ทำบุญสะเดาะเคราะห์ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแล้วจะหมดเคราะห์จริงไหม?

02:15 Mali_Smile1978 3 Comments

เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ ๑๑)
ที่มา https://goo.gl/Q542AF
ถาม: ผมไปติดต่อพระเรื่องทำบุญสะเดาะเคราะห์ ท่านให้ผมสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าตัว ผมจึงจะหมดเคราะห์ เมื่อผมสร้างแล้วเคราะห์จะหมดจริงไหม และสร้างพระพุทธรูปมีอานิสงส์อย่างไร?

ตอบ: คุณไม่ได้บอกเสียด้วยว่าคุณมีเคราะห์อะไร แต่ก็คงมีเคราะห์มากนั่นแหละจึงถึงกับต้องสร้างพระแทนตัว พอสร้างแล้วคงจะหมดเคราะห์จริงๆ เพราะจิตใจของคุณสบายขึ้น หากยังไม่สร้างคงจะอึดอัดไม่สบายใจ ความไม่สบายใจนี่แหละที่ทำให้คนเป็นทุกข์ เป็นกังวล พอใจเป็นทุกข์ หน้าตาก็ไม่มีน้ำไม่มีนวล เข้าทำนองหน้าตาดำคร่ำเครียด ถึงตอนนี้ย่อมมีคนทักว่า เคราะห์ไม่ดี ต้องสะเดาะเคราะห์ด้วยการสร้างพระ ซึ่งก็คือสร้างความสบายใจนั่นเอง
     คนเราลองสบายใจเสียแล้ว สง่าราศีมันขึ้นเองนั่นแหละ โดยเจ้าตัวไม่ต้องไปเมคอัพให้เปลืองเงินเปลืองทอง
     การสะเดาะเคราะห์แบบนี้ก็คือการทำบุญแบบหนึ่ง ได้ผลดีด้านจิตใจดังกล่าว
หลวงพ่อโสธรวัดโสธรวรารามวรวิหาร
อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
     และการสร้างพระพุทธรูปนี้ย่อมมีอานิสงส์มากมาย เท่าที่ผู้รู้เก่าๆ ท่านได้เขียนไว้ในที่ต่างๆ กัน พอจะประมวลได้ดังนี้

๑) ได้ชื่อว่าสร้างรูปเปรียบหรือองค์แทนพระพุทธองค์ไว้ให้ปรากฏในโลกหนึ่งองค์ พระพุทธรูปนี้จัดเป็น “อุเทสิกเจดีย์” คือเจดีย์ที่สร้างอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา ผู้สร้างถือว่าเป็นผู้มีจิตศรัทธาเต็มเปี่ยมในพระพุทธเจ้าย่อมเป็นบุญตั้งแต่เริ่มคิดจะสร้าง

๒) ย่อมได้บุญเพราะได้บริจาคทรัพย์เป็น ทานมัย หากได้กราบไหว้บูชาก็เป็นบุญข้อ อปาจายนมัย (บุญที่เกิดจากการเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน) หากได้ขวนขวายดูแลเอาใจใส่สร้างจนสำเร็จก็เป็นบุญข้อ ไวยาวัจมัย (บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ) และบุญอื่นๆ อีกมากมาย

๓) เมื่อสร้างเป็นองค์พระขึ้น แล้วนำไปประดิษฐานไว้ ณ ที่ใด ประชาชนในที่นั้นก็ได้กราบไหว้บูชา กุศลก็เกิดแก่ผู้สร้างในฐานะที่สร้างสื่อน้อมนำใจให้พวกเขาเกิดศรัทธา และระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นเหตุให้ผู้สร้างเกิดปีติเบิกบานใจ เกิดความแช่มชื่นทางใจตลอด

๔) พระพุทธรูปที่สร้างไว้ย่อมมีศิลปะที่งดงาม นำให้เกิดศรัทธาปสาทะทันทีที่ได้เห็น ผู้สร้างก็จะได้รับผล คือ เกิดเป็นคนรูปงาม มีสง่า มีบุคลิกน่าเกรงขาม เป็นที่รักใคร่ของปวงชนทั่วไป เจริญด้วยทรัพย์ ยศ และบริวาร โดยเฉพาะย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณงาม มีรูปทรงงาม และไม่วิกลวิการทางอวัยวะ ในทุกภพทุกชาติตราบเทาที่บุญนี้ยังส่งผลให้อยู่

๕) เวลาใกล้สิ้นชีวิต หากน้อมนึกเอาพระพุทธรูปที่สร้างมาเป็นนิมิตมาเป็นอารมณ์ได้ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมมีสุคติเป็นที่ไปเพราะนิมิตปรากฎดี
๖) เป็นการขยายศิลปะด้านนี้ให้กว้างขวาง อันเป็นผลดีโดยอ้อมเพราะพุทธปฏิมาศิลป์จัดเป็นศิลปะละเอียดอ่อน งดงาม นำให้ผู้ชมผู้ดูแม้จะไม่นับถือให้เกิดอารมณ์อ่อนไหว เยือกเย็น สงบตามไปด้วยพร้อมทั้งให้เกิดแนวคิดด้านปัญญาแก่ผู้ดูผู้ชมด้วย

     จะเห็นว่าสร้างพระพุทธรูปนั้นมีอานิสงส์มหาศาลอย่างไมน่าเป็นไปได้แต่ก็เป็นไปแล้วอย่างที่เห็นกัน
พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
จังหวัดพิษณุโลก 
     คนเก่าๆ จึงนิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยความพิถีพิถัน ให้ได้ศิลปะงดงาม ดังเช่นที่เราทราบกันว่าเป็นสมัยๆ คือ สมัยสุโขทัย สมัยเชียงแสน สมัยอู่ทอง สมัยรัตนโกสินทร์ และเขาสร้างได้สวยงามจริงๆ มีศิลปะงดงามจริงๆ มองแล้วเกิดความเยือกเย็น สงบ และความอ่อนไหวในอารมณ์จริงๆ 
     อานิสงส์จะมากหรือน้อยก็ตรงที่เป็นศิลปะอย่างนี้ส่วนหนึ่ง
     น่าเสียดาย การสร้างพระพุทธรูปปัจจุบันมักทำเป็นรูปแบบการค้าเสียโดยมาก หาความงามทางศิลปะได้น้อยลงเรื่อยๆ ผู้สร้างส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีความรู้ มุ่งแต่สร้างให้เสร็จไป ยิ่งมุ่งสร้างเพื่อสะเดาะเคราะห์ด้วยแล้วยิ่งต้องการความรวดเร็วเข้าว่า ศิลปะไม่ต้องพูดถึง ช่างที่ทำก็ขอให้ได้เงินเร็วๆ เหมือนกัน เลยสุกเอาเผากินไปหมด พระพุทธรูปบางองค์ที่สำเร็จออกมาแล้วให้สงสารจับใจ เพราะสัดส่วนรูปลักษณ์ของท่านดูไม่จืดจริงๆ
     ดังนั้น ท่านที่คิดจะสร้างพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชาหรือสะเดาะเคราะห์ก็ตามโปรดพิถีพิถันเรื่องศิลปะกันหน่อยเถิด เลือกหาช่างที่มีฝีมือหรือให้ได้รูปแบบที่นิยมกันอยู่ ซึ่งพอหาได้ไม่ยาก แม้จะแพงหน่อยก็ยังดี ตั้งไว้ที่ไหนคนผ่านไปผ่านมาพบเห็นเข้าก็จะมีแต่ความสงบเยือกเย็น แม้คนมีความทุกข์มา ความทุกข์ก็แทบจะคลายหายสิ้น น่ากราบ น่าไหว้ กราบไหว้แล้วก็ทำให้จิตใจสบาย มีแต่ความเอิบอิ่ม ตรงกันข้าม ถ้าสร้างแล้วได้พระพุทธรูปที่ขาดศิลปะทางประติมากรรม ก็จะไม่สบายใจด้วยกันทุกฝ่าย เป็นแต่ไม่พูดกันออกมาเพราะกลัวจะเป็นบาปเท่านั้น
     แม้ว่าพระที่สร้างนั้นจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์เหมือนพระพุทธรูปสำคัญเช่นหลวงพ่อโสธรหรือหลวงพ่อวัดไร่ขิงก็ตาม ก็ขอให้สวยงาม มีศิลปะแท้จริงเถิด คนเขาก็แห่ไปบูชาเองแหละ
     ก็ดูอย่างหลวงพ่อพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกนั่นไง ท่านสวยงามด้วยศิลปะระดับโลกทีเดียว


พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์
     มหาธรรมกายเจดีย์ถูกออกแบบมาเพื่อประดิษฐาน องค์พระธรรมกายประจำตัว ๑,๐๐๐,๐๐๐ องค์ พระพุทธรูปปางขัดสมาธิแต่ละองค์ ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มหาธรรมกายเจดีย์ ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์, ดวงปัญญา และการบรรลุธรรม เพราะเหตุว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมด้วยการเจริญสมาธิภาวนา จิตของพระองค์จึงบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสอาสวะ และสภาวธรรมนี้ จึงแผ่ขยายสู่สรรพสัตว์อันไม่มีประมาณ สันติสุขภายในของแต่ละบุคคลสามารถแผ่ขยายไปได้โดยรอบ สร้างครอบครัวให้มีความสุขขึ้น ทำสังคมให้เปี่ยมสุข และผู้คนปฏิบัติต่อกันด้วยจิตเมตตาปรารถนาดี และมีความเคารพต่อกัน 
     พระพุทธรูปประจำตัวแต่ละองค์มีขนาดกว้าง ๑๕ ซ.ม. สูง ๑๕ ซ.ม. และมีฐานรองรับซึ่งกว้าง ๑๘ ซ.ม. ทางวัดพระธรรมกายขออนุโมทนาต่อปัจจัยบริจาคจากทุกท่าน สำหรับท่านที่บริจาคครบจำนวนที่จะสร้างพระพุทธรูปประจำตัวได้ ก็สามารถมีชื่อ-นามสกุลของท่านหรือบุคคลอันเป็นที่รักสลักจารึกลงบนฐานของพระพุทธรูปประจำตัว
พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์
วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี

ที่มา https://goo.gl/8eb4Hi
     พระพุทธรูปประจำตัว ณ มหาธรรมกายเจดีย์จึงเป็นประจักษ์พยานในความพยายามของมนุษยชาติ ที่จะสร้างสันติภาพโลกให้แก่กัน พระพุทธรูปประจำตัวและแคล็ดดิ้งถูกสร้างขึ้นด้วยโลหะซิลิกอน บรอนซ์ ซึ่งปกติแล้วจะใช้ผลิตใบพัดของเรือดำน้ำเพื่อความแข็งแรงและทนต่อสารเคมี จากความรู้ด้านอารยธรรมยุคบรอนซ์เริ่มแรกของโลกที่ “บ้านเชียง” จังหวัดอุดรธานีนั้น นักโบราณคดีได้ขุดพบรูปหล่อโลหะบรอนซ์ ซึ่งเชื่อว่ามีอายุถึงห้าพันปี เมื่อพิจารณาสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ความชื้น และความร้อนแบบเขตศูนย์สูตร เราได้ตัดสินใจที่จะใช้ไททาเนียมและทองคำในการเคลือบผิวของพระพุทธรูปโลหะ ซิลิกอน บรอนซ์ เพื่อป้องกันพื้นผิว และให้ความมั่นใจว่าจะอยู่ได้นานนับพันปี เทคนิคนี้เรียกว่า “ไททาเนี่ยม-โกลด์ ไอออน เพลทติ้ง” ยังผลให้พระธรรมกายประจำตัวบนองค์มหาธรรมกายเจดีย์นั้น สุกสว่างราวทองคำ
     หลวงพ่อธัมมชโยมีดำริที่จะใช้สถานที่แห่งนี้ ให้เป็นศูนย์รวมใจผู้มีบุญทุกชาติ ทุกภาษา ทั่วโลก ที่จะหลั่งไหลมาประพฤติปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ และเป็นประดุจมหารัตนบัลลังก์ของพุทธบุตรจากทั้งในและต่างประเทศที่จะเดินทางมาประชุมรวมกันเพื่อศึกษาคำสอนดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประกอบศาสนกิจในโอกาสสำคัญ อันจะเป็นจุดเชื่อมประสานให้พุทธบุตรทุกนิกายสามารถหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว ซึ่งการรวมตัวกันของพุทธบุตรและพุทธบริษัทจะทำให้เกิดพลังอันแข็งแกร่งในการสร้างสรรค์งานเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และสันติสุขของชาวโลก นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะพุทธบุตรนั่นเองที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนสันติภาพโลก โดยการทำให้มวลมนุษยชาติรู้จักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้วิธีปิดอบาย ไปสวรรค์ และอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 
ที่มา https://goo.gl/8eb4Hi
     โครงการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์เกิดขึ้นจากพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกที่พร้อมใจกันสละทรัพย์อันมีค่าฝากฝังไว้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งหลวงพ่อธัมมชโยก็มีนโยบายให้ใช้ทรัพย์ที่พุทธศาสนิกชนสละมาใช้ในงานพระพุทธศาสนาอย่างคุ้มค่าให้ประหยัดสุดและประโยชน์สูงสุด เมื่อใดที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกมาพร้อมใจกันประพฤติปฏิบัติธรรมรายรอบมหาธรรมกายเจดีย์แล้ว สันติภาพและสันติสุขที่จะเกิดขึ้นบนโลกใบนี้



ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร: ตุลาคม, ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๙๗-๑๐๐
- เฟสบุคพระครูธรรมธรอารักษ์ ญาณารักโข: พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์.
- https://www.youtube.com/watch?v=97MzQqc1GHg

3 ความคิดเห็น:

ลักขโมยพระ ตัดเศียรพระ พวกนี้จะบาปมากไหม และบาปจะตามทันในชาตินี้หรือไม่?

03:58 Mali_Smile1978 6 Comments


ภาพจาก: https://goo.gl/BuWNwt
เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 10)
ถาม: ปัจจุบันมีการลักขโมยพระตัดเศียรพระกันมาก พวกนี้จะบาปมากไหม และบาปจะตามทันในชาตินี้หรือไม่?

     ข้อนี้ตอบได้ทันทีโดยไม่ต้องคิดว่า บาปมากแน่ ไปถามใคร เขาก็ต้องตอบเช่นนี้ เพราะว่าการลักถือว่าเป็นบาปอยู่แล้ว ไม่ว่าศาสนาไหนในโลกต่างก็มีคำสอนเรื่องการห้ามลักทรัพย์ของผู้อื่นทั้งนั้น แม้การตัดเศียรพระก็เหมือนกันเพราะต้องลักตัด เมื่อลักตัดก็บาปและบาปมากด้วย หากไม่ได้ลักตัดเช่นพวกช่างหล่อหรือช่างซ่อมพระพุทธรูป ซึ่งจำเป็นต้องขัดแต่งพระให้ดีให้สวยงาม ต้องตัดต่ออวัยวะเพื่อให้ได้รูปที่สวยงาม บางครั้งต้องซ่อมเศียรพระโดยวิธีหล่อใหม่ ก็จำต้องตัดเศียรเก่าที่ซ่อมไม่ได้แล้วออก อย่างนี้ไม่ถือว่าบาป

มาว่ากันว่าบาปแค่ไหนดีกว่า?
     ในตำนานพระพุทธศาสนาชั้นหลังๆ คือเมื่อมีพระพุทธรูปเกิดขึ้นแล้ว ท่านว่าใครทำลายพระพุทธรูปก็เท่ากับทำลายองค์พระพุทธเจ้าเหมือนกัน มีโทษถึงห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานทีเดียว พิเคราะห์ดูก็เห็นสม เพราะผู้ลักขโมยพระหรือตัดเศียรพระได้นี้ต้องเป็นคนใจโหดบาปหนาอยู่ในกมลสันดาน ย่อมทำชั่วอย่างอื่นได้ทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่จะฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองก็คงได้ การที่เขาแก่ใจทำบุญทำกุศลเพื่อตัวเองนั้นเห็นจะไม่มี เมื่อไม่ทำดีก็หมดหวังที่จะไปสวรรค์ หรือนิพพาน จะมีก็แต่ตกนรกหมกไหม้ในอเวจีเท่านั้น เรียกว่าเป็น "ผู้สวนทางนิพพาน" กันเลย

ภาพจาก: https://goo.gl/BuWNwt
     แม้กฎหมายโบราณก็ตราไว้ว่า หากใครทำอันตรายพระพุทธรูป เช่น ตัดแขน เป็นต้น ก็ให้ลงโทษด้วยการตัดแขนผู้นั้นทิ้งเสีย ใครตัดเศียร ตัดศอพระ ก็จับมันมาตัดคอเสีย เรียกว่าลงโทษกันแบบเกลือจิ้มเกลือ ปากต่อปาก ฟันต่อฟันกันเลยละ
     ที่ท่านลงโทษหนักอย่างนี้ เห็นเป็นเพราะผู้ทำลายพระพุทธรูปเท่ากับทำลายจิตใจของพุทธบริษัททั่วไป เพราะพระพุทธรูปเป็นมิ่งขวัญเป็นปูชนียวัตถุที่เขากราบไหว้บูชากันอยู่ หรือพูดอีกทีก็คือว่าเป็น "ดวงใจของชาวพุทธ" นั่นเอง
     แต่การลงโทษปัจจุบันนี้เบาบางมาก พวกทุจริตมิจฉาชีพประเภท “หนักแผ่นดิน” อย่างนี้ จึงผุดขึ้นงามสะพรั่งไม้แพ้ต้นโพธิ์ที่เกิดขึ้นอยู่บนยอดเจดีย์หรือหลังโบสถ์วิหารเก่าๆ ยามหน้าฝนทีเดียว

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาท่านก็เขียนเล่าไว้ว่า

ภาพจาก https://goo.gl/nLQkNx
     สมัยหนึ่ง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ มีกษัตริย์อินเดียพระองค์หนึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ ไม่นับถือพระพุทธศาสนาจึงคิดทำลายล้างให้หมดสิ้นไปเสียจากอินเดีย โดยเริ่มจัดการทำลายวิหารมหาโพธิ์สถานตรัสรู้ก่อน ทราบว่า ในวิหารนั้นมีพระพุทธรูปสวยงามมาก พระองค์สั่งให้แม่ทัพจัดการทำลายพระพุทธรูปองค์นั้นเสีย ส่วนพระองค์ไปจัดการกับต้นมหาโพธิ์ แม่ทัพผู้นั้นแม้จะเป็นมิจฉาทิฐิ แต่ก็มีสามัญสำนึกดีกว่าพระเจ้าแผ่นดิน เขาคิดว่าพระพุทธรูปงดงามเช่นนี้ควรรักษาไว้ เพราะเป็นสมบัติของแผ่นดินชิ้นหนึ่ง จึงก่ออิฐถือปูนบังพระพุทธรูปไว้เสียแล้วกลับมากราบทูลว่าได้ทำลายพระพุทธรูปเสร็จแล้ว พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นทรงทราบเข้าก็ทรงพอพระทัยมาก ดำริว่าเราโค่นพระพุทธศาสนาลงได้แล้ว 
แต่หลังจากนั้นเพียง ๗ วันเท่านั้น พระองค์เกิดโรคพุพองขึ้น
ทั้งพระองค์ ต่อมาตุ่มพองนั้นก็แตกเปื่อยเน่าเหม็นคลุ้งไป ปวดแสบปวดร้อนนัก ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์เช่นนี้จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ไป

     นี่เป็นผลของการสั่งให้ทำลายพระพุทธรูปและทำลายพระศรีมหาโพธิ์ด้วยพระองค์เองหรืออย่างไร ขอให้ท่านทั้งหลายวินิจฉัยดูเอาเองเถิด



ภาพจาก https://goo.gl/iMNMQH

ส่วนในเมืองไทยเราก็มีเรื่องเล่าทำนองนี้เกิดขึ้น เล่าสืบต่อกันมาว่า
     มีชายชราคนหนึ่งเป็นโรคผิวหนังพุพองเน่าเปื่อยไปทั้งตัว แถมเป็นอัมพาตเสียด้วย ทำมาหากินไม่ได้ ต้องนอนขอทานเขากินไปวันๆ ทุกข์ทรมาน ทุกข์ทรมานอยู่จนตาย ก่อนตายชายชราคนนั้นสารภาพว่า สมัยที่ยังหนุ่มแน่นอยู่นั้น ได้หากินทางขโมยลอกทองจากองค์พระพุทธรูปบ้าง เที่ยวขุดคุ้ยหาทรัพย์ในองค์พระตามวัดร้างโบราณบ้าง ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการทำให้พระพุทธรูปขาดความสวยงามไป บางครั้งต้องตัดอวัยวะพระพุทธรูปบ้าง เจาะองค์บ้าง เจาะฐานบ้าง เมื่อแกได้รับทุกข์ทรมานเช่นนี้ แกก็ทราบว่ากรรมตามทันในชาตินี้นี่เอง แต่ก็สายไปเสียแล้ว



ภาพจาก https://goo.gl/19Hha2
     จะเป็นไปได้ไหม ผู้ที่เคยตัดเศียรพระทำลายองค์พระไว้ เมื่อเกิดมาในชาตินี้จึงไม่มีแขนไม่มีขาอย่างคนอื่น ต้องถูกตัดแขนตัดขาหรือถูกตัดคอ เช่น นั่งรถไปเกิดอุบัติเหตุ รถชนกันบ้าง รถคว่ำบ้าง ทำให้แขนขาด แต่ไม่ตาย หรือแขนขาเป็นโรคเน่าเปื่อย หรือถูกทำร้ายต้องถูกตัดทิ้งไปเพื่อรักษาชีวิตไว้ พวกนี้ทุกข์ทรมานจิตใจอย่างน่าสงสารเหมือนกัน ทำอย่างไรได้ คนอื่นทำไมไม่เป็นอย่างนั้น เฉพาะจะต้องมาเป็นกับพวกเขาซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก


ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร: กรกฎาคม, ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๑๐๐-๑๐๒ 

6 ความคิดเห็น:

ถวายสังฆทานอย่างไร พระได้ใช้ คนถวายได้บุญแบบปลื้มๆ

00:18 Mali_Smile1978 5 Comments

ที่มา: https://goo.gl/UhQzw2
ที่มา:https://goo.gl/Js597P
     จากที่มีกระแสข่าวเรื่อง "สิ่งของไทยธรรมที่บรรจุอยู่ในถังสังฆทานสีเหลือง" ที่นำมาถวายพระ พระครูอมรสุตกิจ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันพบปัญหาของในสังฆทานที่นำไปบริโภค โดยเฉพาะน้ำและอาหารแห้ง มักเกิดปัญหา ไม่สามารถนำไปบริโภคได้เพราะถูกนำมาใส่รวมไว้ในถัง ซึ่งในถังสังฆทานจะรวมเอาทุกอย่างใส่ไว้ เช่น สูบู่ผงซักฟอก ซึ่งมีกลิ่นฉุนแรง 
     ผ้าอังสระ ผ้าอาบน้ำฝน หรือจีวร บางครั้งพระสงฆ์ก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ รวมถึงกล่องสังฆทานยา ที่บรรจุยาไว้ในกล่อง บางครั้งพระไม่มีความเข้าใจเรื่องการใช้ยา อาจรับประทานผิดหรือไม่ถูกต้องตามอาการ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนที่มีความตั้งใจทำบุญ ได้ช่วยกัน แยกสังฆทาน ระหว่างของใช้ส่วนตัว กับของที่รับประทานได้ออกจากกัน หรือนำมาเฉพาะสิ่งของที่พระจำเป็นเท่านั้น” 
(ที่มา: http://www.amarintv.com/news-update/news-1636/60925/)  



     สิ่งของที่อยู่ในถังเหลือง อาจเป็นของที่มีคุณภาพต่ำจนใช้งานไม่ได้ หรือแม้แต่มี  "การถวายสังฆทาน ด้วยอาหารสุนัขแด่พระภิกษุสงฆ์” ก็เคยเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมไหม? ถวายได้หรือเปล่า? จากเหตุการณ์ดังกล่าวบ่งบอกว่า ยังมีชาวพุทธหลายท่านที่อาจไม่ทราบหรือดูเบาถึงการเลือกสิ่งของที่ถูกต้อง เหมาะสม และจำเป็นที่จะนำมาถวายพระ
     วันนี้จึงนำความรู้เรื่อง หลักการถวายทานและของที่ควรจะถวายพระ เพื่อเราจะได้บุญเต็มเปี่ยมและปลื้มในทานที่ได้ตั้งใจถวาย มาฝากค่ะ
     การถวายภัตตาหารหรือไทยธรรมเป็นสังฆทานนี้ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ว่า เป็นบุญใหญ่ ได้อานิสงส์มากกว่าการถวายจำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่เรียกว่า ปาฏิปุคคลิกทาน เพราะฉะนั้นตั้งแต่โบราณเมื่อจะทำบุญ พระท่านจึงสอนว่าให้ถวายเป็นสังฆทาน เพราะพระสงฆ์เป็นประมุขของผู้หวังบุญ หมู่สงฆ์นี่แหละเป็นประมุขของผู้บูชา ใครอยากได้บุญใหญ่ก็ให้ทำบุญปรารภหมู่สงฆ์ ซึ่ง
พระสงฆ์นั้นหมายรวมถึงสมมติสงฆ์และพระอริยสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระองค์จะเสด็จปรินิพพานนานแล้ว 

     เมื่อกล่าวถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานก็จะระลึกรวมไปถึงพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วย หากปรารภหมู่สงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทำบุญด้วยจิตที่เลื่อมใสกันจริงๆ แล้ว "มหัคคตกุศล" จะบังเกิดขึ้นกับตัวเรา และจะส่งผลให้ได้สมบัติทั้งสามไปตลอดทุกภพทุกชาติ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน มนาปทายีสูตร ว่า
"ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ
นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ
นรชนนั้น จะบังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศในที่นั้น"

     เมื่อเรามีความตั้งใจในการทำบุญโดยการเลือกซื้อสิ่งของที่เป็นประโยชน์แท้จริงแก่พระสงฆ์ เช่น ของมีคุณภาพ หรือสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ การเลือกให้แต่ของดี  ของมีประโยชน์  ของสะอาดมีรสดี เป็นต้น  ชื่อว่า เคารพในทานของตนและเคารพในผู้รับ 

องค์แห่งการให้ (ที่ทำให้ได้อานิสงส์มาก) 
๑. วัตถุบริสุทธิ์ (สิ่งของที่จะบริจาคทานต้องได้มาโดยสุจริต) 
๒. เจตนาบริสุทธิ์ (ผู้ให้มีความบริสุทธิ์ใจ มุ่งให้เกิดความดี) 
๓. บุคคลบริสุทธิ์ (ผู้ให้และผู้รับ ต้องมีศีล มีธรรม)
     ก่อนให้ทาน ก็มีความดีใจ....ขณะให้ทาน ก็มีความเลื่อมใส.....หลังจากให้ทาน ก็มีความเบิกบานใจ ไม่เสียดายในภายหลัง
     เมื่อผู้ใดมีเจตนาบริสุทธิ์ครบทั้ง ๓ ระยะอย่างนี้ ย่อมได้บุญมาก มีอานิสงส์ใหญ่



     สำหรับวัตถุทานหรือสิ่งของที่ให้นั้นก็มีหลายอย่าง กล่าวกว้างๆ  ก็ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร ซึ่งรวมทั้งเครื่องนุ่งห่มด้วย บิณฑบาต ซึ่งรวมทั้งอาหารเครื่องบริโภคทุกอย่าง เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย คิลานเภสัช คือยารักษาโรค
     นอกจากนี้  ข้อมูลจากรายการจุดเปลี่ยนได้ไปสอบถามพระสงฆ์จำนวนหนึ่ง แล้วจัดอันดับสิ่งของสังฆทาน ตามความจำเป็นในการใช้งาน รวม ๑๐ อันดับ ซึ่งเรียงจากจำเป็นมากสุดไปน้อยที่สุดได้ ดังนี้  

อันดับที่ ๑ เครื่องเขียนและอุปกรณ์การเรียน  เนื่องจากในปัจจุบันพระสงฆ์ส่วนใหญ่มีโอกาสในการศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การเรียน โดยเฉพาะหนังสือนักธรรม หนังสือบาลี สมุด กระดาษ ปากกา และดินสอ เพราะต้องใช้ในการศึกษาพระธรรม

อันดับที่ ๒ มีดโกน ควรเลือก ใบมีดโกนตราขนนก (Feather) หรือยี่ห้อ Gillette ยิลเลตต์ เนื่องจากพระต้องโกนผมทุกวันโกน แต่ใบมีดยี่ห้ออื่น พระใช้โกนผมแล้วเลือดสาด !!! ท่านจึงใช้ได้แค่ ๒ ยี่ห้อนี้เท่านั้น อนึ่ง ใบมีดตราขนนกจะคมกว่ายิลเลตต์  ใช้ในการโกน?ครั้งแรก ส่วนยิลเลตต์จะใช้เก็บความเรียบร้อยอีกครั้ง

อันดับที่ ๓ ผ้าไตรจีวร แม้จะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชุดสังฆทาน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นของที่ไม่ได้ขนาดและไม่มีคุณภาพ ดังนั้นผู้ถวายสังฆทาน ควรเลือกอย่างเหมาะสม เช่น ผ้าไตรจีวรที่ทำจากผ้ามัสลิน เพราะเนื้อผ้าเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น

อันดับที่ ๔ หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสาร หรือหนังสือที่ให้ความรู้อื่นๆ หากไม่สะดวกนำสิ่งของเหล่านี้มาถวายที่วัด สามารถสมัครสมาชิกรายปี หรือสั่งซื้อหนังสือจากสำนักพิมพ์เพื่อให้ส่งตรงถึงวัดเลยก็ได้  

อันดับที่ ๕ รองเท้า แบบของรองเท้าที่นำมาถวายนั้น ควรดูตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อาจลองสังเกตดูก็ได้ว่า แต่เดิมพระสงฆ์ที่วัดแห่งนั้นสวมใส่รองเท้าแบบใด

อันดับที่ ๖ ยารักษาโรค ควรถวายยาดี มีคุณภาพ และเป็นยาสามัญทั่ว ๆ ไป ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน  

อันดับที่ ๗ ผ้าขนหนู ควรเลือกผ้าขนหนูเนื้อดี สีสุภาพ ไม่ควรมีลวดลายฉูดฉาด และไม่จำเป็นต้องมีสีเหลืองแต่อย่างใด

อันดับที่ ๘ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ในยุคโลกหมุนตามเทคโนโลยี วัดต่างๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งยังมีหลายวัดที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์เหล่านี้อีกเป็นจำนวนมาก

อันดับที่ ๙ ผลิตภัณฑ์และชุดอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน ไม้กวาด และไม้ถูพื้น

อันดับที่ ๑๐ แชมพูสระผม เนื่องจากพระสงฆ์ต้องใช้แชมพูในการชำระล้างหนังศีรษะก่อนการปลงผม ดังนั้น แชมพูจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งนั่นเอง


ที่มา: https://goo.gl/CAJdMR
     นอกจากสิ่งของใน ๑๐ อันดับข้างต้นนี้ ยังมีข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ที่พระสงฆ์จำเป็นต้องใช้อีกมาก เช่น บัลลาสต์-สตาร์ตเตอร์  ที่ใช้คู่กับหลอดไฟ และการถวายปัจจัย ก็ถือเป็นการถวายสังฆทานอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใจบุญที่ไม่มีเวลาไปเลือกซื้อสังฆทาน
     โดยเฉพาะช่วงนี้อยู่ใน "ฤดูเข้าพรรษา" เราชาวพุทธก็หมั่นหาโอกาสพาครอบครัวเข้าวัดทำทาน รักษาศีล และประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้สม่ำเสมอ เมื่อเข้าวัดคราวใด อย่าลืมจัดชุดไทยธรรมไปถวายสังฆทานแด่หมู่สงฆ์กันด้วยเน้อ จะได้บุญที่มีอานิสงส์มากแบบปลื้มๆ ค่ะ


เรียบเรียงเนื้อหาจาก
- https://goo.gl/jxtGQQ (http://buddha.dmc.tv)
- http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html#7
- http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi/MUBio_Webboard.phpAction=ViewTopic&TopicID=1258&Lang =Eng
- https://hilight.kapook.com/view/87378

5 ความคิดเห็น:

สังคมจ้องผอ.พศ.ต้องรับผิดชอบ กรณีพระพุทธะอิสระได้ "ข้อมูลราชการ" นำมามุ่งโจมตีสงฆ์ได้อย่างไร?

02:00 Mali_Smile1978 0 Comments

ที่มา http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=142788&t=news
ที่มา https://twitter.com/cateos


     จุดเริ่มต้นจาก "เงินทอนวัด" ที่ใครไม่รู้??? โยนบาป สร้างวาทกรรมลบๆ ตีกระแสข่าวอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความเสียหาย เสื่อมเสียต่อพระและวัดในภาพรวม 
     ความจริงได้ปรากฎ กลายเป็นข้าราชการทำผิดฐานฟอกเงินเอง งบ รร.พระปริยัติก็โปร่งใส ถึงตอนนี้มีอีกเรื่องที่สังคมต้องโฟกัส คือถึงเวลาผอ.พศ.ต้องตอบเรื่องพระพุทธะอิสระได้ "ข้อมูลราชการ "แล้วนำมามุ่งโจมตีสงฆ์ได้อย่างไร?


ที่มา https://www.komkhao.com/content/12731/...

จากกระแสข่าวที่ว่า นายวิชัย ประเสริฐสุดสิริ ผู้ประสานงาน อสคพ.และคณะเครือข่าวชาวพุทธ เตรียมเดินทางไปยื่นหนังสือถึง พ.ต.ท. พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ  โดยนายวิชัย ระบุเหตุผลว่า เพื่อให้แสดงความรับผิดชอบที่มีข้อมูลราชการของสำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ  ไปให้ พระสุวิทย์ ธีรธัมโม หรือ พระพุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม 

เผยแพร่ใช้กล่าวหาโจมตีวัดทั้งธรรมยุตและมหานิกาย และมหาเถรสมาคม สร้างความเสียหายให้สถาบันพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง

ทั้งนี้ ผู้ประสานงาน อสคพ. จะเดินทางไปยื่นหนังสือในวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2560  เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ  พุทธมณฑล จ.นครปฐม (ที่มา: https://www.komkhao.com/content/12731...)

     ถึงจุดนี้ ผอ.พศ.ควรต้องสำเหนียกได้แล้วว่า ผลงานการกระทำตั้งแต่ได้นั่งตำแหน่งนี้มาจนกระทั่งปัจจุบัน ท่านได้ทำถูกต้องตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองแล้วหรือยัง หรือมานั่งบนตำแหน่งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ใด??? เพราะดูๆแล้ว ผลงานของท่านจะก่อให้เกิดผลดีความเจริญงอกงาม หรือจะมาบั่นทอน เบียดบัง สร้างความเสื่อมเสียให้กับพระศาสนากันแน่??? 

     จึงขออนุญาตนำเนื้อหาที่กล่าวถึงบทบาท อำนาจหน้าที่ของผอ.พศ. ตามที่กฎหมายได้เขียนไว้มาให้สังคมได้รับรู้และช่วยกันตรวจสอบต่อพฤติกรรมของท่าน ผอ.พศ. ดังนี้
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ.2549 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนที่ 25 ก หน้า 11 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ข้อ ๑ (ที่มา: https://goo.gl/52EDcp)


"ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และรัฐ โดยการทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคคลากรทางศาสนา" 

โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 
(๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(๒) รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการ และการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
(๓) เสนอแนวทางการกำหนดนโยบาย และมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
(๔) ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถาน และศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
(๕) ดูแล รักษ และจัดการวัดร้างและศาสนสมบัติกลาง
(๖) พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
(๗) ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
(๘) ปฏิบัติการอันใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย






ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
http://www.mahathera.org/detail.php?module=mati&id=254510270501&title=10






0 ความคิดเห็น:

บวชทำไม? ประโยชน์สูงสุดของการบวชคืออะไร ? แม้ในสมัยพุทธกาล กุลบุตรที่เข้ามาบวชก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน

04:10 Mali_Smile1978 2 Comments

ที่มา: https://goo.gl/Qc3GVA


ที่มา https://www.dailynews.co.th/article/583630

 > เมื่อได้อ่านมุมมองเรื่องวัตถุประสงค์การเข้ามาบวชเป็นภิกษุจากบทความนี้แล้วยังไม่เห็นด้วยเสียทุกประเด็นกับผู้เขียน (อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.dailynews.co.th/article/583630)
เพราะแท้จริงแล้วควรต้องแยกพิจารณาเป็นประเด็นตามข้อเท็จจริง กล่าวคือในเรื่องวัตถุประสงค์ในการบวช ประการหนึ่ง กับเมื่อบวชแล้วภิกษุจะศึกษาพระธรรมและปฏิบัติขัดเกลาตัวเองตามธรรมวินัยได้เต็มที่มากน้อยขนาดไหน? ควรแยกแยะพิจารณา


> อย่างไรขอยืนยันว่า ประโยชน์จากการบวชมีอยู่แล้ว แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้บวช แต่ "การมองว่าวัตถุประสงค์ก่อนบวชเหล่านี้
จะก่อให้เกิดบาปต่อตัวผู้บวช 
หรือก่อผลเสียให้พระศาสนานั้น 
ดูจะรุนแรงไป เป็นการตัดสินคนตั้งแต่ยังไม่ลงมือทำอะไรเลย?" 
> ถ้าเปรียบ เด็กจากที่ไมรู้หนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จึงต้องเข้าโรงเรียนเพื่อไปฝึกฝน เรียนรู้จากคุณครู มีสิ่งแวดล้อมจากเพื่อนๆ ที่เอื้อให้เราได้มีกำลังใจที่จะศึกษาเรียนรู้ เด็กนักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสติปัญญา แรงจูงใจ เรื่องพ่อแม่ครอบครัว เศรษฐกิจ แต่สุดท้ายเมื่อเข้าได้เข้าเรียน อย่างน้อยที่สุดเขาก็ย่อมได้ประโยชน์ คืออ่าน ออก เขียนได้ มีความรู้ติดแข้งติดขาไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตต่อไป

> เมื่อมองภาพรวมของพระพุทธศาสนาตอนนี้  คือมีคนเข้ามาบวชน้อยลงมาก จำนวนพระเณรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของคณะสงฆ์ไทย จำนวนพระสงฆ์ ๒๙๐,๐๑๕ รูป สามเณร ๕๘,๔๑๘ รูป รวม ๓๔๘,๔๓๓ รูป (ที่มา: สํานักงานเจ้าคณะจังหวัด , สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557) 
> แม้ว่าเมื่อจำแนกเฉพาะพระอย่างเดียว ตัวเลขเมื่อปี ๒๕๔๙ เมืองไทยยังมีพระถึง ๒๕๐,๔๓๗ รูปมากกว่าเมื่อปี ๒๕๐๗ ซึ่งมีภิกษุเพียง ๑๕๒,๕๑๐ รูป แต่ตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นภาพลวงตาเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ในจำนวนกว่า ๒ แสน ๕ หมื่นรูปนี้รวมทั้งพระที่บวชระยะสั้นคือ ๗ วันถึง ๑ เดือนด้วย มีข้อมูลการวิจัยระบุว่า ในช่วงปี ๒๕๔๕-๒๕๔๗ พระเณรที่บวชตั้งแต่ ๗ วันถึง ๑ เดือนในกรุงเทพมหานครและราชบุรีมีเกือบร้อยละ ๗๐ ของผู้บวชทั้งหมด หากคนในจังหวัดอื่น ๆ มีระยะเวลาการบวชในทำนองเดียวกับคนในสองจังหวัดดังกล่าว ก็หมายความว่า ในเมืองไทยปัจจุบันมีพระที่บวชเกินกว่า ๑ เดือนขึ้นไปประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูปเท่านั้น หรือเท่ากับ ๑ รูปเศษ ๆ ต่อ ๑ หมู่บ้าน และหากคัดพระที่บวชตั้งแต่ ๑- ๓ เดือนออกไป จะเหลือพระที่ยืนพื้นน้อยกว่านี้มาก อาจไม่ถึง ๑ รูป ต่อ ๑ หมู่บ้านด้วยซ้ำ (ที่มา: http://www.visalo.org/article/matichon255107.htm)

  ดังนั้น การแก้ปัญหาภาพรวมของพระพุทธศาสนาตอนนี้ คือทำอย่างไรจะทำให้มีชายแมนๆ เข้ามาบวชเพิ่มมากขึ้นๆๆ จะมาบวชวัตถุประสงค์ใด ศรัทธาอาจยังไม่มาก แต่ขอให้มาบวชเสียก่อน ศรัทธาเป็นเรื่องที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ ตอนแรกที่มาบวชอาจจะไม่เต็มใจนัก อาจบวชด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันไป เช่น แม่อยากให้บวช ด้วยความกตัญญูจึงตัดสินใจมาบวช หรือบวชตามประเพณี บวชแก้บน  บวชก่อนแต่งงาน บวชเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิต เป็นต้น


ที่มา https://www.dailynews.co.th/article/583630
> ที่ถูกต้องที่สุด ต่อสถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันนี้ คือ ต้องให้ชายแมนๆ มาบวชมากๆๆๆ
ยิ่งได้บวช ๑ เดือน ๑ พรรษา เหมือนชายไทยสมัยก่อนยิ่งประเสริฐ อย่างไรก็ตาม มีการบวชก็ยังดีกว่าไม่มีการบวช 
เปรียบ มีเงินในกระเป๋า ๑,๐๐๐ ล้านบาท มีเพียงวันเดียว (บวชเช้าสึกเย็น) ก็ยังดีกว่าไม่เคยมีเงิน 1,000 ล้านบาท มีเงิน ๑,๐๐๐ ล้านบาท ๑ เดือน (บวช ๑ เดือน) ก็ดีเพิ่มมากขึ้น มีเงิน ๑,๐๐๐ ล้านบาท ๓ เดือน (บวช ๑ พรรษา ๓ เดือน) ก็ยิ่งสุขกาย สบายใจ
ยิ่งถ้าอยู่รับกฐิน แล้วออกเดินธุดงค์แสวงหาหนทางพ้นทุกข์ โอ้... แสนจะวิเศษ
> เป็นการเปรียบเทียบที่เล็กน้อยมาก ประดุจนำฝุ่นในเล็บมือ ไปเทียบกับฝุ่นในจักรวาล เพราะถ้ากุลบุตรได้บวช มีคุณค่าและมูลค่ามากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท 
เพราะเป็นโอกาสให้กุลบุตรเหล่านั้นได้มีโอกาสสลัดตนให้พ้นจากกองทุกข์ พบความสุขที่แท้จริง มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพาน
- ประเด็นอยู่ที่บวชแล้วต้องเรียน ท่านเรียก "บวชเรียน" จะเป็นคันถธุระ วิปัสสนาธุระ หรือทั้งสองอย่าง ตามความชอบใจ ไม่ใช่ไม่ให้มาบวช
มีศรัทธามาก่อนก็บวชได้
ไม่มีศรัทธามาก่อน ก็บวชได้เช่นกัน
ไม่ใช่เลือกบวชเฉพาะผู้มีศรัทธา
องคุลีมารมหาโจร ไม่มีศรัทธาในพระศาสนามาก่อน บวชแล้วก็ทำพระนิพพานให้แจ้งได้ เป็นต้น

> การนำ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ที่กุลบุตรผู้ออกบวชมีจะสามารถนำมาใช้ได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นกับพระอุปัชฌาย์ คณะพระอาจารย์ ที่จะคอยเป็นกัลยาณมิตรให้ หลายท่านก็ได้เบิกมาใช้ คือ ได้ประสบการณ์ภายในจากการปฏิบัติธรรม ที่ตนเองได้วางทุกอย่าง ทิ้งทุกสิ่งออกบวช (แม้ช่วงสั้น) การปฏิบัติธรรม ขึ้นกับการวางใจได้ถูกส่วน ไม่ได้ขึ้นกับระยะเวลาในการบวช
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้เวลาหนึ่งคืน นั่งสมาธิจนสำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า)
> ดังตัวอย่าง ที่นาคได้บรรลุธรรมเบื้องต้น ขณะอยู่ในโบสถ์ หลายท่านบวชแล้ว แม้ช่วงสั้น ก็ได้ศึกษาพระปริยัติ มีนวโกวาท สำหรับพระบวชใหม่ เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น หลายท่านตั้งใจบวชวันเดียว แต่เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา บวชต่อกระทั่งได้เป็นมหาเปรียญ ก็มีให้เห็น บางท่านตั้งใจบวชไม่ถึงเดือน ลางานมาบวช แต่บวชแล้วเกิดกุศลศรัทธาในครูบาอาจารย์ บวชอยู่ถึงปัจจุบัน เป็นมหาเถระแล้วก็มี


ที่มา: https://goo.gl/s6HoZn
> แม้ในสมัยพุทธกาล กุลบุตรที่เข้ามาบวชก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังเช่น พระสาวกในครั้งพุทธกาลรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระรัฏฐปาละ ท่านเป็นลูกเศรษฐี แต่ก็ได้สละทรัพยสมบัติออกบวชปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง วันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินของแคว้นนั้น พระนามว่าพระเจ้าโกรัพยะ ได้ถามท่านว่า ท่านบวชทำไม? เพราะคนโดยมากนั้น บวชกันเพราะเหตุว่า มีความเสื่อมเพราะชราบ้าง มีความเสื่อมเพราะความป่วยไข้บ้าง มีความเสื่อมเพราะทรัพยสมบัติบ้าง มีความเสื่อมญาติบ้าง แต่ว่าท่านรัฏฐปาละเป็นผู้ที่ยังไม่มีความเสื่อมใดๆ ดังกล่าวนั้น ไฉนท่านจึงออกบวช ท่านก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัส ธัมมุเทส ไว้ ๔ ข้อ คือ
     - โลกอันชราย่อมนำเข้าไป ไม่ยั่งยืน
     - โลกไม่มีอะไรต้านทานจากความเจ็บป่วย ไม่เป็นใหญ่
     - โลกไม่ใช่ของ ๆ ตน เพราะทุก ๆ คนจำต้องละสิ่งทั้งปวงไป ด้วยอำนาจของความตาย และ
     - โลกพร่องอยู่ ไม่มีอิ่ม เป็นทาสของตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก
     ท่านได้ปรารภธัมมุเทส คือการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ ประการนี้ จึงได้ออกบวช
> แต่ว่าการบวชนั้น ก็มิได้มีผู้มุ่งผลอย่างสูงดังกล่าวนี้เสมอไป ดังในมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์ได้ถาม พระนาคเสน ว่า ประโยชน์สูงสุดของการบวชคืออะไร ? พระนาคเสนท่านก็ตอบว่า ประโยชน์สูงสุดของการบวชนั้น คือพระนิพพาน คือความดับ เพราะไม่ยึดมั่นอะไรๆ ทั้งหมด แต่คนก็มิใช่บวชเพื่อประโยชน์นี้ทั้งหมด บางคนบวชเพราะหลีกหนีราชภัยบ้าง หนีโจรภัยบ้าง ปฏิบัติตามพระราชประสงค์หรือความประสงค์ของผู้มีอำนาจบ้าง ต้องการจะพ้นหนี้สินบ้าง ต้องการความเป็นใหญ่บ้าง ต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบายบ้าง เพราะกลัวภัยต่าง ๆ บ้าง   
     
> พระนาคเสนตอบพระเจ้ามิลินท์ ดังนี้

     อย่างที่ ๑ เรียกว่า บวชได้กิ่งใบของพรหมจรรย์ คือบวชแล้วก็มุ่งแต่จะได้ลาภ ได้สักการะ ได้สรรเสริญ เมื่อได้ก็พอใจเพียงเท่านั้น
     อย่างที่ ๒ เรียกว่า บวชได้กะเทาะเปลือกของพรหมจรรย์ คือก็ไม่ได้มุ่งจะได้ลาภสักการะและสรรเสริญทีเดียว แต่ก็ปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วย และก็พอใจเพียงว่า จะปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เท่านั้น
     อย่างที่ ๓ เรียกว่า บวชได้เปลือกของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้แล้ว ก็ปฏิบัติในสมาธิให้บริบูรณ์ด้วย และก็พอใจเพียงสมาธิเท่านั้น
       อย่างที่ ๔ เรียกว่า บวชได้กระพี้ของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ให้บริบูรณ์แล้ว ก็ปฏิบัติต่อไปจนเกิดญาณทัสสนะคือความรู้ความเห็นธรรมะขึ้นด้วย และก็พอใจเพียงที่รู้ที่เห็นเท่านั้น
     อย่างที่ ๕ เรียกว่า บวชได้แก่นของพรหมจรรย์ คือว่าได้ปฏิบัติสืบขึ้นไปจนได้วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์บางส่วนหรือสิ้นเชิง ตามสามารถของการปฏิบัติ
       อย่างที่ ๕ นี้ จึงจะชื่อว่าได้บรรลุแก่นของการบวช หรือว่าบวชได้แก่นของพรหมจรรย์
     สรุป ต้องให้ผู้ชายแมนๆ เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนามากๆ ไม่ว่าเดิมจะมีศรัทธาหรือยังไม่มีศรัทธา
(ยังไม่มีศรัทธา บวชแล้ว ก็ช่วยกันให้ท่านมีศรัทธา เหมือนเดิมเราก็อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ต่อมาก็อ่านออก เขียนได้) ไม่ใช่รอให้พร้อม รอให้ศรัทธาก่อนถึงมาบวช ความพร้อมไม่มีในโลก ถ้าจะรอพร้อม ให้มีศรัทธา อาจตายก่อน!!!!!

ที่มา: https://goo.gl/s6HoZn

ลักษณะและวิธีการบวช นับเป็น "กระบวนการคัดกรอง" ผู้ที่จะบวชเป็นภิกษุที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
     การบวชในระยะแรกๆ นั้น พระองค์จะเป็นผู้ประทานการอุปสมบทให้สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระธรรมคำสอนเผยแผ่ออกไปไกล มีผู้จิตศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้นและมาขอบวชเป็นจำนวนมากซึ่งพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นถึงความยุ่งยากที่เกิดขึ้น จึงทรงอนุญาตให้เหล่าพระสงฆ์สาวกเป็นผู้ทำการอุปสมบทให้ได้โดยตรง ทรงมอบหน้าที่การอุปสมบทให้เหล่าพระสงฆ์เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งมีการตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ เช่น อายุครบหรือไม่ มีโรคประจำตัวร้ายแรงหรือไม่  มีหนี้สินติดตัวหรือไม่ มารดาบิดาอนุญาตหรือไม่ เป็นต้น
     ความจริงการบวชนั้นใน "สามัญญผลสูตร" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัสสอนว่า แรงจูงใจในการบวช ของกุลบุตร เกิดจาก
๑. มีศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. มีปัญญาตรองเห็นโทษภัยในชีวิตฆราวาสว่า ทั้งคับแคบ และเป็นที่มาของกิเลส
๓. มีปัญญาตรองเห็นคุณของชีวิตนักบวชว่า มีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ได้เต็มที่
ซึ่ง แรงจูงใจในการบวชดังกล่าว จะส่งผลให้มีเป้าหมายการบวช ดังนี้
ที่มา: https://goo.gl/s6HoZn
> บวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง 
     ผู้บวช ได้กล่าวปฏิญาณตน ได้ปฏิญาณกันต่อหน้าพระประธาน ต่อหน้าพระอุปัชฌาย์ และต่อหน้าคณะสงฆ์ทั้ง ๒๐ รูป ว่า
“สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ , นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ อิมัง กาสาวัง คะเหตวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต ” 
แปลว่า “ ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ผู้เจริญ ขอท่านจงรับเอาผ้ากาสวะแล้วบวชให้ข้าพเจ้าด้วยเถิดเพื่อข้าพเจ้าจะได้ประพฤติปฏิบัติกำจัดทุกข์ทั้งปวงให้สิ้นไป และกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ”
ถือว่าเป็นการคัดกรองแล้วในระดับหนึ่ง

> ในการอุปสมบท ภิกษุจะถามอันตรายิกธรรมกับผู้มุ่งจะบวช เมื่อทราบว่าไม่มีอันตรายิกธรรมดังกล่าว จึงจะอุปสมบทได้
ชายผู้จะบวชเป็นพระภิกษุต้องปราศจากอันตรายิกธรรม ๑๓ ข้อ ได้แก่
(๑)โรคเรื้อน (๒) ฝี (๓) โรคกลาก (๔)โรคมองคร่อ (๕) ลมบ้าหมู (๖)ไม่ใช่มนุษย์ (๗)ไม่ใช่ชาย
(๘) ไม่เป็นไท (๙) หนี้สิน (๑๐) เป็นราชภัฏ 
(๑๑) มารดาบิดาไม่อนุญาต (๑๒) มีปีไม่ครบ ๒๐ 
(๑๓) บาตรจีวรไม่ครบ
เป็นการคัดกรอง อีกขั้นตอนหนึ่ง


ที่มา: https://goo.gl/s6HoZn
> ช่วงที่พระคู่สวด คือ พระกรรมวาจาจารย์ และ พระอนุสาวนาจารย์ สวดญัตติ ทั้ง ๓ รอบ
     วิธีการอุปสมบทที่พระสงฆ์จะต้องร่วมกันให้การอุปสมบทด้วยวิธีสวดกรรมนั้น ๔ จบ คือ 
ครั้งแรกสวดญัตติ คือ ประกาศกรรมนั้นให้สงฆ์ทราบเพื่อร่วมกันทำกิจนั้น (หรือคำเผดียงสงฆ์) ๑ จบ 
ส่วนครั้งที่สองก็สวดอนุสาวนา (ขอมติ) อีก ๓ จบ คือสวดประกาศขอปรึกษาหารือและข้อตกลงกับสงฆ์ในที่ ประชุมนั้น (ว่าจะรับผู้นั้นเข้าเป็นพระภิกษุหรือไม่) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำขอมติสงฆ์ 
     บุคคลที่จะบวชได้คณะสงฆ์ทุกรูปจะต้องยอมรับ คือนิ่งเงียบไม่ทักท้วง ตลอดการสวดญัตติ และอนุสาวนา ๓ ครั้ง จึงจะถูกต้องเป็นการบวชโดยที่ประชุมสงฆ์ยอมรับ
ก็เป็นการคัดกรองอีกขั้นตอนหนึ่ง

> พอจบพิธีการบวช
     พระอุปัชฌาย์ ท่านจะให้อนุศาสน์ กล่าวคือ บอกสอนกันเลย ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกจากโบสถ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ และ ข้อห้าม ของพระภิกษุ ซึ่งเป็นการสอนเรื่องพระธรรมวินัยและเป็นข้อปฏิบัติตนในการดำรงตนเป็นพระภิกษุ
     พระอุปัชฌาย์จะต้องบอกอนุศาสน์ ๘ อย่าง คือนิสสัย ๔ และอกรณียกิจ ๔ 
ซึ่ง นิสสัย ๔ หรือปัจจัยเป็นเครื่องอาศัยที่จำเป็นสำหรับผู้บวช คือ
(๑) บิณฑบาตเป็นวัตร คือกิจที่จะต้องบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์และแสวงหาอาหาร
(๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ปัจจุบันคือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลจีวรโดยปริมณฑล คือ เรียบร้อย
(๓) อยู่โคนต้นไม้ คือ เป็นผู้ออกจากเรือนไม่มีเรือนอยู่ จึงอยู่ป่าอาศัยโคนต้นไม้
(๔) ใช้ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือเป็นผู้สละเรือนแม้เจ็บไข้อาพาธต้องใช้สมุนไพรเป็นยา หรือหมักดองสมุนไพรเพื่อรักษาตนเอง
ส่วนอกรณียกิจ ๔ หรือ กิจที่พระภิกษุสงฆ์ไม่พึงกระทำ คือ
(๑) ปาณาติบาต คือ การฆ่าสัตว์ หรือทำชีวิตของสัตว์อื่นให้ลำบากหรือล่วงไป
(๒) ลักทรัพย์ คือ การลักขโมย หรือถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
(๓) การเสพเมถุนธรรม
(๔) การอวดอุตริมนุษย์ธรรม คือ อวดคุณวิเศษอันไม่มีในตน
✨✨แค่จบพิธีกรรม การบวช ก็ถือว่า พระอุปัชฌาย์ ได้ทำตามพระธรรมวินัย แล้วจะกล่าวหาว่า บวชระยะสั้น บวชตามประเพณี ฯลฯ เป็นการบวชแบบไม่มีการศึกษาพระธรรมวินัยไม่ได้
     การบวชนั้น เมื่อจบพิธีกรรมสงฆ์แล้ว ก็ถือว่า เป็นพระภิกษุที่สมบูรณ์ เหมือนพระภิกษุรูปอื่นๆ แต่จากนี้ไปใครจะไปศึกษากับพระอาจารย์รูปใด ก็ตามศรัทธา เพื่อศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา ผลที่จะได้รับจากการบวชก็ตามแต่ว่า ใครประพฤติปฏิบัติอย่างไร?
@ เข้มงวด กวดขัน ตนเองแค่ไหน?
@ มีความเพียร อย่างถูกหลักวิชชา อย่างสม่ำเสมอ?


ที่มา: https://goo.gl/s6HoZn
      พระภิกษุเมื่อก้าวเข้ามาสู่พระธรรมวินัยนี้ เหมือนก้าวลงมาในสระน้ำใหญ่ ใครชำระล้างสิ่งสกปรกในกาย วาจา ใจ ของตนเองได้มากแค่ไหน ก็จะสะอาดมากเท่านั้น แต่ใครที่เข้ามาในสระ (พระธรรมวินัย) แล้วไม่หมั่นทำความสะอาดตน ก็สะอาดไปตามยถากรรม
     การบวชนั้น ก่อนบวช ก็ศรัทธา ระดับหนึ่ง แต่พอเข้ามาทำกิจสงฆ์ เข้าหมู่สงฆ์ ความศรัทธาจะเพิ่มขึ้น จากการหล่อหลอม ด้วยกิจวัตร และกิจกรรมของสงฆ์ สงฆ์จะคัดกรอง โดยอัติโนมัติ คือศีล และ ทิฏฐิ
     
     ดังนั้น ผู้ชายทุกคน ต้องบวช ถ้าไม่บวช ก็เสียชาติเกิดมาเป็นผู้ชาย ถ้าบวชแล้ว ไม่ตั้งใจปฏิบัติธรรม เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ก็ไม่บรรลุเป้าหมายของการบวช แต่ก็ยังเป็นอุปนิสัยข้ามชาติในการฝึกฝนตนเอง ต่อไป


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
- https://th.wikipedia.org/wiki/ (https://goo.gl/Z5ZJW7)
- https://goo.gl/3DeX72
- https://www.dailynews.co.th/article/583630
- http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=608&articlegroup_id=121
- https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=13651



2 ความคิดเห็น:

เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 9):การบวชที่ถูกต้องได้บุญมากกว่าได้บาปทำอย่างไร? ทั้งฝ่ายเจ้าภาพและฝ่ายผู้บวช

05:03 Mali_Smile1978 0 Comments

ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9
ถาม: ประเพณีการบวช นาคที่ไปขอขมาลาพ่อแม่ผู้ใหญ่ จะต้องกราบไหว้กี่ครั้งจึงจะถูกต้อง และพิธีการบวชที่ทำถูกต้องได้บุญมากกว่าได้บาปนั้นมีวิธีการอย่างไร (เริ่มตั้งแต่การโกนผมและการเตรียมของบวชเรื่อยไปจนกระทั่งเข้าโบสถ์)

ตอบ: ข้อปฏิบัติในการขอขมาของนาคก็พึงทำเหมือนอย่างที่กล่าวแล้วในข้อต้น คือพ่อแม่กราบ ๓ ครั้ง หรือผู้ใหญ่ที่เคารพอย่างสูงก็กราบ ๓ ครั้ง โดยยกย่องท่านเหล่านั้นเสมอพระ

     ส่วนคำถามที่ว่า การบวชที่ถูกต้องได้บุญมากกว่าได้บาปทำอย่างไรนั้น ต้องชี้แจงกันมาก เพราะเป็นเรื่องเพื่อการปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงเพื่อรู้อย่างเดียว
     ก่อนอื่นต้องเข้าใจเสียก่อนว่าผู้ได้รับบุญนั้น คือใคร???
     ตามปกติการบวชมีผู้ได้รับบุญ ๒ ฝ่าย คือฝ่ายผู้ให้บวช ซึ่งได้แก่ 
     - บิดามารดาและวงศาคณาญาติ 
     - และฝ่ายผู้บวชเอง

     ดังนั้นจึงจะเริ่มแต่ผู้ให้บวชหรือที่นิยมเรียกกันว่า “เจ้าภาพ” ไปก่อน ตามปกติเจ้าภาพบวชพระก็เป็นบิดามารดาของนาคเสียโดยมาก จะมีญาติหรือบุคคลอื่นบ้างก็เป็นส่วนน้อย แต่วิธีการปฏิบัติก็เหมือนกัน เมื่อหวังทำบุญก็ควรจะทำให้เป็นบุญ ทำให้ถูกบุญ บุญคือการชำระกาย วาจา และใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ให้หมดจดจากกิเลสเครื่องที่จะทำใจให้เศร้าหมอง 
     โดยเฉพาะการบวชนาค เจ้าภาพมักจะทำบุญด้วยการบริจาคทานเป็นพื้น คือ เสียสละทรัพย์สมบัติเป็นค่าเครื่องอัฐบริขารบ้าง เครื่องไทยธรรมบ้าง ภัตตาหารบ้าง การเสียสละทรัพย์สมบัติ ถือเป็นค่ากำจัดโลภะความเห็นแก่ตัวและความตระหนี่ให้หมดไปจากจิตใจ
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9
ฝ่ายเจ้าภาพการทำบุญที่จะได้บุญนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้

(๑) ก่อนทำบุญทุกครั้งต้องเต็มใจที่จะทำ มีใจเบิกบานที่จะเสียสละ ขณะทำก็ตั้งใจทำ รักษาศรัทธาให้มั่นคงเข้าไว้ ทำด้วยใจที่แช่มชื่นเบิกบาน ทำเสร็จแล้วก็ไม่เสียดายในภายหลัง รักษาความอิ่มใจไว้เสมอ และเมื่อทำบุญต้องทำตามกำลังของตัวเอง ทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย อย่าให้เกินกำลังของตัว เพราะหากเกินกำลังอาจต้องพึ่งพาผู้อื่น ทำให้เดือดร้อนภายหลังมีเท่าไรทำเท่านั้น พอเหมาะพอดี
(๒) การจัดงาน ควรหนักไปในทางเรื่องการบุญการกุศลให้มาก คือเสียทรัพย์ไปแล้วควรเป็นบุญทุกบาททุกสตางค์ได้ยิ่งดี สิ่งใดไม่จำเป็นควรงดเสีย อย่าทำ หรือถ้าจะทำก็ทำแต่น้อย เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อ เลี้ยงเหล้ายาปลาปิ้งกัน การมีมหรสพ การมีดนตรีบรรเลงทั้งขณะที่อยู่บ้านและแห่แหนไปวัดเป็นเอิกเกริกโกลาหล เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นเลย มีเพื่อความสนุกสนานกันชั่วครั้ง เอิกเกริกเฮฮากันชั่วคราวเท่านั้น แม้ไม่มีก็บวชเป็นพระได้
     บางงานชอบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ บวชนาคแต่ละทีจัดเสียใหญ่โตหมดเงินเป็นหมื่นเป็นแสน แต่พอบวกลบคูณหารแล้วเป็นบุญน้อยกว่าเป็นบาป จ่ายในสิ่งไม่เป็นเรื่องมากกว่า ทั้งที่การบวชนั้นใช้เงินเพียง ๒,๐๐๐ บาท ก็บวชได้อย่างสบายแล้ว แต่โดยมากเรามาเปลืองในสิ่งที่มอมเมามากกว่า น่าเสียดายเงินทองมาก แม้จะอยู่ในฐานะที่จะทำได้ก็ตาม แต่ควรนำไปทำอย่างอื่นดีกว่า หากจะเสียสละกันจริงๆ นอกเสียจากว่าทำไปไม่หวังบุญแต่หวังชื่อเสียง หวังความเด่นดัง และหวังเอาหน้าเอาตาเท่านั้น ถ้าหวังอย่างนั้นก็คงได้สมประสงค์แน่
     แต่ก็ยังเสียดายเงินทองอยู่ดี เพราะบางงานแทนที่จะได้หน้ากลับเสียหน้าถูกด่าเปิงไปก็มี เพราะเกิดเมากันจนอิ่ม ฆ่ากันตายกลางงานเลย 
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9
(๓) สิ่งของที่จะถวายพระสงฆ์ ทั้งอุปัชฌาย์ คู่สวด และพระอันดับก็ควรดูพอเหมาะพอควร ให้ท่านใช้ได้ ให้ควรแก่สมณะ ไม่ควรถวายสิ่งของที่ท่านมีฟุ่มเฟือยอยู่แล้ว อย่าถวายสิ่งของที่ท่านวายของไม่ได้ใช้ หรือถวายของที่จะทำให้ท่านนำไปบำเรอความสุขของท่าน
     ไม่ใช่ห้ามถวายหรอก ให้ถวายได้ แต่ถ้าไม่รู้จักถวาย แทนที่จะเป็นบุญกลับจะเป็นบาปไปเสียอีกน่ะนา เพราะเคยเห็นบางวัด อุปัชฌาย์ท่านรับมาแล้วก็นำมาเก็บไว้ที่กุฏิ ใช้ก็ไม่ได้ใช้ บางอย่างก็ใช้ไม่ได้ จะทิ้งเสียก็เสียดายของ เกรงเจ้าของเขาจะว่าเอา จะให้คนอื่นเอาไปบวชต่อก็ไม่มีใครมาขอ เลยต้องเก็บไว้รกกุฏิ แถมเป็นเชื้อไฟอย่างดีทีเดียว 
(๔) เวลาทำอย่าให้คนอื่นเดือดร้อน อย่าให้ตัวเองเดือดร้อน ต้องไม่มีการบังคับให้ทำ ให้เขาร่วมทำด้วยความเต็มใจและกำลังศรัทธา
(๕) ต้องทำด้วยมีเหตุผล อย่าทำเพื่อเอาหน้าหรือประกาศความยิ่งใหญ่ของตน ต้องเห็นด้วยปัญญาว่า เมื่อทำอย่างนี้ไปแล้วจะเป็นบุญกุศลเป็นประโยชน์แก่ตนและบุคคลอื่น
(๖) ต้องทำบุญเพื่อเป็นบุญเพื่อความดี เพื่อความสุขใจ สบายใจ ส่วนผลอื่นๆ เป็นประโยชน์พลอยได้
นี่ว่าถึงหลักการทำบุญทั่วๆ ไป และใช้ได้ทุกงาน ไม่เฉพาะแต่งานบวชเท่านั้น


ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9
สำหรับฝ่ายผู้บวชนั้นก็ต้องทำตัวทำใจให้เป็นบุญด้วย โดยปฏิบัติ ดังนี้

(๑) เมื่อถูกนำตัวไปฝากวัดแล้ว ควรทำตัวให้เป็น “นาค” คือเป็นผู้ประเสริฐ สิ่งใดที่เป็นความชั่วความผิดที่เคยปฏิบัติเคยทำมาก่อน ควรงดเว้นให้เด็ดขาด เพื่อฝึกหัดความอดทนความอดกลั้นต่ออารมณ์ฝ่ายต่ำ ต่อไปตอนเป็นพระจะได้ไม่ฝืนใจมากนัก
(๒) เวลาเป็นนาค ควรท่องบ่นคำขานนาค คำพระต่างๆ ที่จำเป็นบทสวดทำวัตรเช้า-เย็นให้ได้ เพราะเวลาเข้าโบสถ์จะได้ว่าได้คล่องแคล่ว หากท่องไม่ได้ก็ต้องสอนกันแล้ว ความสำคัญของการบวชจะลดน้อยลงไป ทั้งแสดงว่าผู้บวชมิได้ใส่ใจเรื่องนี้
(๓) ตอนเข้าไปหาอุปัชฌาย์ควรทำด้วยความเต็มใจ อย่าทำเป็นเล่นเพราะกำลังอยู่ท่ามกลางสงฆ์ อยู่ต่อหน้าพระปฏิมาอันศักดิ์สิทธิ์ในอุโบสถเท่ากับอยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า หากทำเป็นเล่นไม่จริงจัง จะมองดูไม่เหมาะสม
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9
(๔) เมื่อบวชแล้วควรลืมภาวะฆราวาสให้หมด มีสติอยู่เสมอว่าตัวเป็นพระ ควรทำกิจของพระให้สมบูรณ์ ทำหน้าที่พระให้ถูกต้อง รักษามารยาททางกาย วาจาให้สมกับเป็นพระ ให้น่าเคารพกราบไหว้ ให้สมกับเป็นปูชนียบุคคลของคนทั่วไป

(๕) ในขณะเป็นพระอยู่ควรหาโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามสติปัญญา หาตำราทางศาสนามาอ่านบ้าง หรือเข้าหาครูอาจารย์ให้ท่านแนะนำ ให้ท่านโอวาทสั่งสอนตามเวลา ตามสมควร เพราะสิ่งที่ได้มาตอนนี้แหละจะติดตามตนไปได้แม้จะลาเพศไปแล้ว ความเป็นพระติดตัวไปไม่ได้นาน นอกเสียจากจะเกิดความเคยชิน และมีความรู้ทางพระอย่างถูกต้องถ่องแท้เท่านั้น
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9
(๖) อย่าก่อมลทินก่อความเสียหายจนเสียชื่อเสียงให้เกิดขึ้นในวัดในศาสนาด้วยการปฏิบัติตนนอกทางนอกธรรมวินัย เพราะวัดหากเสียไปแล้วเดินหนีไม่ได้ ต้องรับสภาพเสียหายอยู่ตลอดไป ส่วนคนทำเสียหายอยู่ตลอดไป ส่วนคนทำเสียนั้นหนีไปไหน ต่อไปไหนแล้วก็ไม่รู้

ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ก็พอจะเป็นบุญได้กระมัง


ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร: กรกฎาคม, ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๕๖ – ๖๐. 

0 ความคิดเห็น: