คุณติดหนึบอยู่กับสมาร์ทโฟนของคุณหรือไม่? แล้วทำอย่างไรเราถึงจะเอาชนะการเสพติดสมาร์ทโฟนไปได้?

03:48 Mali_Smile1978 0 Comments




     คุณติดหนึบอยู่กับสมาร์ทโฟนของคุณหรือไม่? แล้วทำอย่างไรเราถึงจะเอาชนะการเสพติดสมาร์ทโฟนไปได้? 

     โฮเทลส์ ดอทคอม เผยคนไทยติดมือถืออันดับ 1 จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจาก 28 ประเทศ ที่พกมือถือตลอดเวลาแม้แต่ไปพักร้อน คนไทย โดย 6 ใน 10 ใช้เวลาไปกับการเช็กอีเมล์บนมือถือ และ 100% ใช้เพื่อเชื่อมต่อกับโลกโซเชียล

     ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร ของ โฮเทลส์ ดอทคอม ที่สำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างเวลาเดินทางท่องเที่ยว ในวันหยุดพักผ่อน โดยสำรวจนักท่องเที่ยวจาก 28 ประเทศทั่วโลก เผยคนเอเชียติดโทรศัพท์มือถือมากกว่าชาติอื่นๆ ในรายงานระบุว่า คนไทยเป็นชาติอันดับ 1 ที่ไม่ต้องการอยู่ห่างจากมือถือแม้ในเวลาท่องเที่ยวในวันหยุดพักผ่อน (ข้อมูลเมื่อปี 2558 อ่านเพิ่มเติมที่ http://nannch.blogspot.com/2015/09/1.html)


มันไม่ใช่สิ่งที่เทคโนโลยีทำต่อเรา แต่มันอยู่ที่สิ่งที่เราทำต่อเทคโนโลยี การใช้อย่างมืออาชีพ มันสามารถพัฒนา ส่งเสริมต่อความก้าวหน้าของชีวิต และจินตนาการที่กว้างไกลที่สุด แต่การใช้เทคโนโลยีอย่างไม่มืออาชีพ มันสามารถดึงเราให้รู้สึกโดดเดี่ยวลำพัง ตื่นเต้น หรือหวาดกลัว จงเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และใช้มันให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวคุณเองและคนรอบตัว” แอนดี้ พุดดีคัมม์ (Andy Puddicombe)

ที่มาภาพ: https://goo.gl/xq1Qsw

     ผมชอบที่จะได้รับการแจ้งเตือนครั้งหรือสองครั้ง การได้รับสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จากโลกของโทรศัพท์ช่วยให้ผมรู้สึกดีขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะการแจ้งเตือนมาจากบุคคลสำคัญสำหรับผมและการเปิดดูผ่านแอปพลิเคชั่นก็ดึงดูดผมอยู่เสมอ

แต่ผมได้ตระหนักแล้วว่า สมาร์ทโฟนทำให้ผมไขว้เขว้อย่างมาก

เวลาหลายวันที่ผมไม่สามารถหยุดยั้งตัวเองได้จากการติดหนึบที่หน้าจอโทรศัพท์

ผมเคยมีประสบการณ์หลายวันที่ปลดล็อกโทรศัพท์อย่างต่อเนื่องเกินกว่าที่จะสามารถนับได้ และมีอีกหลายต่อหลายวันที่ผมทำมันทั้งสองอย่าง

ผมรู้สึกได้ถึงประสบการณ์ในการมีโทรศัพท์มือถือในหัวของผมซึ่งติดแน่นอยู่กับการแจ้งเตือน ระฆังและนกหวีดซึ่งอาจมาจากเครื่องโทรศัพท์ของผมเอง

บางครั้งกำลังเดินบนถนน แต่จริงๆ แล้วเราอยู่ในสองสถานที่ในเวลาเดียวกันแทนที่จะอยู่กับโลกรอบตัวเรา

ที่มาภาพ: https://goo.gl/xq1Qsw

ทำไมเราจึงติดหนึบอยู่กับโทรศัพท์ของเรา?

     ทุกคนรู้ว่าที่เราชอบจะเช็คโทรศัพท์บ่อยๆ ไม่มีเหตุผลใดนอกเหนือจากความเบื่อ ความเหงาหรือความวิตกกังวล ซึ่งจากการศึกษา โดยเฉลี่ยคนปลดล็อกโทรศัพท์ของพวกเขาอย่างเหลือเชื่อ 80 ถึง 100 ครั้งต่อวัน

     ดังนั้น จึงชัดเจนว่าเราไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนอย่างตั้งใจหรือมีวัตถุประสงค์ชัดเจน แต่เรามองหาโทรศัพท์เพื่อความสะดวกสบายเมื่อเรารู้สึกขาดหรือรู้สึกไม่สบายใจ เราคิดถึงการสนทนาและการแลกเปลี่ยนที่เราเคยมีหรือยังมีอยู่ในสมาร์ทโฟน บางทีเราอาจต้องการการหลบเหลี่ยงเล็กน้อยจากกิจวัตรประจำวันอันน่าเบื่อ แต่การหลบหลีกเหล่านั้น นับว่าได้ละทิ้งความตั้งใจของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของเรา

การละทิ้งความตั้งใจของตัวเองไปอย่างไร้สติ วันแล้ววันเล่า เราจึงไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความหมายและคุณค่า

     ก่อนที่ผมจะเอาชนะการเสพติดสมาร์ทโฟน ผมเคยพิมพ์คำว่า “f” เพื่อหาเฟสบุ๊ค กดค้นหาอยู่หลายรอบจนนับจำนวนครั้งไม่ได้ มีอีกหลายวันที่ผมเคยเช็คข้อความเข้าใน gmail มากกว่ายี่สิบครั้ง แม้หลังจากถอนการติดตั้งแอปที่เกี่ยวข้องแล้วก็ไม่สามารถช่วยผมได้ ผมยังไปค้นหาต่อจากเวบไซต์บนมือถือ

     ผมเสพติดมันแล้ว พยายามที่จะขีดข่วนไปมาบนหน้าจอ ค้นหาการแจ้งเตือนเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกถึงการเชื่อมต่อ คุณอาจจะเข้าใจถึงความรู้สึกนั้น ผมกลายเป็นคนที่แนบติดกับ "เช็คนิดหน่อย" แต่หลายๆ ครั้ง

     ส่วนหนึ่งนั้น ผมอยากจะเห็นป๊อปใหม่เข้ามาชีวิต ผมตระหนักว่าพฤติกรรมแบบนี้ได้ค่อยๆ กลายมาเป็นบรรทัดฐานมากกว่าที่จะเป็นข้อยกเว้น แต่นับว่าพฤติกรรมนี้ไกลจากความมีสติยิ่งนัก 

ที่มาภาพ: https://goo.gl/xq1Qsw

มูลค่าจิตใจแห่งการเช็คโทรศัพท์อย่างต่อเนื่องของคุณ


     การเช็คโทรศัพท์ได้พัฒนาแนวทางที่ผมรู้สึกใช่ไหม? ใช่บางทีแต่เล็กน้อย จุดหนึ่งที่ชัดเจน มันเป็นเพียงภาพลวงตาของความรู้สึกที่ดีเท่านั้น ในขณะความเป็นจริง คือมันจบไปแล้วตั้งแต่ที่มันทำให้ผมรู้สึกไม่จดจ่อและไม่มีความพอใจ

     การเช็คโทรศัพท์หลายๆ ครั้งในแต่ละวันทำให้สมองของผมล้ามาก มันทำให้ผมตัดขาดจากตัวเอง ในขณะที่มันก็ให้ความหวังกับสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวผมเอง บนหน้าจอสี่ถึงห้านิ้วแต่สามารถให้ความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมากกว่าได้

     ครั้งหนึ่งผมเคยตระหนักถึงปัญหานี้อย่างมากถึงขั้นปิดโทรศัพท์ไปสองวัน บางช่วงรู้สึกเหมือนเรากำลังขาดหายจากบางสิ่งบางอย่างไป แทนที่จะตอบรับต่อความต้องการขณะนั้น ผมกลับมานั่งพิจารณาว่า โทรศัพท์มันเป็นเพียงภาพลวงตา สิ่งนี้ดึงผมออกจากความเป็นผู้กำกับสติในแต่ละวันของผม เมื่อหลายชั่วโมงผ่านไป ทำให้ผมคลายจากเสียงรบกวน ผมเริ่มรู้สึกถึงความไม่เชื่อมต่อมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากหนึ่งวัน ผมรู้สึกห่างไกลยิ่งขึ้นที่จะเชื่อมต่อตัวเองและสิ่งอื่นๆ รอบตัว

     เรามีข้อสันนิษฐานนี้ว่า สมาร์ทโฟนสามารถพาเราไปในที่อื่นๆ ที่คอยกระตุ้นเราและทำให้ตื่นเต้นมากขึ้น โทรศัพท์เปรียบเทียบเป็นเหมือนกับบุหรี่สำหรับสายตา และเป็นน้ำตาลสำหรับความอยากของเราและเราก็ไม่รู้สึกพอได้

     แต่ยิ่งเราเช็คโทรศัพท์บ่อยครั้งมากขึ้นๆ เรายิ่งสูญเสียความสงบแห่งจิตใจและตัดการเชื่อมต่อจากตัวตนที่แท้จริงของเราเอง

ทำไมการตัดขาดจากโทรศัพท์ของคุณไปเลยจึงไม่ใช่คำตอบ?

     ผมได้ตระหนักว่าต้องหาวิธีการสักอย่างเพื่อที่จะเลิกเสพติดโทรศัพท์ ดังนั้นผมจึงเลือกวิธีลัด จึงกลับไปใช้โทรศัพท์รุ่นมาตรฐานที่ไม่มีแอพใดๆ เลยในเครื่อง หลังจากหลายเดือนผ่านไป ทั้งๆ ที่ผลประโยชน์อันยอดเยี่ยมจะเกิดขึ้น ผมกลับพลาดไปหลายอย่าง เช่น ไม่สามารถใช้ กูเกิล แม็ป, ใช้บริการรถอูเบอร์, การถ่ายภาพ, หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ จากรอบโลกด้วยการส่งข้อความ, ผมพลาดที่จะได้ฟังเพลง ฟังหนังสือเสียง และรายการวิทยุ

     ผมไม่ใช่กำลังโต้แย้งบางคนที่จะไม่ใช้โทรศัพท์อย่างถาวร แต่นี้เราอยู่ยุคดิจิตอล การไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับคนส่วนใหญ่ และเป็นการยับยั้งเราให้มีชีวิตชีวาในการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายด้วยประโยชน์มากมายของเทคโนโลยี

สมาร์ทโฟนจึงไม่ใช่ศัตรู แต่สิ่งที่จำเป็นต้องเปลี่ยน คือวิธีการที่เราจะใช้สมาร์ทโฟน

ที่มาภาพ: https://goo.gl/xq1Qsw

7 วิธีในการเลิกเสพติดสมาร์ทโฟนของคุณ

     สมาร์ทโฟนในถุงกระเป๋าหรืออยู่ไม่กี่เมตรจากมุมมองของคุณ มันไม่เพียงแค่อยู่ระหว่างคุณและความสงบของจิตใจ, ความจดจ่อ, และความตระหนักรู้มีสติ นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างคุณและทิศทางที่คุณไป

     เนื่องจากเวลาที่ใช้หมดไปบนหน้าจอมากขึ้น หมายถึงยิ่งทำให้คุณมีเวลาเหลือน้อยลงในการทำสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริงในชีวิต

     การทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ ผมสามารถลดเวลาตัวเองที่ใช้ไปกับสมาร์ทโฟนลงได้ครึ่งหนึ่งและยังเพิ่มความสงบของจิตใจและความสามารถในการทำงานของผมอย่างมาก

1. อย่าใช้โทรศัพท์ของคุณเป็นนาฬิกาปลุก

     หลายคนมักใช้โทรศัพท์เป็นสิ่งแรกในตอนเช้า การทำเช่นนั้นหมายความว่าเราเริ่มต้นวันใหม่ด้วยแผนการของคนอื่นแทนที่จะเป็นของเราเอง

2. ตั้งโทรศัพท์ในโหมดเครื่องบินทุกคืน ในเวลาเดียวกัน

     คุณจะหลีกเลี่ยงการนอนหลับที่ถูกขัดจังหวะและคุณจะถูกล่อลวงน้อยลงไม่ให้เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งแรกในตอนเช้าถ้าอยู่ในโหมดเครื่องบิน นั่นหมายถึงการพักผ่อนที่ดีขึ้นและช่วงเช้าที่เงียบสงบ
ที่มาภาพ: https://goo.gl/xq1Qsw


3. ปิดโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์

     หนึ่งวันของแต่ละสัปดาห์การปลดปล่อยตัวเองออกห่างจากโทรศัพท์นับว่า คุณได้ให้พรที่ดีงามเพื่อตัวเอง ทำให้ผมตระหนักว่าสมาร์ทโฟนเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้นและไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ผมต้องถือไว้ใช้งานตลอด 24/7 ช่วยให้ผมมีระยะห่างไกลระหว่างผมกับโทรศัพท์

4. ใช้แอปติดตามเวลาเพื่อดูจำนวนเวลาที่คุณใช้ในการดูสมาร์ทโฟนทุกสัปดาห์

     บนแอนดรอยด์ (Android) มีแอป TimeUsed ในเพลย์สโตร์ (Play Store) ส่วนบนไอโฟน ลองพิจารณาแอป Moment คุณจะเห็นได้ทันทีและง่ายขึ้นว่า สมาร์ทโฟนกินเวลาของคุณไปเท่าไหร่? คุณจะตระหนักชัดว่า การเช็คโทรศัพท์นิดหน่อยแต่ทำบ่อยๆ เหล่านั้น ใช้เวลาส่วนหนึ่งที่ดีในวันของคุณไป

5. ปิดใช้งานแอปที่คุณไม่ได้ใช้

     เก็บเฉพาะแอปโซเชียลมีเดียที่คุณชื่นชอบจริงๆ และกำจัดแอปส่วนที่เหลือ ตัวอย่างเช่น ผมไม่มี อินสตาแกรม (Instagram), ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือเฟสบุ๊ค (Facebook) ติดตั้งอยู่ในโทรศัพท์ของผม แต่ผมมี WhatsApp และ Snapchat. พิจารณาเองว่าแอปอะไรเหมาะกับคุณ

6. ปิดการใช้งานอีเมลในโทรศัพท์ของคุณ

     ถ้าคุณเสพติดอย่างหนัก ให้พิจารณาปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตเบราเซอร์เช่นกัน การเคลียร์แอปอีเมล์ออกจากเครื่องโทรศัพท์ ทำให้ผมรู้สึกเบาและผ่อนคลายขึ้น คุณสามารถใช้ PackageDisabler Pro บนแอนดรอยด์ เพื่อปิดใช้งานเบราว์เซอร์สต็อก มิฉะนั้นการถอนการติดตั้งเบราว์เซอร์ที่คุณชื่นชอบอาจยังทำงานได้

ที่มาภาพ: https://goo.gl/GR0V7u


7. โปรดจำไว้ว่า เมื่อคุณใช้สมาร์ทโฟนโดยคำนึงถึงเป้าหมายในใจก่อนที่คุณจะปลดล็อก จากนั้นคุณจะใช้มันด้วยเหตุผลที่เหมาะสม


     พยายามที่จะตระหนักรู้ว่า คุณเข้าถึงโทรศัพท์ของคุณโดยไม่จำเป็นแต่แค่รู้สึกสบายใจ หรือเพราะคุณมีความตั้งใจอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ การตระหนักรู้เช่นนี้จะเปลี่ยนแปลงคุณที่จะเช็คโทรศัพท์บ่อยๆ อย่างได้ผล

นึกภาพยนต์ที่ตัวละครหลักคอยเช็คสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา ตัวละครฟุ้งซ่านจะไม่ทำให้เป็นวีรบุรุษมากนัก

มีอะไรจะพูดว่า คุณไม่ใช่ตัวละครหลักในชีวิตของคุณ?

หยุดพฤติกรรมดังกล่าว 
และเริ่มใช้สมาร์ทโฟนเพื่อประโยชน์ของชีวิต



ขอบคุณข้อมูล:
- http://tinybuddha.com/blog/attached-to-smartphone-how-overcame-my-addiction/






0 ความคิดเห็น:

วิธีที่คุณคิดและทำ สามารถเปลี่ยนประสบการณ์ทางความเครียดของคุณได้อย่างไร?

06:46 Mali_Smile1978 0 Comments

     
นักจิตวิทยา เคลลี่ แมคกอนิกัล



         ความเครียด มันทำให้หัวใจคุณเต้นแรง ลมหายใจถี่ขึ้น และเหงื่อออกบนหน้าผาก แต่ขณะที่ความเครียดกลายเป็นศัตรูทางสุขภาพของคนส่วนใหญ่นั้น งานวิจัยชิ้นใหม่เสนอว่าความเครียดจะไม่ดีต่อคุณก็ต่อเมื่อคุณเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้นเท่านั้น นักจิตวิทยา เคลลี่ แมคกอนิกัล ชวนให้พวกเรามองความเครียดในด้านบวก และแนะนำเราให้รู้จักกับกลไกที่ไม่ได้รับการเอ่ยถึงมาก่อนสำหรับการลดความเครียด นั่นก็คือการเข้าหาผู้อื่น

     เคลลี่เป็นนักจิตวิทยา และภารกิจของเธอ คือการช่วยให้คนมีความสุขมากขึ้นและสุขภาพดีขึ้น

     แต่แล้วเธอก็กลัวว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมานั้น เมื่อพูดถึงความเครียดแล้วจะเป็นโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะหลายปีที่ผ่านมา เธอเฝ้าบอกผู้คนว่าความเครียด มันเพิ่มความเสี่ยงในทุกๆ ด้าน จากไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคหัวใจ

     โดยพื้นฐานเธอทำให้ความเครียดเป็นศัตรู แต่ปัจจุบันเธอได้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับความเครียดแล้ว และวันนี้เธออยากจะเปลี่ยนความคิดของคนอื่นด้วย


งานวิจัยที่ทำให้เคลลี่ต้องคิดใหม่เกี่ยวกับวิธีการมองความเครียดของเธอ

     งานศึกษาชื้นนี้ติดตามผู้ใหญ่จำนวน 30,000 คนในสหรัฐฯ เป็นเวลา 8 ปี และพวกเขาเริ่มถามผู้คนว่า 
...คุณมีความเครียดมากแค่ไหนปีที่ผ่านมา? 
พวกเขาถามด้วยว่า
...คุณเชื่อหรือเปล่า ความเครียดเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ 
แล้วพวกเขาก็ดูที่สถิติการตายของรัฐ เพื่อดูว่าใครบ้างที่ตายแล้ว


เคลลี่นำเสนอเริ่มที่ข่าวร้ายก่อน 
     - คนที่มีความเครียดมากๆ ในช่วงปีก่อนหน้า มีความเสี่ยง 43 % ที่จะเสียชีวิต แต่นั่นเป็นจริงเฉพาะคนที่เชื่อว่าความเครียดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเขา

     - คนที่เจอความเครียดมากๆ แต่ไม่ได้มองว่าความเครียดอันตราย มีความเป็นไปได้น้อยกว่าที่จะตาย ที่จริงแล้ว พวกเขามีความเสี่ยงในการตายน้อยที่สุดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ในงานวิจัย ซึ่งรวมถึงกลุ่มคนที่มีความเครียดน้อยด้วย

     - นักวิจัยประมาณการว่า ในช่วง 8 ปีที่พวกเราติดตามตัวเลขการเสียชีวิต คนอเมริกัน 182,000 คน ตายก่อนวัยอันควร ไม่ใช่เพราะความเครียด แต่เป็นเพราะเชื่อว่าความเครียดนั้นไม่ดีกับตัวเขา  

     คุณจะเห็นได้ว่าทำไมงานวิจัยชิ้นนี้ถึงทำให้เคลลี่เปลี่ยนไป เธอใช้พลังงานมากมายในการบอกผู้คนว่า ความเครียดนั้นแย่สำหรับสุขภาพของคุณ
     งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เคลลี่เกิดข้อสงสัย การเปลี่ยนความคิดที่คุณมีต่อความเครียดจะทำให้คุณ มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้หรือไม่ และวิทยาศาสตร์ก็ได้บอกว่า ใช่ เมื่อคุณเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับความเครียด คุณจะสมารถเปลี่ยนการตอบสนองของร่างกายของคุณที่มีต่อความเครียดได้

เคลลี่จะอธิบายว่า มันทำงานอย่างไร???

     ถ้าคุณเข้าไปอยู่การทดสอบที่ต้องเจอกับภาวะความเครียดมากๆ แล้ว หัวใจของคุณอาจจะเต้นแรง คุณอาจจะหายใจเร็วขึ้น อาจจะเหงื่อแตก และโดยทั่วไป เราแปลความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเหล่านี้ว่า ความวิตกกังวล หรือสัญญาณที่ว่า เราจัดการกับความเครียดได้ไม่ดีนัก 

     แต่ถ้าหากคุณมองพวกมันเป็นสัญญาณที่ว่า ร่างกายของคุณมีชีวิตชีวาขึ้นล่ะ เป็นการเตรียมตัวที่จะได้เจอกับความท้าทายนี้ล่ะ นั่นคือสิ่งที่ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกบอก ในงานวิจัยที่ทำโดยมหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ก่อนที่พวกเขาจะเข้าทำการทดสอบความเครียดทางสังคม พวกเขาถูกสอนให้คิดเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดเสียใหม่ว่า มีประโยชน์ ที่ว่า

- หัวใจที่เต้นแรงช่วยทำให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับการกระทำ 
- ถ้าคุณหายใจเร็วขึ้น นั่นไม่ใช่ปัญหา มันทำให้ออกซิเจนไปที่สมองคุณมากขึ้น 


     และผู้เข้าร่วมซึ่งเรียนรู้ว่าปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดนั้น เป็นประโยชน์ต่อความสามารถของพวกเขา  พวกเขาเครียดน้อยลง กังวลน้อยลง มั่นใจมากขึ้น แต่ข้อค้นพบที่น่าทึ่งที่สุดสำหรับเคลลี่ คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับปฏิกิริยาทางร่างกายของพวกเขาที่ตอบสนองต่อความเครียด
     ในการตอบสนองความเครียดโดยทั่วไป อัตราการเต้นหัวใจของคุณสูงขึ้นและเส้นเลือดของคุณจะหดตัวลง และนี่คือหนึ่งในเหตุผลทั้งหลายที่ว่าความเครียดเรื้อรัง บางครั้งมีผลเกี่ยวพันกับโรคหัวใจ มันไม่ดีต่อสุขภาพเลย ที่จะต้องอยู่ภายในภาวะแบบนี้ตลอดเวลา

     แต่ในงานวิจัยนี้ เมื่อผู้เข้าร่วมมองว่า ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดนั้นมีประโยชน์  เส้นเลือดของพวกเขาจะผ่อนคลาย หัวใจของพวกเขายังเต้นแรง แต่มันเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ดูมีสุขภาพดีกว่า ที่จริง สภาพมันดูเหมือนกับตอนที่คนเราอยู่ในช่วงเวลาแห่งความสุขและกล้าหาญ 

     ตลอดชีวิตที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ความเครียดต่างๆ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพนี้ สามารถทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างหัวใจวายจากความเครียดตอนอายุ 50 กับการอยู่ดีมีสุขจนถึงอายุ 90 และนี่คือสิ่งทีวิทยาศาสตร์ด้านความเครียดแนวใหม่เปิดเผยออกมา ว่า วิธีที่คุณคิดเกี่ยวกับความเครียดนั้นสำคัญ 

      เวลาที่คุณเจอความเครียดมากๆ เวลาที่หัวใจคุณเต้นแรงเพราะความเครียด คุณจะต้องบอกกับคุณเองว่า นี่คือการที่ร่างกายของฉันกำลังช่วยฉันให้ลุกขึ้นสู้ต่อความท้าทายนี้ และเมื่อคุณมองความเครียดในทางนั้น ร่างกายของคุณจะเชื่อคุณ และความเครียดองคุณจะดีต่อสุขภาพมากขึ้น 


มารู้จักฮอร์โมนคลอเคลีย 

     เคลลี่ ใช้เวลามากกว่าสิบปี ในการมองความเครียดเป็นมารร้าย ที่เธอต้องการปลดปล่อยตัวเองออกจากมัน ดังนั้น เธออยากจะบอกเกี่ยวกับหนึ่งในด้านที่ถูกมองข้ามมากที่สุดในปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด และความคิดนี้ก็คือ  ความเครียดทำให้คุณเข้าสังคม 


     ในการที่จะเข้าใจความเครียดในด้านนี้ เราต้องพูดเกี่ยวกับฮอร์โมนที่ชื่อว่า ออกซิโทซิน  ออกซิโทซิน ได้รับการพูดถึงอย่างมาก ฮอร์โมนนี้มีชื่อเล่นๆ น่ารักๆ ว่า ฮอร์โมนคลอเคลีย เพราะมันจะถูกหลั่งออกมาเมื่อคุณกอดใครสักคน แต่นี่เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งที่ออกซิโทซินเกี่ยวข้อง 

     ออกซิโทซินเป็นฮอร์โมนประสาท มันปรับสัญชาตญาณการเข้าสังคมของสมองของคุณ 

     มันตระเตรียมคุณให้ทำอะไรๆ ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด ออกซิโทซินทำให้คุณต้องการการสัมผัสทางกาย กับเพื่อนและครอบครัวของคุณ มันเพิ่มการเห็นอกเห็นใจของคุณ มันจะทำให้คุณอยากที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนคนที่คุณเป็นห่วงเป็นใย บางคนแนะนำแม้กระทั่งว่า เราควรพ่นออกซิโทซินออกทางจมูก เพื่อจะได้มีความเห็นอกเห็นใจและห่วงใยมากขึ้น 

     แต่เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับออกซิโทซิน มันคือฮอร์โมนความเครียด ต่อมใต้สมองของคุณผลิตเจ้าสารตัวนี้ออกมา มันเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองต่อความเครียด มากพอๆ กับอะดรีนาลีนที่ทำให้หัวใจคุณเต้นแรง 

     และเมื่อออกซิโทซินถูกปล่อยออกมาเพื่อตอบสนองความเครียด มันจะกระตุ้นให้คุณมองหากำลังใจ ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดทางชีวภาพได้กระตุ้นให้คุณบอกใครสักคนว่าคุณรู้สึกยังไง มากกว่าที่จะเก็บกดมันเอาไว้ ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดของคุณต้องการที่จะแน่ใจว่า คุณสังเกตเห็นว่าใครสักคนในชีวิตคุณกำลังลำบาก เพื่อที่ว่าคุณจะได้เป็นกำลังใจให้กันและกัน เมื่อชีวิตตกที่นั่งลำบาก ปฏิกิริยาสนองความเครียดของคุณต้องการให้คุณถูกห้อมล้อมไปด้วยคนที่ห่วงใยคุณ 

แล้วเราได้รู้จักด้านนี้ของความเครียดจะทำให้คุณสุขภาพดีขึ้นได้ยังไง 

ฮอร์โมนออกซิโทซินมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

     ก็ออกซิโทซินมันไม่ได้แค่มีผลต่อสมองเท่านั้น มันยังมีผลต่อร่างกายของคุณด้วย และหนึ่งในบทบาทหลักของมันที่มีต่อร่างกายคุณ ก็คือ เพื่อป้องกันระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ จากผลลัพธ์ทางความเครียดต่างๆ มันเป็นยาแก้อักเสบแบบธรรมชาติ มันยังช่วยให้หลอดเลือดคุณผ่อนคลายระหว่างเครียดอีกด้วย 
     แต่ผลที่มีต่อร่างกายที่เคลลี่ชอบมาก คือ ผลที่มีต่อหัวใจ หัวใจของคุณมีหน่วยรับเจ้าฮอร์โมนนี้ และออกซิโทซินช่วยผลิตและรักษาเซลล์หัวใจที่เสียหายจากความเครียด ฮอร์โมนความเครียดตัวนี้ทำให้หัวใจของคุณแข็งแรงขึ้น 

     และสิ่งที่เจ๋งก็คือว่า ประโยชน์ต่อร่างกายของออกซิโทซินทั้งหมดนี้ เพิ่มขึ้นด้วยการพบปะทางสังคมและการเกื้อหนุนทางสังคม

อีกชิ้นหนึ่งของงานวิจัย ฟังให้ดีเพราะงานวิจัยชิ้นนี้สามารถช่วยชีวิตได้ด้วย

- งานศึกษานี้ติดตามผู้ใหญ่ 1,000  คนในสหรัฐฯ พวกเขาอยู่ในช่วงอายุ 34 – 93 
- งานวิจัยเริ่มต้นด้วยการถามว่า คุณเจอความเครียดมากแค่ไหนในปีที่ผ่านมา
- พวกเขาถามด้วยว่า คุณใช้เวลามากแค่ไหนในการช่วยเหลือเพื่อน เพื่อนบ้าน และคนอื่นๆ ในชุมชนของคุณ
- แล้วพวกเขาก็ดูที่สถิติของรัฐในห้าปีถัดมาว่า ใครตายไปบ้าง


     เอาข่าวร้ายก่อน สำหรับความเครียดหนักมากๆ ในชีวิต เช่น ความลำบากทางการเงิน หรือวิกฤตครอบครัวนั่น เพิ่มความเสี่ยงในการตายไป 30 % แต่นั่นไม่จริงสำหรับทุกคน 
     คนที่ใช้เวลาไปกับการดูแลคนอื่น ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีการเพิ่มขึ้นของการตายที่เกี่ยวข้องกับความเครียดเลย เป็นศูนย์ การดูแลห่วงใยได้สร้างการฟื้นฟูขึ้น

     เราได้เห็นอีกครั้งว่าผลลัพธ์ที่อันตรายของความเครียดที่มีต่อสุขภาพของคุณเป็นเรื่องที่หลักเลี่ยงไม่ได้ วิธีที่คุณคิดและทำ สามารถเปลี่ยนประสบการณ์ทางความเครียดของคุณได้ 

>>> เมื่อคุณเลือกที่จะมองว่าปฏิกิริยาสนองความเครียดของคุณมีประโยชน์ คุณได้สร้างชีววิทยาของความกล้าหาญขึ้น  
>>> และเมื่อคุณเลือกที่จะสัมพันธ์กับผู้อื่นระหว่างที่เครียด คุณสามารถสร้างการฟื้นฟูได้ 
     


ขอขอบคุณข้อมูล https://www.ted.com/talks/kelly_mcgonigal_how_to_make_stress_your_friend
- https://www.ted.com/talks/kelly_mcgonigal_how_to_make_stress_your_friend?language=th

0 ความคิดเห็น: