เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่5):อายุของศาสนาพุทธมีกี่ปี เริ่มต้นเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร?
เรียนรู้เรื่องศาสนา จากปัญหาข้องใจ(ตอนที่5):
ที่มา: https://goo.gl/uFCl4D |
ตอบ: เรื่องอายุของพระพุทธศาสนานี้เป็นเรื่องที่คนโบราณเชื่อถือกันมานานแล้วว่าศาสนาพุทธจะมีอายุได้ ๕,๐๐๐ ปีเท่านั้น โดยนับเริ่มแต่ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือเท่ากับ พ.ศ. ๑ ในปีนั้นนั่นเอง ก็แสดงว่า ศาสนาพุทธมีอายุล่วงมาได้แล้ว ๒๕๑๙ ปีแล้ว (ณ ปัจจุบันนี้อายุพระศาสนาล่วงมาแล้ว ๒๕๖๐ ปี )
คราวนี้มาว่ากันตามหลักวิชาบ้าง ผู้ตอบยังไม่พบหลักฐานจากที่ไหนที่บ่งบอกว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสอายุพระพุทธศาสนาไว้เพียง ๕,๐๐๐ ปี เห็นมีแต่ปรากฏในคัมภีร์ญาโณทัยปกรณ์ ซึ่งพระพุทธโฆษาได้แต่งไว้เมื่อประมาณศตวรรษที่ ๑๐ พระเถระองค์นี้เป็นผู้ฉลาด แต่งคัมภีร์อธิบายความพระพุทธพจน์ไว้มาก จนได้รับยกย่องจากนักปราชญ์ทั่วไปทั้งในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธและนับถือศาสนาอื่น คัมภีร์ที่ท่านแต่งไว้นั้น คณะสงฆ์ไทยได้นำมาเป็นหลักสูตรให้ศึกษาเล่าเรียนกันตั้งแต่ชั้นประโยค ปธ.๓ ถึง ปธ.๙ เลยทีเดียว
ในคัมภีร์ญาโณปกรณ์นั้น มีบทเริ่มต้นว่า
“พระพุทธศาสนาจะครบกำหนด ๕,๐๐๐ ปี ในปีชวด ”
ข้อความเพียงเท่านี้กระมังที่ทำให้คนโบราณถือว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาและบอกเล่ากันต่อๆ มา
ตามความเห็นของผู้ตอบแล้ว เห็นว่าอายุของพระศาสนาอาจมากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ แต่อย่าได้เป็นห่วงอายุพระศาสนาเท่านั้นเลย ห่วงอายุของตัวเองเถิด อย่าให้อายุของตัวเองล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักศาสนาไว้เสมอแล้วศาสนาก็ชื่อว่ายังอยู่ อายุศาสนาจะยังไม่สิ้นไป
ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS |
ตอนนี้ขออ้างตำราหน่อย คือในตำราท่านว่าไว้ว่าความสูญสิ้นแห่งศาสนานั้นเป็นไปตามลำดับขั้นตอน คือเสื่อมไปตั้งแต่ข้อต้นจนถึงข้อสุดท้าย
ลำดับของความเสื่อมมี ๕ ขั้น คือ
(๑) ปริยัติอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย
(๒) ปฏิปัตติอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการปฏิบัติธรรม
(๓) ปฏิเวธอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการรู้แจ้งธรรม
(๔) ลิงคอันตรธาน ความเสื่อมแห่งเพศ
(๕) ธาตุอันตรธาน ความเสื่อมแห่งพระธาตุ
หมายความว่า อันดับแรกการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และคำสอนของพระพุทธเจ้าจะเสื่อมสูญไปก่อน หาผู้ศึกษาไม่ได้ เมื่อไม่ศึกษาก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ปฏิบัติไม่ถูก ปฏิบัติตามใจชอบ การปฏิบัติธรรมก็เสื่อมสูญ เมื่อไม่ปฏิบัติธรรม การรู้แจ้งแทงตลอดมรรคผลก็ไม่เกิดขึ้น พระเณรก็เป็นเพียงผู้นุ่งเหลืองห่มเหลืองเท่านั้น หนักเข้าๆ ก็ไม่มีผู้ศรัทธาที่จะบวช บวชแล้วก็ไม่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาที่จะบำรุงเลี้ยง ความเป็นอยู่ของพระเณรก็ลำบาก
(๑) ปริยัติอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย
(๒) ปฏิปัตติอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการปฏิบัติธรรม
(๓) ปฏิเวธอันตรธาน ความเสื่อมแห่งการรู้แจ้งธรรม
(๔) ลิงคอันตรธาน ความเสื่อมแห่งเพศ
(๕) ธาตุอันตรธาน ความเสื่อมแห่งพระธาตุ
หมายความว่า อันดับแรกการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และคำสอนของพระพุทธเจ้าจะเสื่อมสูญไปก่อน หาผู้ศึกษาไม่ได้ เมื่อไม่ศึกษาก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ปฏิบัติไม่ถูก ปฏิบัติตามใจชอบ การปฏิบัติธรรมก็เสื่อมสูญ เมื่อไม่ปฏิบัติธรรม การรู้แจ้งแทงตลอดมรรคผลก็ไม่เกิดขึ้น พระเณรก็เป็นเพียงผู้นุ่งเหลืองห่มเหลืองเท่านั้น หนักเข้าๆ ก็ไม่มีผู้ศรัทธาที่จะบวช บวชแล้วก็ไม่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาที่จะบำรุงเลี้ยง ความเป็นอยู่ของพระเณรก็ลำบาก
ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS |
เมื่อลำบากก็อยู่ไม่ได้ พากันสึกหมด ที่บวชใหม่เพิ่มเติมก็ไม่มี ผู้ดำรงเพศเป็นพระก็หมดไป เมื่อพระเณรหมด ก็ไม่มีคนกราบไหว้บูชารักษาพระธาตุ พระธาตุก็ย่อมเสื่อมสูญไปตามธรรมสภาพ เมื่อพระธาตุอันตรธานเสื่อมสูญไป ศาสนาก็ชื่อว่าหมดอายุลงด้วยประการฉะนี้
ใน ๕ ข้อนั้น ข้อแรกเริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีอันตรธานไปโดยเร็วเสียด้วยซี
ถาม: ใครเป็นผู้รับผิดชอบศาสนาพุทธ (หมายถึงโลกวิญญาณ)
ตอบ: ผู้รับผิดชอบต่อศาสนาพุทธนั้นหาใช่ใครที่ไหนเลย ที่แท้ก็พวกเราชาวพุทธนี่แหละ ชาวพุทธที่เรียกว่า “พุทธบริษัท” ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทุกท่านนี่เองที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนา เป็นศาสนทายาทที่รับมรดกศาสนามาจากบรรพบุรุษแล้ว ต้องช่วยกันประคับประคองไว้ให้ดี ช่วยกันรับผิดและรับชอบที่เกิดขึ้นต่อพระศาสนา คือต้องรับทั้งส่วนที่ผิดและส่วนที่ชอบ ไม่ใช่รับเฉพาะส่วนที่ชอบอย่างเดียว
ถาม: ใครเป็นผู้รับผิดชอบศาสนาพุทธ (หมายถึงโลกวิญญาณ)
ตอบ: ผู้รับผิดชอบต่อศาสนาพุทธนั้นหาใช่ใครที่ไหนเลย ที่แท้ก็พวกเราชาวพุทธนี่แหละ ชาวพุทธที่เรียกว่า “พุทธบริษัท” ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทุกท่านนี่เองที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนา เป็นศาสนทายาทที่รับมรดกศาสนามาจากบรรพบุรุษแล้ว ต้องช่วยกันประคับประคองไว้ให้ดี ช่วยกันรับผิดและรับชอบที่เกิดขึ้นต่อพระศาสนา คือต้องรับทั้งส่วนที่ผิดและส่วนที่ชอบ ไม่ใช่รับเฉพาะส่วนที่ชอบอย่างเดียว
ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS |
ส่วนที่ผิด คือความผิดพลาดในการดำเนินการรักษาพระศาสนา ความผิดพลาดในนโยบายการเผยแผ่พระศาสนา กล่าวคือความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะพึงเกิดขึ้นในวงการพระศาสนาต้องยอมรับกันว่าเป็นความผิดแล้วช่วยกันหาทางแก้ไขปรับปรุง ไม่โยนกลองกันไปมาหรือหันหลังให้ส่วนที่ผิดนี้ เพราะตราบใดพุทธบริษัทไม่ยอมรับส่วนที่ผิดว่าเป็นผิดก็ย่อมจะแก้ความผิดไม่ได้ เหมือนหมดจะรักษาโรคต้องยอมรับว่านั่นเป็นโรคจริงๆ เสียก่อนจึงจะรักษาให้หายได้ หากไม่ยอมรับว่ามันเป็นโรคแล้ว ยากที่จะรักษาได้ หรือบางทีไม่ยอมรักษาไปเลย
ส่วนการรับชอบนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะส่วนใหญ่ก็ชอบกันอยู่แล้ว
ผู้รับผิดชอบต่อศาสนานั้นคือพุทธบริษัทดังกล่าว คราวนี้พุทธบริษัทที่ว่านั้นอยู่ในวัดก็มี อยู่บ้านก็มี โดยเฉพาะผู้อยู่ในวัดต้องเป็นแกนกลาง เป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้นำเป็นผู้เสนอ ผู้อยู่บ้านเป็นผู้ตาม เป็นผู้สนอง
ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS |
ผู้อยู่วัด ได้แก่ พระเณร ทั้งที่เป็นมหาเถระ พระเถระ อุปัชฌาย์อาจารย์จนถึงพระหนุ่มเณรน้อยทั้งหลาย
ผู้อยู่บ้าน ได้แก่ พ่อบ้าน แม่บ้าน สมาชิกในครอบครัวทั้งหมด รวมทั้งหน่วยงานทางราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อศาสนาโดยตรง เช่น กรมการศาสนา กรมศิลปากร และโดยอ้อม เช่น โรงเรียน เป็นต้น
ผู้อยู่บ้าน ได้แก่ พ่อบ้าน แม่บ้าน สมาชิกในครอบครัวทั้งหมด รวมทั้งหน่วยงานทางราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อศาสนาโดยตรง เช่น กรมการศาสนา กรมศิลปากร และโดยอ้อม เช่น โรงเรียน เป็นต้น
ที่มา: https://goo.gl/wDVPvS |
เมื่อฝ่ายวัดฝ่ายบ้านมาช่วยกันจริงๆ จังๆ แล้ว ศาสนาพุทธก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น หากต่างก็ช่วยกันไปตามหน้าที่เท่านั้น ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่กระตือรือร้น ไม่มีจิตสำนึกว่าต้องทำเพื่อศาสนาอันเป็นที่รักเป็นที่หวงแหนแล้ว สภาพของศาสนาพุทธก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างที่เห็นๆ กันและอาจจะเลวร้ายลงทุกวันๆ กล่าวคือ ผู้คนห่างวัดห่างศาสนากันมากขึ้น ภัยศาสนาเกิดรุกรานกันมากขึ้น ศาสนาหรือลัทธิอื่นย่อมได้โอกาสได้ช่องที่จะเผยแผ่ศาสนาของตนได้รวดเร็วขึ้นด้วยซ้ำ
ถ้าจะว่าให้ชัดรัดกุมลงไปก็คือว่า ขอให้พุทธบริษัทพยายามประพฤติ ปฏิบัติธรรม สั่งสอบอบรมธรรม และทำตัวทำใจให้อยู่ในกรอบของธรรมเท่านั้นเท่ากับว่าได้ช่วยกันรับผิดชอบต่อศาสนาแล้ว เพราะการทำเช่นนั้นเท่ากับว่าได้สร้างพลังในวงการศาสนา หากวงการศาสนามีพลังอย่างว่า และต่างก็ดีด้วยกันทั้งหมดแล้ว ใครจะมาทำอะไรเราได้ เหมือนมือที่ปราศจากแผลจะกอบจะกำยาพิษไปไหนก็ย่อมได้ ยาพิษจะทำยาพิษให้ไม่ได้เลย เพราะเราไม่มีแผลให้ยาพิษแทรกซึมเข้าไป
รวมความแล้วต้องช่วยกัน และช่วยกันจริงๆ ว่างั้นเถอะ
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร, พฤษภาคม ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๒๗ - ๓๐.
0 ความคิดเห็น: