เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 9):การบวชที่ถูกต้องได้บุญมากกว่าได้บาปทำอย่างไร? ทั้งฝ่ายเจ้าภาพและฝ่ายผู้บวช
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9 |
ตอบ: ข้อปฏิบัติในการขอขมาของนาคก็พึงทำเหมือนอย่างที่กล่าวแล้วในข้อต้น คือพ่อแม่กราบ ๓ ครั้ง หรือผู้ใหญ่ที่เคารพอย่างสูงก็กราบ ๓ ครั้ง โดยยกย่องท่านเหล่านั้นเสมอพระ
ส่วนคำถามที่ว่า การบวชที่ถูกต้องได้บุญมากกว่าได้บาปทำอย่างไรนั้น ต้องชี้แจงกันมาก เพราะเป็นเรื่องเพื่อการปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงเพื่อรู้อย่างเดียว
ก่อนอื่นต้องเข้าใจเสียก่อนว่าผู้ได้รับบุญนั้น คือใคร???
ตามปกติการบวชมีผู้ได้รับบุญ ๒ ฝ่าย คือฝ่ายผู้ให้บวช ซึ่งได้แก่
- บิดามารดาและวงศาคณาญาติ
- และฝ่ายผู้บวชเอง
ดังนั้นจึงจะเริ่มแต่ผู้ให้บวชหรือที่นิยมเรียกกันว่า “เจ้าภาพ” ไปก่อน ตามปกติเจ้าภาพบวชพระก็เป็นบิดามารดาของนาคเสียโดยมาก จะมีญาติหรือบุคคลอื่นบ้างก็เป็นส่วนน้อย แต่วิธีการปฏิบัติก็เหมือนกัน เมื่อหวังทำบุญก็ควรจะทำให้เป็นบุญ ทำให้ถูกบุญ บุญคือการชำระกาย วาจา และใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ให้หมดจดจากกิเลสเครื่องที่จะทำใจให้เศร้าหมอง
โดยเฉพาะการบวชนาค เจ้าภาพมักจะทำบุญด้วยการบริจาคทานเป็นพื้น คือ เสียสละทรัพย์สมบัติเป็นค่าเครื่องอัฐบริขารบ้าง เครื่องไทยธรรมบ้าง ภัตตาหารบ้าง การเสียสละทรัพย์สมบัติ ถือเป็นค่ากำจัดโลภะความเห็นแก่ตัวและความตระหนี่ให้หมดไปจากจิตใจ
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9 |
ฝ่ายเจ้าภาพการทำบุญที่จะได้บุญนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้
(๒) การจัดงาน ควรหนักไปในทางเรื่องการบุญการกุศลให้มาก คือเสียทรัพย์ไปแล้วควรเป็นบุญทุกบาททุกสตางค์ได้ยิ่งดี สิ่งใดไม่จำเป็นควรงดเสีย อย่าทำ หรือถ้าจะทำก็ทำแต่น้อย เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อ เลี้ยงเหล้ายาปลาปิ้งกัน การมีมหรสพ การมีดนตรีบรรเลงทั้งขณะที่อยู่บ้านและแห่แหนไปวัดเป็นเอิกเกริกโกลาหล เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นเลย มีเพื่อความสนุกสนานกันชั่วครั้ง เอิกเกริกเฮฮากันชั่วคราวเท่านั้น แม้ไม่มีก็บวชเป็นพระได้
บางงานชอบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ บวชนาคแต่ละทีจัดเสียใหญ่โตหมดเงินเป็นหมื่นเป็นแสน แต่พอบวกลบคูณหารแล้วเป็นบุญน้อยกว่าเป็นบาป จ่ายในสิ่งไม่เป็นเรื่องมากกว่า ทั้งที่การบวชนั้นใช้เงินเพียง ๒,๐๐๐ บาท ก็บวชได้อย่างสบายแล้ว แต่โดยมากเรามาเปลืองในสิ่งที่มอมเมามากกว่า น่าเสียดายเงินทองมาก แม้จะอยู่ในฐานะที่จะทำได้ก็ตาม แต่ควรนำไปทำอย่างอื่นดีกว่า หากจะเสียสละกันจริงๆ นอกเสียจากว่าทำไปไม่หวังบุญแต่หวังชื่อเสียง หวังความเด่นดัง และหวังเอาหน้าเอาตาเท่านั้น ถ้าหวังอย่างนั้นก็คงได้สมประสงค์แน่
แต่ก็ยังเสียดายเงินทองอยู่ดี เพราะบางงานแทนที่จะได้หน้ากลับเสียหน้าถูกด่าเปิงไปก็มี เพราะเกิดเมากันจนอิ่ม ฆ่ากันตายกลางงานเลย
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9 |
ไม่ใช่ห้ามถวายหรอก ให้ถวายได้ แต่ถ้าไม่รู้จักถวาย แทนที่จะเป็นบุญกลับจะเป็นบาปไปเสียอีกน่ะนา เพราะเคยเห็นบางวัด อุปัชฌาย์ท่านรับมาแล้วก็นำมาเก็บไว้ที่กุฏิ ใช้ก็ไม่ได้ใช้ บางอย่างก็ใช้ไม่ได้ จะทิ้งเสียก็เสียดายของ เกรงเจ้าของเขาจะว่าเอา จะให้คนอื่นเอาไปบวชต่อก็ไม่มีใครมาขอ เลยต้องเก็บไว้รกกุฏิ แถมเป็นเชื้อไฟอย่างดีทีเดียว
(๔) เวลาทำอย่าให้คนอื่นเดือดร้อน อย่าให้ตัวเองเดือดร้อน ต้องไม่มีการบังคับให้ทำ ให้เขาร่วมทำด้วยความเต็มใจและกำลังศรัทธา
(๕) ต้องทำด้วยมีเหตุผล อย่าทำเพื่อเอาหน้าหรือประกาศความยิ่งใหญ่ของตน ต้องเห็นด้วยปัญญาว่า เมื่อทำอย่างนี้ไปแล้วจะเป็นบุญกุศลเป็นประโยชน์แก่ตนและบุคคลอื่น
(๖) ต้องทำบุญเพื่อเป็นบุญเพื่อความดี เพื่อความสุขใจ สบายใจ ส่วนผลอื่นๆ เป็นประโยชน์พลอยได้
นี่ว่าถึงหลักการทำบุญทั่วๆ ไป และใช้ได้ทุกงาน ไม่เฉพาะแต่งานบวชเท่านั้น
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9 |
(๑) เมื่อถูกนำตัวไปฝากวัดแล้ว ควรทำตัวให้เป็น “นาค” คือเป็นผู้ประเสริฐ สิ่งใดที่เป็นความชั่วความผิดที่เคยปฏิบัติเคยทำมาก่อน ควรงดเว้นให้เด็ดขาด เพื่อฝึกหัดความอดทนความอดกลั้นต่ออารมณ์ฝ่ายต่ำ ต่อไปตอนเป็นพระจะได้ไม่ฝืนใจมากนัก
(๒) เวลาเป็นนาค ควรท่องบ่นคำขานนาค คำพระต่างๆ ที่จำเป็นบทสวดทำวัตรเช้า-เย็นให้ได้ เพราะเวลาเข้าโบสถ์จะได้ว่าได้คล่องแคล่ว หากท่องไม่ได้ก็ต้องสอนกันแล้ว ความสำคัญของการบวชจะลดน้อยลงไป ทั้งแสดงว่าผู้บวชมิได้ใส่ใจเรื่องนี้
(๓) ตอนเข้าไปหาอุปัชฌาย์ควรทำด้วยความเต็มใจ อย่าทำเป็นเล่นเพราะกำลังอยู่ท่ามกลางสงฆ์ อยู่ต่อหน้าพระปฏิมาอันศักดิ์สิทธิ์ในอุโบสถเท่ากับอยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า หากทำเป็นเล่นไม่จริงจัง จะมองดูไม่เหมาะสม
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9 |
(๕) ในขณะเป็นพระอยู่ควรหาโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามสติปัญญา หาตำราทางศาสนามาอ่านบ้าง หรือเข้าหาครูอาจารย์ให้ท่านแนะนำ ให้ท่านโอวาทสั่งสอนตามเวลา ตามสมควร เพราะสิ่งที่ได้มาตอนนี้แหละจะติดตามตนไปได้แม้จะลาเพศไปแล้ว ความเป็นพระติดตัวไปไม่ได้นาน นอกเสียจากจะเกิดความเคยชิน และมีความรู้ทางพระอย่างถูกต้องถ่องแท้เท่านั้น
ที่มา: https://goo.gl/sGb1T9 |
ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ก็พอจะเป็นบุญได้กระมัง
ขอบคุณข้อมูล
- หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร: กรกฎาคม, ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๕๖ – ๖๐.
0 ความคิดเห็น: