกวี่ทุกวัน พ่อแม่ที่ไหนจะยินดีชอบใจที่มีลูกเป็นขี้เมาหยำเป มีแต่จะชอกช้ำใจเท่านั้น

     ลูกที่มีพ่อเป็นไอ้ขี้เมาหยำเป มีแม่ที่ขี้เมาเหมือนยายบ้า จะมีปมด้อยในใจ จะคบหาเพื่อนที่ดีพ่อแม่เขาก็ห้ามลูกเขามิให้มาคบด้วย คอยเตือนลูกของเขาว่าไอ้ลูกคนขี้เมาอย่าไปคบ เดี๋ยวจะพาเสียไปด้วย เมื่อคบคนดีไม่ได้ก็ต้องหันมาคบกุ๊ยข้างถนนเหมือนกัน หนังสือหนังหาไม่ค่อยได้เรียนเต็มที่นัก นอกจากลูกที่มีพ่อดีแม่ดีบางคนเท่านั้นที่กัดฟันหาเงินส่งลูกเรียน จะเอาจากพ่อขี้เหล้าแม่ขี้เมาหรือก็หมดหวัง ลูกขอค่าเทอมก็โดนด่า ลูกขอค่าหนังสือค่าขนมบ้างก็โดนเตะโดนถีบ เรียนไปทำไมเงินทองหายาก ออกมาช่วยพ่อช่วยแม่ทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว แสดงความกตัญญูกตเวทีบางซิ ตอนนี้เงินไม่มีบ้างล่ะ ไปขอแม่เขาเอาซี ไปขอพ่อเขาเอาซีบ้างละ กรรมของลูกแท้ๆ เงินที่ซื้อเหล้าดื่มน่ะทำไมมีได้ทุกวัน แต่เงินค่าหนังสือค่าเทอมลูกบอกไม่มี อย่างนี้ลูกไม่เดือดร้อนหรือ

     ภรรยาที่มีสามีขี้เหล้านั้นมีทุกข์ขนาดไหนไม่ต้องพูดถึง บางครั้งต้องหาเงินซื้อให้ บางคราวดึกดื่นพ่อเจ้าประคุณ "อยาก" ขึ้นมาก็ต้องไปหาปลุกอาโกปากตรอกซื้อมาให้ บางครั้งเมามายมาแล้วยังมาแจกมือแจกเท้าให้เสียอีก ป้องกันตัวก็หาว่าสู้ ภรรยาบอกให้หยุดก็หาว่าเถียง ไม่พูด ไม่ป้องกันตัวบ้างก็เจ็บตัว เจ็บใจ อายชาวบ้านด้วย ยิ่งถ้ามีลูกมากด้วยแล้วยิ่งทุกข์หนัก ต้องหาเลี้ยงทั้งลูกทั้งสามีเลยทีเดียว
กรรมของภรรยาที่มีสามีเป็นไหเหล้าเคลื่อนที่!!!

สามีที่มีภรรยาขี้เมาก็เป็นทุกข์ไม่แพ้กัน

คนในปกครองที่มีเจ้านายชอบดื่มนั้น จะไม่ค่อยรับความยุติธรรมเท่าที่ควรนอกจากจะ “คอเดียวกัน” เท่านั้น

นี่มันเดือดร้อนคนอื่นอย่างนี้

ที่มา: https://goo.gl/tPJwzP

     การที่มีศีลข้อนี้ห้ามดื่มสุราและเมรัยนั้น เพราะห่วงอนาคต ห่วงสุขภาพของมนุษย์ทั่วไปนั่นเอง ท่านหวังดีปรารถนาดี ต้องการให้มนุษย์มีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางใจ เพราะผู้ไม่ดื่มสุราเมรัยจะไม่ได้รับเคราะห์กรรมและความทุกข์เหล่านี้เลย คือ

(๑) เสียทรัพย์
(๒) ทะเลาะกัน
(๓) โรคเบียดเบียนง่าย
(๔) ถูกตำหนิติเตียน
(๕) ไม่รู้อาย
(๖) สติปัญญาเสื่อม

     ข้อแรก เสียทรัพย์ นี่มองเห็นได้ชัด แม้เราจะซื้อกินเอง ไม่ได้ขโมยใครเขา แต่ก็ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้ทรัพย์หมดไปโดยใช่เหตุ ควรจะนำไปใช้ในสิ่งที่จำเป็นหรือในทางให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นทั้งแก่ตัว แก่ครอบครัว แก่สังคม หรือแก่ชาติบ้านเมืองได้อีกมาก ก็มาหมดเปลืองไปเพราะเรื่องนี้ จริงอยู่ บางคนอาจไม่คิดว่าเปลือง เพราะมีเกินใช้สอย แต่ชื่อว่าเสียทรัพย์เหมือนกัน คือทรัพย์เสียไปโดยใช่เหตุดังกล่าว หรือใช้ทรัพย์ไปในทางผลาญสุขภาพ ผลาญร่างกาย หรือผลาญชีวิตตัวเองมากกว่า

     ข้อสอง ทะเลาะกัน นี่ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้ว่าการทะเลาะกันเพราะสุราเมรัยนั้นจะมีไม่บ่อยนัก ไม่มีทุกคนและก็ไม่มีทุกครั้งที่ดื่ม แต่สาเหตุแห่งการทะเลาะกันอย่างหนึ่งก็มาจากการดื่มสุราและเมรัยนี้เอง เพราะพอเมาได้ที่แล้วทักพูดจากันชักจะไม่รู้เรื่อง ความเมามันพูดแทนเสียแล้ว
ที่มา: http://news.sanook.com/1819887/

     ข้อสาม โรคเบียดเบียนง่าย นี่ก็เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์ทั่วไปแล้วว่า ผู้ดื่มของมึนเมาเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ พอหยุดดื่มหรือพอของเมาหมดฤทธิ์ ร่างกายจะอ่อนเพลีย ไม่อยากทำงาน เพราะเวลาเมาได้ที่ เลือดจะฉีดแรง ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักมาก จะทำงานอะไรแต่ละทีต้อง “โด๊ป” กันอยู่เรื่อย ไม่งั้นทำงานไม่ได้ พอหมดฤทธิ์ก็หมดกำลังอีก ร่างกายจะทนไหวหรือ พอเป็นอะไรแต่ละทีแทบเอาตัวไม่รอด โรคโน้นเอยโรคนี้เอยแทรกซ้อนกันขึ้นมาจนตัวเองก็แทบจำไม่ได้ว่าตัวเป็นโรคอะไรบ้าง

     เหล่านี้คือโรคของคนชอบ “กล้า” ด้วยการ “ดื่ม” หรือ “โด๊ป” ด้วยน้ำที่เรียกว่า “สุรา”
     คนที่มีโรคมากก็อายุสั้น เรื่องมันก็ลงเอยแค่นั้น ไม่มากไปกว่านี้

     ข้อสี่ ถูกตำหนิติเตียน ข้อนี้ปัจจุบันเขามองไม่เห็นกันเสียแล้วเพราะถือเป็นของธรรมดา เห็นดื่มเห็นเมากันจนชิน หรือสังคมมันเหมือนกันไปเสียหมดแล้ว จึงหาคนตำหนิไม่ค่อยได้ เลยไม่ค่อยรู้สึกกัน คนที่พอจะตำหนิได้ก็โดนอะไรต่อมิอะไรมาปิดปากเสียอ้าปากไม่ไหว หรือตำหนิเหมือนกัน แต่ไม่กล้าตำหนิต่อหน้า กลัว “ตีน” หรือกลัว “ตบ-ตี-ต่อย” อย่างใดอย่างหนึ่งก็เลยไม่ตำหนิ ปล่อยไปตามเรื่องตามราว



ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/450781

     คนในสังคมของเราจึงเต็มไปด้วยนักดื่มและขี้เมา คนตำหนิติติงมีน้อย เลยสู้ไม่ไหว

     เอาเป็นว่าเรื่องอย่างนี้นอย่างนี้คนเขารังเกียจก็แล้วกัน คนขี้เมาหาเพื่อนที่คบได้จริงๆ ยาก ก็มีแต่พวก “คอเดียวกัน” อย่างว่าเท่านั้น นอกนั้นเขาคบเพื่อหวังผลประโยชน์เท่านั้น จะให้คบหาจริงๆ แบบกัลยาณมิตรเขาไม่ยอมด้วยหรอก เพราะเขา “รังเกียจ” น่ะ

     ข้อห้า ไม่รู้จักอาย ข้อนี้ก็ชัดเหมือนกัน ขึ้นชื่อว่าคนเมา ไม่ว่าจะเมาสุกหรือเมาดิบก็ตาม เป็นไม่รู้จักอายทั้งนั้น ด่าพ่อแม่กันเล่นก็ได้ ทุบตีกันหรือฆ่ากันก็ได้ นอนกลางถนนก็ได้ ร้องรำทำเพลงกันกลางถนนก็ได้ พูดจาหยาบคายชนิดที่เขียนเป็นตัวหนังสือแล้วก็ยังหยาบอยู่ก็ได้ แก้ผ้าแก้ผ่อนเดินโทงๆ ตามถนนก็ได้ ซึ่งกิริยาอาการอย่างนี้ในเวลาปกติที่ไม่เมาจะทำไม่ได้ และไม่กล้าทำด้วยเพราะอายเขา แต่เวลาเมาแล้วทำได้อย่างสบายเพราะความอายหมดไปแล้ว

ที่มา: https://goo.gl/tPJwzP

     ข้อสุดท้าย สติปัญญาเสื่อม ข้อนี้ก็เนื่องมาจากการที่สุขภาพร่างกายอ่อนแอเพราพิษสุรานั่นเอง สมองก็เลยมึนชาเสื่อมทรามไปด้วย สติปัญญาไม่ว่องไวเหมือนเก่า ตัดสินใจอะไรก็ช้าและตัดสินใจผิดๆ ทำให้สมรรถภาพในการทำงานเสื่อมทรามลงโดยไม่รู้ตัว
     ว่ามายืดยาวก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า ท่านห้ามไว้ก็เพราะหวังดี ต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจดี เป็นปกติเหมือนคนทั่วๆ ไป นั่นเอง

โทษเฉพาะตัวที่จะได้รับพอมองเห็นกันได้ดังกล่าวมาแล้ว

     แต่ก็อย่างว่านั่นแหละ คนเราลองมันติดเสียแล้ว ต่อให้แกะอย่างไรก็ไม่ยอมปล่อยไม่ยอมหลุดง่ายๆ เห็นว่าติดกันมานานแล้วจะเลิกเสียตอนนี้ก็เสียดาย เลยขอต่อไปเรื่อยๆ ก่อน ความลำบากจึงไม่สิ้นสุดกันได้สักที



ขอบคุณข้อมูล

- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร, เมษายน ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.

1 ความคิดเห็น:

เรียนรู้เรื่องศาสนา จากปัญหาข้องใจ(ตอนที่2): คนเราตายแล้วไปไหน นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ มีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ และใครเคยไปมาแล้ว?

05:38 Mali_Smile1978 6 Comments

เรียนรู้เรื่องศาสนา จากปัญหาข้องใจ

ที่มา: https://goo.gl/sWMWez

ถาม: คนเราตายแล้วไปไหน นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ มีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ และใครเคยไปมาแล้ว
ตอบ: คนเราตายแล้วก็ไปยังภพภูมิต่างๆ ตามกรรม คือการกระทำของตัวเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ตัวทำไว้นั้นจะสั่งสมผลอยู่ในจิตหรือสันดานของคนๆ นั้นไม่สูญหายไปไหน พอร่างกายหมดสภาพ (ตาย) ลงจิตหรือวิญญาณนั้นก็ออกจากร่างนั้นไปพร้อมกับสิ่งที่สะสม (กรรม) ไว้ และไปยังภพภูมิเพื่อเกิดใหม่ เหมือนเราอยู่บ้านหลังนี้มานานแล้ว พอบ้านพังไปก็ย้ายข้าวของพร้อมตัวเองออกไปหาบ้านใหม่อยู่ฉะนั้น

     แต่หลังจากตายไปแล้วจะไปเกิดในภพภูมิใดนั้นก็แล้วแต่กรรมที่สั่งสมไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เหมือนเรานำสัตว์ชนิดต่างๆ มาขังรวมกันไว้ พอปล่อยออกไปเท่านั้น มันก็จะแยกย้ายกันไปตามถิ่นที่ที่มันมาหรือที่มันชอบ ไม่ไปยังที่เดียวกัน นกก็บินไปบนฟ้า เสือก็วิ่งเข้าป่า ปลาก็ลงน้ำไป สุนัขก็ลงใต้ถุน แมวก็ป้วนเปี้ยนอยู่กับคน พวกแมลงวันก็บินหรี่ไปยังที่สกปรก หาของสดของคาวไป หนูและแมลงสาบก็วิ่งเข้าซอกเข้าที่รกๆ ไป มันไปต่างที่ต่างทิศกันอย่างนี้ คนที่ตายไปแล้วก็แยกย้ายกันไปตามกรรมนั้นๆ เช่นเดียวกันนี่แหละ

     คนเราเกิดมาในโลกนี้ก็เหมือนกับสัตว์ที่ถูกจับมาขังรวมกันไว้ พอตายจากกันก็ไปตามยถากรรม คนที่ยังมีกิเลสอยู่ก็ป้วนเปี้ยนอยู่ในโลกมนุษย์นี่แหละ ไม่ค่อยอยากไปไหน คนที่หมดกิเลสแล้วก็นิพพานไป ไม่ต้องกลับมาผจญทุกข์ในโลกนี้อีก คนที่ทำดีไว้มากก็ขึ้นสวรรค์ไป ส่วนคนที่ทำชั่วผิดไว้มากก็ตกนรกไปตามธรรมเนียม หลักของศาสนาเกือบทุกศาสนาท่านว่าไว้อย่างนี้

     ปัจจัยที่เป็นเหตุหนุนนำให้คนได้เกิดอีกนั้นคือ อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน


อวิชชา คือความไม่รู้แจ้งเห็นจริง ความโง่เขลา ไม่ยอมรับสภาพที่เป็นจริง
ตัณหา คือความทะเยอทะยานอยากได้จนเกินเหตุ ความต้องการไม่สิ้นสุด
อุปาทาน คือความยึดถืออย่างมั่นคงไม่ปล่อยวาง อะไรๆ ก็เป็นตัวของตัวหมด 


     ถ้ามีอย่างนี้ก็ต้องเกิดอีก ท่านเปรียบไว้เหมือนกับตะเกียงน้ำมันหากยังมีไส้และน้ำมันอยู่ ไฟก็ยังติดอยู่ หากหมดเชื้อหมดไส้ มันก็จะมอดดับไป จะจุดอีกเท่าไรก็ไม่ติด ส่วนจะเกิดเป็นอะไรในภพภูมิไหนก็แล้วแต่กรรมอย่างว่า ท่านแสดงไว้ว่า 

ที่มา: https://goo.gl/sWMWez

- เกิดเป็นสัตว์นรก เพราะอำนาจโทสะเป็นส่วนมาก

- เกิดเป็นเปรตและอสุรกาย เพราะอำนาจโลภะเป็นส่วนมาก

- เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะอำนาจโมหะเป็นส่วนมาก

- เกิดเป็นมนุษย์ เพราะอำนาจศีล ๕ และอกุศลกรรมบถ ๑๐

- เกิดเป็นเทวดา เพราะมหากุศล ๘

- เกิดเป็นพรหม เพราะสมถกรรมฐานหรือฌานสมาบัติ

- นิพพาน คือไม่เกิดอีก เพราะวิปัสสนากรรมฐาน

     ปัญหาที่ว่า นรกสวรรค์มีจริงหรือพิสูจน์ได้อย่างไร ใครเคยไปมาแล้วนี้เป็นปัญหาที่สงสัยกันมาก และสงสัยกันมาทุกยุคทุกสมัย คือมีตั้งแต่เริ่มนับถือศาสนากันเลยทีเดียว

     ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า นรกสวรรค์มีอยู่จริง แต่จะพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาเปล่าเหมือนการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์นั้นทำได้ยาก เพราะผู้ที่จะพิสูจน์ได้ต้องมีเครื่องมือ เครื่องมือที่ว่านี้คือจุตูปปาตญาณหรือทิพพจักขุญาณ คือความหยั่งรู้การจุติของสัตว์ที่ตายไปแล้วเกิดว่าไปเกิดที่ไหนเหมือนกับเห็นด้วยตาเปล่า เครื่องมือนี้เคยมีผู้ได้มาแล้ว ทั้งวิธีการเพื่อให้ได้มาก็ยังมีอยู่ ยังรอแต่คนกล้าที่จะเข้ามาเรียนวิธีและกล้าพิสูจน์เท่านั้น 



     นรกสวรรค์นี้ตามธรรมดาตามองไม่เห็น แต่การจะปฏิเสธว่าสิ่งที่มองไม่เห็นเป็นสิ่งไม่มีจริงก็ไม่ถูกนัก เพราะในโลกนี้ยังมีสิ่งที่คนเรายังไม่รู้ไม่เห็นกันและที่ยังพิสูจน์ไม่ได้มีอีกมาก และเราก็ปฏิเสธเต็มปากหรือลงความเห็นกันไม่ได้ว่ามันไม่มีจริง

     ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้านอกจากจะไม่ทรงปฏิเสธเรื่องนรกสวรรค์แล้ว กลับปรากฏว่าทรงแสดงเรื่องนี้ไว้ในพระสูตรต่างๆ หลายแห่ง เช่น อนุปุพพิกถา เป็นต้น ในที่นั้นพระองค์ทรงบรรยายสวรรค์ไว้แจ่มแจ้งทีเดียว




ขอบคุณข้อมูล

- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒,(จากวารสารมงคลสาร, มีนาคม ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.

6 ความคิดเห็น:

เรียนรู้เรื่องศาสนา จากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 1): การฆ่าสัตว์ถือว่าเป็นบาปเพราะเหตุอะไร? การฆ่าสัตว์ไปทำบุญจะได้บุญหรือไม่?...

06:41 Mali_Smile1978 0 Comments


     คนเราเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ จึงทำให้คิดผิด พูดผิด และดำเนินชีวิตแบบผิดๆ ก่อกรรมชั่วมีบาปติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ ความไม่รู้จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวยิ่งนัก ส่งผลแบบโดมิโนเลยทีเดียว 



     แต่วิกฤตย่อมมีโอกาส เรายังโชคดีมีบุญเกิดมาในยุคที่ยังมีพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลงเหลือให้พวกเราไ้ด้ศึกษาแล้วนำมาปฏิบัติเพื่อขจัดความไม่รู้ออกจากจิตใจ เกิดมีสัมมาทิฏฐิหรือความเห็นถูกเกี่ยวกับโลกและชีวิตขึ้นในใจ เพื่อเราจะดำเนินชีวิตได้ถูกต้องและมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน สามารถปิดนรก เปิดสวรรค์ มีความสุขทั้งในปัจจุบันและภพชาติเบื้องหน้า
     
     วันนี้ไปเจอหนังสือไขข้อข้องใจ ๒ เขียนและรวบรวมโดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒. เนื้อหาน่าสนใจเป็นความรู้เรื่องธรรมะ เรื่องศาสนา เรื่องเกี่ยวกับวัดโดยทั่วๆไป... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม...โดยเฉพาะเราฐานะพุทธศาสนิกชน อันดับแรกเพื่อจะได้ขจัดความไม่รู้ของตนเอง แล้วยังสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแก่บุคคลที่เรารักปราถนาดีทิศ ๖ รอบตัวเราได้  ขอทยอยนำมาลงเป็นตอนๆ ไปนะคะ

มีชาวพุทธคนหนึ่งถามว่า
๑. การฆ่าสัตว์ถือว่าเป็นบาปเพราะเหตุอะไร?
- ถ้าฆ่าสัตว์ที่เกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์ทำไมจึงถือว่าเป็นบาป?
- การฆ่าสัตว์ไปทำบุญจะได้บุญหรือไม่?
- และพระที่ฉันเนื้อสัตว์จะเป็นบาปด้วยไหมเพราะถ้าพระไม่ฉันเนื้อ คนก็ไม่ฆ่าสัตว์ทำบุญ?



เกี่ยวกับเรื่องการฆ่าสัตว์นี้เราลองมาฟังเหตุผลกันดูบ้าง
     การฆ่าสัตว์ถือว่าเป็นบาปเพราะเป็นการเบียดเบียนเขาให้ได้รับความเดือดร้อน เป็นการตัดโอกาสมิให้เขามีชีวิตอยู่ในโลกนี้อีกต่อไป เพราะตามปกติไม่ว่าคนหรือสัตว์ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์ ต้องการมีชีวิตอยู่นานๆ ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งข้อนี้เราสามารถดูได้จากที่ทั้งคนและสัตว์พยายามแสวงหาอาหารเพื่อความอยู่รอด แม้จะต้องผจญอันตรายต่างๆ ก็ยอมพยายามป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บ จากศัตรูรบตัว และพยายามต่อสู้กับอุปสรรคสิ่งกีดขวางต่อความราบรื่นในการมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้เพราะรักตัวกลัวตายนั่นเอง เมื่อไปทำเขาตายจึงถือว่าเป็นบาป เป็นความชั่ว และเป็นบาปเพราะจิตใจของผู้ฆ่าหยาบช้าทารุณ เป็นใจที่เศร้าหมอง ขาดเมตตาธรรม

     โดยมากมนุษย์มักคิดเอาเองว่า ถ้าฆ่าสัตว์ที่เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์แล้ว ทำไมต้องเป็นบาปด้วยเพราะมันเกิดมาเพื่อถูกฆ่า แต่สัตว์มันไม่คิดอย่างมนุษย์เลย ทั้งไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำไปว่าตัวมันเกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ มนุษย์ต่างหากที่เหมาเองอย่างนั้นแล้วไปฆ่ามัน สัตว์บางประเภทจะแสดงความรู้สึกออกมาเมื่อรู้ว่าตนจะถูกฆ่า เช่น หมู วัว ควาย หรือสัตว์เล็กๆ มันจะดิ้นรนพยายามหนีเอาตัวรอด นี่แสดงว่ามันไม่อยากให้มนุษย์ฆ่า มันอยากอยู่ต่อไปอีกนานแสนนานเหมือนมนุษย์เราเช่นกัน


     หากคิดว่ามันเป็นอาหารของเรา ฆ่าไม่บาปแล้ว ทีคนถูกโรคภัยไข้เจ็บมารุมกิน ถูกยุงกัด หรือเข้าป่าถูกงูกัด ตกน้ำทะเลถูกฉลามกินบ้าง ทำไมจึงไปโทษมัน และเหตุใดจึงไปฆ่ามันเสีย ก็ในเมื่อมันก็คงคิดว่ามนุษย์เป็นอาหารของมัน เลือดและเนื้อมนุษย์ คืออาหารของมันที่มันต้องการ มันกัดมันกินคนก็เพราะถือว่าคนเป็นอาหาร มันกินอาหารของมัน อย่างนี้สัตว์เหล่านั้นผิดด้วยหรือ หากมีใจเป็นธรรมกันก็จะได้คำตอบที่ถูกต้อง

     การอ้างข้างต้นเป็นการอ้างที่เห็นแก่ตัวเสียมากกว่า โดยถือว่ามีกำลังกว่า มีสมองดีกว่า สัตว์มันก็คงคิดจองเวรจองกรรมกับมนุษย์บ้างว่าได้ทีเมื่อไหร่ข้าเอาเอ็งแน่ อะไรทำนองนี้

     แต่บาปอันเกิดจากการฆ่าสัตว์นั้นมีไม่เท่ากัน ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมาก ฆ่าสัตว์เล็กก็มีโทษน้อย ฆ่าสัตว์มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ต่อโลกมาก ก็มีโทษมาก ฆ่าสัตว์มีคุณประโยชน์น้อย ก็มีโทษน้อยและจะเป็นบาปโดยสมบูรณ์เพราะประกอบด้วยลักษณะ ๕ ประการ คือ

(๑) ปาโณ สัตว์ที่ฆ่ามีปราณคือมีลมหายใจ

(๒) ปาณสญฺญิตา ผู้ฆ่าก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีลมหายใจ

(๓) วธกจิตฺตํ มีเจตนาคือมีความจงใจที่จะฆ่า

(๔) อุปกฺกโม พยายามฆ่า แม้จะพยายามเพียงเอื้อมมือหรือกระดิกนิ้วไปฆ่า

(๕) เตน มรณํ สัตว์นั้นสิ้นลมหายใจไปเพราะความพยายามนั้น


     หากได้ลักษณะ ๕ ประการนี้ การฆ่าเป็นอันสมบูรณ์แล้วเป็นบาปดังกล่าวมา หากทำไม่ครบลักษณะนี้ เช่น มีความพยายามฆ่า แต่สัตว์ไม่ตาย หรือฆ่าตายโดยไม่ตั้งใจ โทษก็ลดลงตามส่วน



     ส่วนคำถามที่ว่าฆ่าสัตว์ไปทำบุญจะได้บุญไหมนั้น อันนี้ต้องแยกกัน คือบุญกับบาปเข้ากันไม่ได้ ตรงกันข้าม บุญก็ส่วนบุญ บาปก็ส่วนบาป ที่ไหนมีบุญบาปก็ไม่มี ที่ไหนมีบาปบุญก็ไม่มี เรื่องนี้ต้องแยกกันให้ถูก เพราะต่างกรรมต่างวาระกัน คือตอนที่ฆ่าสัตว์หากพร้อมด้วยลักษณะข้างต้นก็เป็นบาป แม้จะมีเจตนาเพื่อนำไปทำบุญก็ตาม ตอนนำเนื้อไปทำบุญนั้นก็ถือว่าเป็นบุญเพราะเป็นการทำความดี แม้จะเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาทำบุญก็ตาม แต่อย่างไหนจะมากกว่ากันนั้นต้องดูเวลาที่ทำ หากทำอย่างใดรุนแรงกว่าก็ให้ผลหนักไปทางนั้น เช่นจงใจฆ่าและฆ่าด้วยวิธีทรมานสัตว์ ทั้งสัตว์นั้นเป็นสัตว์ที่มีคุณค่ามากด้วย แต่เวลานำไปทำบุญก็ทำไปตามประเพณี ไม่สนใจเรื่องบุญเท่าไรนัก ถวายแล้วก็แล้วกันไป อย่างนี้ตอนแรก คือตอนที่ฆ่าหนักกว่า ผลย่อมแรงกว่า คือมีบาปมากกว่าบุญ

     สำหรับคำถามที่ว่า “พระฉันเนื้อบาปไหม หากพระไม่ฉัน คนคงไม่ฆ่าสัตว์กัน” นั้น ข้อนี้ก็น่าคิดอยู่


     แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกแล้วจะเห็นว่า การที่พระฉันเนื้อนั้นเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์เลย เพราะท่านฉันเนื้อโดยฐานเป็นอาหารบิณฑบาตที่ญาติโยมนำมาถวายเท่านั้น ซึ่งเนื้ออย่างนี้เรียกว่า “ปวัตตมังสะ” คือเนื้อที่มีอยู่ตามธรรมดา เช่นเนื้อที่เขาขายตามตลาด หรือเนื้อที่เขาฆ่ารับประทานกันตามปกติ เนื้อเช่นนี้พระฉันได้ พระวินัยมิได้ห้ามไว้ ส่วนเนื้อที่พระฉันแล้วผิดพระวินัยก็มี คือเนื้อที่เขาเจาะจงฆ่าถวาย ทั้งพระก็รู้ว่าเขาเจาะจงฆ่าถวายตัวเอง เนื้อชนิดนี้เรียกว่า “อุทิสสมังสะ” และเนื้อที่พระสั่งให้เขาฆ่าถวายเอง เนื้อสองประเภทนี้พระฉันเป็นผิดพระวินัย แต่ถ้าเขาเจาะจงฆ่าถวายพระ แต่พระเองไม่รู้เรื่อง ก็ฉันได้ ไม่ผิด แต่ต้องไม่รู้จริงๆ ไม่ใช่แกล้งทำเป็นไม่รู้ คือไม่ได้เห็นเขาฆ่า ไม่ได้ยินเขาพูดว่าฆ่าถวายเฉพาะตน และไม่ได้รังเกียจสงสัยในทำนองนั้น อย่างนี้เรียกว่าไม่รู้จริง



     ส่วนที่ว่าเพราะพระฉันเนื้อจึงทำให้คนฆ่าสัตว์นั้น ออกจะเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงไปหน่อย เพราะพระไม่ได้บังคับให้ฆ่า ไม่ได้บังคับให้ถวาย เมื่อชาวบ้านนำมาถวาย ท่านก็รับและฉัน เรื่องมันก็เท่านี้ และถึงหากว่าพระท่านไม่ฉันเนื้อ คนจะเลิกฆ่าสัตว์เลิกกินเนื้อกันเสียเมื่อไหร่ ดูอย่างในประเทศที่ไม่มีพระอาศัยอยู่เลยสักรูปเดียว สัตว์ต่างๆ ก็ยังถูกฆ่าไปเป็นอาหารทุกวันๆ เขาฆ่าไปถวายพระหรือ พระเรียกร้องหรือ ก็เปล่าทั้งนั้น แล้วเขาฆ่าทำไม

ขอแถมนิดหน่อย ถือเป็นของหวานก็แล้วกัน

     การที่พระจะไม่ฉันเนื้อก็ดีเหมือนกัน บางท่านก็อาจสงสัยว่า ก็เมื่อดีเช่นนี้แล้วทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงห้ามเสียเล่า ข้อนี้คงเป็นพระพุทธประสงค์ ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู คงทรงหยั่งทราบและทรงมีเหตุผลที่ลึกซึ้ง หากทรงห้ามเสีย พระจะเป็นอย่างไร คนที่ขาดอาหารประเภทเนื้อสัตว์จะเป็นโรคอะไรบ้างก็รู้กันอยู่ พระองค์คงไม่ทรงต้องการให้กองทัพธรรมของพระองค์หย่อนสมรรถนะทั้งกำลังสมองและกำลังกาย จึงมิไดทรงห้ามไว้ แม้จะเคยมีผู้ทูลขอให้ทรงห้ามไว้ก็ตาม



ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, วารสารมงคลสาร (มีนาคม ๒๕๑๙), พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.
- ขอบคุณภาพจาก google https://goo.gl/nS1Tb7




0 ความคิดเห็น:

ถ้าเราอยู่กับชีวิตปัจจุบันเราจะมีความสุข: 22 ความหมายของความสุข ที่จะทำให้คุณรู้ว่า...ความสุขรายล้อมอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา...แล้วคุณล่ะ ความสุขของคุณคืออะไร?

01:56 Mali_Smile1978 6 Comments


ที่มา: https://goo.gl/FGteMl

22 ความหมายของความสุข ที่จะทำให้คุณรู้ว่า...ความสุขรายล้อมอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา...แล้วคุณล่ะ ความสุขของคุณคืออะไร?

     The Happy Page เพจบนเฟสบุ๊คที่มีผู้คนติดตามกว่า 3.3 ล้านคน ได้สอบถามแฟนเพจทั่วโลกว่า สิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขคืออะไร?มีคำตอบมากมายกว่า 7,000 ภาพส่งมา แล้วนี่คือคำตอบบางส่วนจากคนทั่วโลก ที่จะทำให้คุณเข้าใจความหมายของความสุขมากขึ้น...ดูแล้วหวังว่าจะทำให้คุณค้นพบความสุขของตัวเองได้ง่ายขึ้น

1.ความสุข คือ การหาที่เที่ยวในวันหยุดพักผ่อน
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

2. ความสุข คือ มีพี่สาวน้องสาวอยู่ข้างๆ 

ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage


3. ความสุข คือ พักผ่อนชาร์ตแบต
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

4. ความสุข คือ ได้ของขวัญที่คุณชอบมันจริงๆ 

ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

5. ความสุข คือ เตียงอุ่นๆ 
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

6. ความสุข คือ เมื่อความจริงได้เกินกว่าสิ่งที่คาดเอาไว้
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

7. ความสุข คือ มีเพื่อนบ้าๆ บอๆ
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

8. ความสุข คือ การไม่พูดแง่ลบใส่กัน
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

9. ความสุข คือ ความรักของพี่น้อง
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

10. ความสุข คือ วันว่าง ที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

11. ความสุข คือ ได้ยินเสียงพ่อแม่ เมื่อคุณอยู่ไกลบ้าน
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

12. ความสุข คือ เมื่อคุณลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน แล้วคิดได้ว่า คุณก็อยู่รอดได้แม้ไม่มีมัน
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

13. ความสุข คือ สูดกลิ่นของดินหลังฝนตก
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

14. ความสุข คือ นั่งมองทะเล
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

15. ความสุข คือ ทำอาหารบนกองไฟกับคนที่เรารัก
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

16. ความสุข คือ เช็ดผมเจ้าตัวน้อยให้แห้ง
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

17. ความสุข คือ พักกินอาหารเที่ยงระหว่างปีนเขา
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

18. ความสุข คือ ไปเที่ยวกับครอบครัว
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage


19. ความสุข คือ มองฝนตนริมหน้าต่าง
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

20. ความสุข คือ ไปเดินเล่นกับลูกโป่งมากมาย
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

21. ความสุข คือ นอนแช่น้ำนานๆ 
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

22. ความสุข คือ ชิลๆ ในร้านกาแฟ
ที่มา: https://www.facebook.com/itsthehappypage

     เราจะเห็นว่า สิ่งที่ทำให้คนเรามีความสุขนั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบ จึงขอสรุปง่ายๆ ด้วยมุมมองความสุขจากคุณครูใจดีท่านหนึ่ง ที่กล่าวไว้ว่า...

ถ้าเราอยู่กับชีวิตปัจจุบันเราจะมีความสุข

     ชีวิตของเราความจริงมีความสุขอยู่รอบตัว และมีความสุขได้บ่อยๆ เช่น
*
** เรามีความสุขที่ได้กินมะม่วง ทุกครั้งที่เรากัดมะม่วงเรารู้สึกว่ามีความสุข ... สุขจังเลย
**เวลามีลมเย็นๆ ปะทะ เรารู้สึกสดชื่น รู้สึกว่าขณะนั้นเรามีความสุขมาก
*** เวลาที่เราหายใจรู้สึกโล่ง ก็มีความสุข
**เราไม่เป็นมะเร็ง เราก็มีความสุขได้
**เราเป็นอิสระ ไม่ถูกขัง เราก็มีความสุขได้

...ในแต่ละขณะที่ว่ามานี้ เรามีแบบนี้ทุกขณะ และทุกขณะนี้เป็นความสุขขณะปัจจุบันหมดเลย

     แต่ว่าที่เราไม่มีความสุขเต็มที่ เพราะเรากระโดด เราไม่อยู่กับปัจจุบัน กระโดดไปหาความสุขข้างหน้า กระโดดข้ามจังหวะตลอดเวลาเลย ... ไม่กระโดดไปข้างหน้าก็กระโดดไปข้างหลัง



ที่มา: google.com

     ความสุขที่เราได้ในทุกขณะเป็นความสุขเล็กๆ อันเป็นความสุขในปัจจุบันที่ดีมากๆ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะคาดหวังความสุขก้อนใหญ่ๆ ความสำเร็จก้อนใหญ่ๆ จึงจะมีความสุข ซึ่งมันซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะเข้าถึงมัน ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับความสุขเล็กๆ ที่เราอยู่ทุกวันนี้
     ใจเราจะไม่กระโดดคร่อมจังหวะ ไม่ต้องการหาอะไรที่เราอยากมากเกินไป อย่างน้อยเราไม่ต้องมีอารมณ์ที่ห่วงหน้าพะวงหลังมากเกินไป สำคัญคือ เราไม่ร้อนรนกระวนกระวาย เราไม่กลัว กังวลอนาคตจนเกินไป  (
Cr.คุณครูใจดี)
     และสุดท้าย เราจะมีความสุขในรูปแบบไหน สุดแต่ใจจะไขว้คว้า แต่ควรต้องอยู่บนฐานที่ไม่ก่อความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่นและสังคม แล้วโลกใบนี้จะมีรอยยิ้มและความสุขอย่างแน่นอน


ขอบคุณข้อมูล
- https://goo.gl/PTQOwu
https://www.facebook.com/itsthehappypage

6 ความคิดเห็น: