วันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นมาอย่างไร? เรามาเริ่มต้น "ปีใหม่" "วันใหม่" ด้วยความเป็นสิริมงคล "สวดมนต์ข้ามปี"กันเตอะ
ขอบคุณภาพจาก google |
💝💝ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า? และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง และควรหาโอกาสกระทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง
✨✨✨วันปีใหม่ เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินแบบเกรกอเรียน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
🌙🌙🌙 เดิมที ใน 1 ปี เราจะมีจำนวนวัน 365 วัน แต่ในยุคสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์อียิปต์มาปรับแต่งให้ทุกๆ 4 ปี ให้เติมเดือนกุมภาพันธ์ ที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ให้เป็น 29 วัน ซึ่งในปีนั้นเราจะเรียกว่าเป็นปี อธิกสุรทิน
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ของไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
🌟ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
🌟เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
🌟ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
🌟เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
ขอบคุณภาพจาก http://www.thairath.co.th/content/819153 |
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่
🌞🌞การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
🌞🌞การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
🌞🌞การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/4MtSzM |
สำหรับปีพุทธศักราชใหม่ 2560 นี้ รมว.วัฒนธรรม เผยกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ 2560 รวมทั้ง “ไหว้พระ 10 วัด สืบสิริสวัสดิ์ 10 รัชกาล” รอบ กทม. พร้อมจัดรถ ขสมก. รับ-ส่ง ฟรี
นอกจากนี้กรมศิลปากรได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ 10 องค์ ให้ประชาชนกราบสักการะบูชา เพื่อความเป็นมงคล ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 2559-31 ม.ค. 2560 ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (http://www.thairath.co.th/content/819153)
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/pages |
ส่วนที่วัดพระธรรมกาย ก็ได้จัดกิจกรรรม "สวดมนต์ข้ามปี" ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ถวายเป็นพระราชกุศล ณ มหารัตนวิหารคด วัดพระธรรมกาย วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2559 ถึงวันอาทิตย์ ที่ 1 มกราคม 2560
จะได้เริ่มต้นวันใหม่ด้วยความเป็นสิริมงคล นั่นถือเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งเป็นวันใหม่ของปีด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมมงคลที่คนไทยนิยมกันมาก คือ การสวดมนต์ข้ามปี
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง:
http://www.moe.go.th/newyear2013/hist_bg.html
0 ความคิดเห็น: