ประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ของสมาธิ 76 ข้อที่คุณอาจจะยังไม่ทราบ (ตอนจบ)

05:28 Mali_Smile1978 0 Comments

ที่มา: https://goo.gl/4TzxQu

3. ร่างกายและสุขภาพ

     ถ้าคุณไม่ชอบยา ลองทำสมาธิ เพราะหนึ่งออนซ์ของการป้องกันมีคุณค่าเป็นหนึ่งปอนด์ของการรักษา

การทำสมาธิช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
     ผู้คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าโรคอื่น ๆ ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในปลายปี 2012 กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่า 200 คน ทั้งกลุ่มที่ใช้เวลาศึกษาด้านสุขภาพที่ส่งเสริมเรื่องการกินและการออกกำลังกายให้ดีขึ้น หรืออีกกลุ่มที่ใช้เวลาเรียนทำสมาธิล่วงพ้น (Transcendental Meditation) 
     ในช่วง 5 ปีต่อมา นักวิจัยทำการรวบรวมผู้เข้าร่วมทดลอง พบว่า กลุ่มคนที่ฝึกสมาธิมีผลต่อการลดความเสี่ยงโดยรวม ในการเป็นโรคหัวใจวาย, โรคหลอดเลือดสมองและความตาย ประมาณ 48%  พวกเขา กล่าวว่า การทำสมาธิ "ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต, กล้ามเนื้อหัวใจวาย ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 
     การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สัมพันธ์กับความดันโลหิตต่ำและปัจจัยความเครียดทางจิตสังคม
     นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงข้อสรุปที่คล้ายกันเกี่ยวกับสุขภาพและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง
ที่มา: Time Magazine, American Heart Association, HealthCentral

การทำสมาธิมีผลต่อยีนที่ควบคุมความเครียดและภูมิคุ้มกัน
     การศึกษาจากโรงเรียนการแพทย์ ฮาร์วาร์ด แสดงให้เห็นว่า หลังจากฝึกโยคะและการทำสมาธิแล้ว บุคคลดังกล่าวมีการปรับปรุงการผลิตพลังงานซึ่งเป็นสารในดีเอ็นเอ (mitochondrial) การบริโภคและความยืดหยุ่น การปรับปรุงนี้ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นและความยืดหยุ่นต่อความเครียด
ที่มา: Bloomberg, NCBI, American Psychosomatic Medicine Journal, Journal

การทำสมาธิลดความดันโลหิต
     การวิจัยทางคลินิก ชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติสมาธิแบบเซน (ที่
รู้จักกันในนาม "Zazen") ช่วยลดความเครียดและความดันโลหิตสูง         อีกหนึ่งการทดลองในเวลาเดียวกันด้วยเทคนิคที่เรียกว่า "ภาวะตอบสนองแบบผ่อนคลาย" ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน โดย 2/3 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิตลดลง หลังจากทำสมาธิ 3 เดือนและความต้องการยาน้อยลง อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการผ่อนคลายมีผลในการก่อตัวของไนตริกออกไซด์ ซึ่งสารนี้จะเปิดหลอดเลือดของคุณ
ที่มา: The Journal of Alternative and Complimentary Medicine, NPR News

ที่มา: https://peacerevolution.net/docs/en/inner-peace-time

การฝึกสติจะลดความผิดปกติของการอักเสบ
     การศึกษาที่ทำในประเทศฝรั่งเศสและสเปน ของศูนย์ UW-Madison Waisman แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติสมาธิแบบเจริญสติ ช่วยสร้างช่วงของพันธุกรรมและโมเลกุล จึงส่งผลต่อผู้เข้าร่วมทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลจากการศึกษายังระบุว่า ระดับยีนที่กระตุ้นการอักเสบลดลง ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของร่างกายที่เร็วขึ้นจากสถานการณ์ตึงเครียด
ที่มา: University of Winsconsin Madison, & HealthCentral & Medical News Today

การทำสมาธิแบบเจริญสติลดการอักเสบในระดับเซลล์
     จากผลการศึกษาทั้งสามชิ้นด้านล่าง กลุ่มคนที่ฝึกสมาธิ ได้รับผลดีเรื่องการป้องกันการอักเสบในระดับเซลล์มากกว่ากลุ่มควบคุม
แหล่งที่มา: ScienceDirect (1), ScienceDirect (2), ScienceDirect (3)

การฝึกสติช่วยป้องกันโรคหอบหืด, โรคไขข้ออักเสบและโรคลำไส้อักเสบ
     ในงานวิจัยที่ทำโดยนักประสาทวิทยา จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wiscons) เมืองแมดิสัน กลุ่มคนสองกลุ่มได้เผชิญกับความเครียดที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งได้รับการฝึกสติในขณะที่อีกกลุ่ม ได้รับการศึกษาด้านโภชนาการ, การออกกำลังกายและการบำบัดด้วยดนตรี 
     การศึกษานี้สรุปได้ว่า เทคนิคการฝึกสติมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการอักเสบมากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี
ที่มา: Medical News Today

การทำสมาธิและการสวดมนต์ช่วยรักษาโรควัยก่อนหมดระดู (premenstrual) และอาการวัยหมดระดูแล้ว
     นี่คือข้อสรุปของการศึกษาควบคุมแบบสุ่มมากกว่า 20 แบบที่นำมาจาก PubMed, PsycInfo และ Cochrane Database ที่เกี่ยวกับเทคนิคการทำสมาธิ,การสวดมนต์, โยคะ และภาวะตอบสนองแบบผ่อนคลาย
ที่มา: The Journal of Alternative and Complementary Medicine


สมาธิลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
     ผลการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสารเรื่องสมอง พฤติกรรมและภูมิคุ้มกัน (Brain, Behavior and Immunity) กล่าวว่า เพียง 30 นาทีของการทำสมาธิต่อวัน ไม่เพียงแต่ช่วยลดความรู้สึกเหงา แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ, ภาวะซึมเศร้า, การตายของคนอัลไซเมอร์และตายก่อนวัยอันควร
ที่มา: HealthCentral

ที่มา: https://goo.gl/wBc0hf

การฝึกสติจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไขข้ออักเสบที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือกระดูก (fibromyalgia)
     ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร PubMed ผู้เข้าร่วมทดลอง 11 รายที่ได้รับความเจ็บปวดจาก โรคไขข้ออักเสบ ได้รับการฝึกสติ 8 สัปดาห์ ผลการศึกษา นักวิจัยพบว่า สภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้เข้าร่วมทดลองพัฒนาดีขึ้น รวมถึงอาการตึงเครียด, ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าด้วย
ที่มา: NCBI (1), NCBI (2), Psychotherapy และ Psychosomatics Journal

การทำสมาธิช่วยจัดการอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ
     จากการศึกษาที่เผยแพร่โดยสมาคมแพทย์แผนโบราณของเกาหลี ผู้ที่ฝึกปฏิบัติด้วยเทคนิค “ทำสมาธิแบบอมริตา(Amrita) เชิงบูรณาการ" แสดงชัดเจนว่า ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจอย่างเด่นชัด เป็นระยะเวลาถึง 8 เดือนหลังการฝึกอบรมแล้ว
ที่มา: KoreaScience

การทำสมาธิแบบเจริญสติอาจช่วยรักษาเอชไอวี
คำพูดจากผลการศึกษาของ UCLA:
     Lymphocytes หรือเพียงแค่เซลล์ CD4 T นับเป็น "สมอง" ของระบบภูมิคุ้มกัน
     กิจกรรมของระบบนี้จะประสานกันเมื่อร่างกายถูกโจมตี รวมถึงเซลล์ที่ถูกโจมตีโดยเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นไวรัสทำลายล้างที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์และมีผู้ติดเชื้อประมาณ 40 ล้านคนทั่วโลก
     ไวรัสนี้ค่อยๆ กินไปที่ CD4 T เซลล์ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง แต่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอชไอวี / เอดส์ที่ต้องเผชิญกับอีกหนึ่งศัตรูด้วยเช่นกัน คือความเครียด ซึ่งสามารถเร่งเซลล์ CD4 T ให้
ลดลง ตอนนี้นักวิจัยจากยูซีแอลเอ รายงานว่า การฝึกสมาธิทำให้หยุดการลดลงของเซลล์ CD4 T ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีแบบบวก ลดความทุกข์ทรมานจากความเครียด ชะลอความก้าวหน้าของโรค (... )
     เครสเวลและเพื่อนร่วมงานของเขาได้ทำการทดลอง โปรแกรมสมาธิลดความเครียด ระยะเวลา 8 สัปดาห์ (MBSR) และเปรียบเทียบกับ การสัมมนาโปรแกรมสมาธิลดความเครียด
แบบควบคุม (MBSR) หนึ่งวัน โดยใช้ตัวอย่างที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติจำนวน 48 คนที่มีเชื้อเอชไอวีบวกในลอสแองเจลิส 
     ผู้เข้าร่วมในกลุ่ม 8 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีการสูญเสียเซลล์ CD4 T บ่งชี้ถึงว่า การฝึกสมาธิแบบกำเจริญสติสามารถป้องกันการเสื่อมลงได้ ตรงกันข้ามกับกลุ่มควบคุม พบอย่างเด่นชัดว่า มีการลดลงอย่างมากของเซลล์ CD4 T ทั้งก่อนและหลังการศึกษา 
     การลดลงดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะที่ชี้ชัดถึงความก้าวหน้าของเชื้อเอชไอวี
ที่มา: ScienceDaily

ที่มา: https://peacerevolution.net/docs/en/inner-peace-time

การทำสมาธิอาจทำให้คุณอยู่ได้นานขึ้น
     เทเลอเมียร์ส (Telomeres) คือโครงสร้างสารประกอบที่ปลายโครโมโซม เป็นส่วนสำคัญของเซลล์ที่มีผลต่ออายุของเซลล์ของมนุษย์
     แม้ว่างานวิจัยยังไม่สรุปเป็นที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า "บางรูปแบบของการทำสมาธิอาจมีผลดีต่อการยืดอายุของสารเทเลอเมียร์ส (Telomeres) โดยการลดความเครียดทางความคิดและลดการกระตุ้นความเครียดและเพิ่มสภาวะบวกของจิตใจและยังเป็นปัจจัยทางฮอร์โมนที่อาจส่งเสริมการบำรุงรักษาเทเลอเมียร์สได้ "
ที่มา: Wiley Online Library

ประโยชน์ด้านสุขภาพของการทำสมาธิล่วงพ้น (Transcendental Meditation)
     มีผลการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับประโยชน์ด้านสุขภาพของ
การทำสมาธิล่วงพ้น กล่าวสรุปโดยย่อ ดังนี้


- ลดการเผาผลาญ (ที่มา: American Medical Association’s Archives of Internal Medicine, June 2006)
- ช่วยจัดการผลกระทบจากการบาดเจ็บ (ที่มา: Hindustan Times)
- ช่วยยืดอายุ (ที่มา: American Journal of Cardiology, May 2005)
- ลดความดันโลหิตในวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (ที่มา: American Journal of Hypertension,
April 2004; และ DoctorsOnTM)
- ลดภาวะหลอดเลือด (ที่มา: American Journal of Cardiology, April 2002)
- ลดภาวะตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Stroke, March 2000)
- ลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (American Journal of Cardiology, May 1996)
- ช่วยจัดการและป้องกันความวิตกกังวล (ที่ here & here)
- ช่วยจัดการคอเลสเตอรอล (DoctorsOnTM)
- ช่วยรักษาโรคลมชัก (DoctorsOnTM)
- ช่วยให้คุณเลิกสูบบุหรี่ (DoctorsOnTM)
- สร้างและส่งเสริมสภาวะร่างกายและจิตใจให้พักผ่อนได้ลึก (Hypertension 26: 820-827, 199-
- เพิ่มความต้านทานต่อผิว (Physiology & Behavior 35: 591-595, 1985)
- เพิ่มความชัดเจนในการคิด (Perceptual and Motor Skills 39: 1031-1034, 1974)
แหล่งที่มา: มูลนิธิเดวิดลินช์ (David Lynch Foundation)

ที่มา: https://peacerevolution.net/docs/en/inner-peace-time

4. ด้านการปฏิสัมพันธ์

การทำสมาธิแม้จะเป็นการออกกำลังเพียงลำพังแต่ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคมของคุณได้


การทำสมาธิแบบแผ่ความรักความเมตตาช่วยพัฒนาความเห็นอกเห็นใจและความสัมพันธ์ที่ดี
     ในวิถีทางพุทธศาสนา เราพบการฝึกความเมตตา หรือการทำสมาธิแบบแผ่ความรักความเมตตาที่ผู้ปฏิบัติมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้สึกที่มีเมตตาและการใส่ใจต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
     จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอมมอรี่ (Emory University) การฝึกปฏิบัติดังกล่าว ช่วยเพิ่มความสามารถในการเอาใจใส่คนอื่นด้วยการอ่านความรู้สึกจากการแสดงออกบนใบหน้า
     การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาอารมณ์บวกผ่านความเมตตา ได้สร้างทรัพยากรบุคคลหลายอย่าง รวมถึง "ทัศนคติที่มีความรักต่อตัวเองและคนอื่น ๆ รวมถึงการยอมรับตนเอง การสนับสนุนทางสังคมที่ได้รับและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น" รวมทั้ง "ความรู้สึกเข้าใจต่อความสามารถเกี่ยวกับชีวิตของแต่ละคน "และรวมถึง" วิถีการคิด การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป้าหมายในชีวิตและความยืดหยุ่นของตน
ที่มา: ScienceDaily, NCBI, PLOS One

การทำสมาธิแบบแผ่ความรักความเมตตาช่วยลดการแยกตนเองออกจากทางสังคม
     จากการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน เรื่องที่ว่า "แม้เพียงไม่กี่นาทีของการทำสมาธิที่แผ่ความรักความเมตตาช่วยเพิ่มความรู้สึกของการเชื่อมต่อทางสังคมและความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลใหม่ทั้งในระดับที่ชัดเจนและโดยนัย ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า เทคนิคง่ายๆ นี้ อาจช่วยเพิ่มอารมณ์ทางสังคมในเชิงบวกและลดการแยกทางสังคม "
ที่มา: American Psychological Association

การทำสมาธิเพิ่มความรู้สึกของความเมตตาและลดความวิตกกังวล
     หลังจากได้รับการฝึกอบรมเพาะปลูกความเมตตา ระยะเวลา 9 สัปดาห์ (CCT) แต่ละคนได้รับการพัฒนาความเห็นอกเห็นใจทั้ง 3 ด้านอย่างชัดเจน – ความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น,การได้รับความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น, และความเห็นอกเห็นใจตนเอง ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน กลุ่มคนที่ได้ฝึกผ่านประสบการณ์ดังกล่าว ช่วยลดความวิตกกังวลและการกดดันทางอารมณ์
ที่มา: Stanford School of Medicine (also here), Sage Journals.

ที่มา: https://peacerevolution.net/docs/en/inner-peace-time

สมาธิแบบเจริญสติทำให้ลดความรู้สึกเหงาได้
     การศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน (Carnegie Mellon University) พบว่า สมาธิแบบเจริญสติเป็นประโยชน์ในการลดความรู้สึกเหงา ซึ่งในทางกลับกันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย, การเสียชีวิต และลดการแสดงออกของยีนอักเสบอีกด้วย
ที่มา: ScienceDirect

การทำสมาธิช่วยลดความรู้สึกอยากกิน
     นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การฝึกสมาธิล่วงพ้น (Transcendental Meditation) ช่วยจัดการความรู้สึกอยากกิน ซึ่งป้องกันโรคอ้วนได้
ที่มา: DoctorsOnTM

ที่มา: https://goo.gl/wBc0hf

5. ด้านความมีสติสำหรับเด็ก

สติเป็นสิ่งที่ต้องการที่สุดในการศึกษา 
เริ่มตั้งแต่การจรดที่กระดานดำ

ในการรวบรวมการศึกษาที่ทำเกี่ยวกับเรื่องสติในโรงเรียน ขององค์การ MindfulnessInSchools นำเสนอหลักฐานด้านวิจัย สำหรับประโยชน์การฝึกสติสำหรับเด็ก มีดังต่อไปนี้ :
- ลดอาการซึมเศร้า
- ลดความเครียดของร่างกาย
- ลดความเป็นปฏิปักษ์และความขัดแย้งกับเพื่อน
- ลดความวิตกกังวล
- ลดปฏิกิริยาโต้ตอบ
- ลดการใช้สารเสพติด
- การเก็บรักษาความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น
- เพิ่มการดูแลตนเอง
- การมองโลกในแง่ดีและอารมณ์ดีขึ้น
- เพิ่มความนับถือตนเอง
- เพิ่มความรู้สึกของความสุขและความเป็นอยู่ที่ดี
- ทักษะทางสังคมที่ดีขึ้น
- นอนหลับดีขึ้น
- การตระหนักรู้ในตนเองที่ดีขึ้น
- ผลการเรียนดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับประโยชน์มากมายสำหรับครูและเจ้าหน้าที่ ได้แก่ :
- เพิ่มพูนสมรรถนะส่วนบุคคลของความอยากรู้อยากเห็นที่เปิดกว้าง , ความมีน้ำใจ, ความเอาใจใส่ ความเมตตายอมรับ, ความไว้วางใจ, ความอดทนและไม่มุทะลุ, ทักษะในการมุ่งเน้น, การให้และปรับเปลี่ยนความสนใจ

- พัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดีขึ้น กล่าวคือ มีแนวโน้มที่จะติดตามการเรียนรู้ของความมีสติ รวมทั้งเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิชาชีพครู เช่น ความเครียดและความเหนื่อยหน่าย
- พัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนด้วยตนเองให้ดีขึ้น
- สุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น
- เพิ่มความสามารถในการให้การสนับสนุนที่เหมาะสมต่อเด็กนักเรียนมากขึ้น โดยผ่านการเพิ่มแรงจูงใจและความเป็นอิสระมากขึ้น
- ลดความเครียด
- มีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้น
- พัฒนาหน่วยความจำให้ดีขึ้น ด้านการทำงานและความสนใจที่ยั่งยืน
ที่มา: MindfulnessInSchools.org

ที่มา: https://goo.gl/wBc0hf

6. ประโยชน์สมาธิด้านอื่นๆ 

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจบางอย่างเกี่ยวกับการทำสมาธิ:
- การพูดเสียง โอม....(OM) ก่อนการผ่าตัด ช่วยในการเตรียมตัวและการฟื้นฟูของการผ่าตัด
- นักทำสมาธิสามารถมีอิทธิพลต่อความเป็นจริงรอบๆ ตัวเรามากขึ้นในระดับควอนตัม
- นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาบางส่วนของการทำสมาธิเจริญสติทำให้ชีวิตทางเพศของคุณดีขึ้น (here, here, and here)
- ลดอคติทางเชื้อชาติและอายุ (Sage Journal)

7. ข้อสรุป

     บทสรุป วิทยาศาสตร์ยืนยันถึงประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติสมาธิหลายล้านคน ยกตัวอย่าง การทำสมาธิจะช่วยให้คุณมีสุขภาพดี, ช่วยป้องกันโรคต่างๆ, ทำให้คุณมีความสุขมากยิ่งขึ้นและพัฒนาประสิทธิภาพพื้นฐานของคุณในงาน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

     อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดเหล่านี้ 
คุณจำเป็นต้องฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่อง (ขอย้ำว่า ทุกวัน)


                                                           Translated by Mali Smile

ขอบคุณข้อมูลจาก
- http://liveanddare.com/benefits-of-meditation/

0 ความคิดเห็น: