“ซ่าง” คืออะไร? ใช้เพื่ออะไร? ในงานพระราชพิธี

04:35 Mali_Smile1978 0 Comments

ซ่าง
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/Vy5VaA

        หลักฐานที่กล่าวถึงการจัดพระราชพิธีพระบรมศพที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง หนังสือวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของชาติไทย พระมหาธรรมราชาที่ ๑ พญาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีระกา  พุทธศักราช ๑๘๘๘ พรรณนาการจัดการพระศพพระยามหาจักรพรรดิราช


อีกมุมของซ่าง
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/yeI49J

        วันนี้เรามารู้จักอาคารประกอบของพระเมรุมาศ และพระเมรุ เพราะนอกจากพระเมรุมาศ พระเมรุ ซึ่งเป็นประธานภายในตั้งพระจิตกาธานสำหรับประดิษฐานพระโกศพระบรมศพ พระศพแล้ว ยังมีอาคารประกอบอื่นๆ รวมทั้งปริมณฑลโดยรอบ ซึ่งอาคารที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ซ่าง/ ส้าง หรือ สำส้าง
        “คด” คือ ศาลาแสดงบริเวณเขตล้อมรอบพระเมรุมาศ มีทางเข้าออก ๔ ทาง มุมคดที่ทำเป็นมุมฉาก เรียกว่า “ซ่าง” ซึ่งนิยมทำเป็น “เรือนยอด”
        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า “ซ่าง” ที่ยกพื้นไว้สูงสำหรับพระสงฆ์นั่งสวดอภิธรรมอยู่ ๔ มุมเมรุ เรียกว่า “สำซ่าง” หรือ “คดซ่าง” หรือ “สร้าง” ก็เรียก ซ่าง คือ ศาลาตรงมุมฉากของคดทั้งสี่มุมสำหรับพระสงฆ์สวดอภิธรรม


พระนั่งสวดพระอภิธรรมบนซ่าง
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/SK2jHT


        โดยสรุปแล้ว ซ่าง เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมหลังคายอด สร้างขึ้นตามมุมทั้งสี่ของพระเมรุมาศ มีจำนวน ๔ หลัง อยู่ที่มุมติดกับรั้วราชวัติ ๒ หลัง และที่มุขด้านทิศเหนือและทิศใต้อย่างละ ๑ หลัง ใช้เป็นที่สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ตั้งแต่พระโกศพระบรมศพ พระศพประดิษฐานบนพระจิตกาธาน จนกว่าจะถวายพระเพลิงเสร็จ คือจะมีพระพิธีธรรม ๔ สำรับ นั่งอยู่ประจำซ่าง โดยจะผลัดกันสวดทีละซ่างเวียนกันไป


ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/Z30CWK

        ยกตัวอย่างเช่น งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี   ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง  ทางสถาปนิก ยังได้ออกแบบซ่าง  ซึ่งเป็นอาคารเล็กๆ อยู่ ๔ มุม บนฐานชาลาของพระเมรุ เพิ่มขึ้นมา โดยซ่างทั้ง ๔ หลังดังกล่าว ใช้สำหรับเป็นที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ ในการสวดพระอภิธรรมตลอดระยะเวลาที่อัญเชิญพระโกศขึ้นพระเมรุ คือ ตั้งแต่เวลาประมาณเวลา ๑๒ น.วันที่ ๙ เมษายน จนกระทั่งถึงเช้าวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕  ในช่วงที่มีพระราชพิธีตลอดรายการ  ทั้งนี้ ใน ซ่าง ๑ หลัง  จะมีพระสงฆ์นั่งอยู่  ๔ รูปทั้งมดจำนวน ๑๖ รูป  สวดพระอภิธรรมต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา  
        ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ยังมีเรื่องน่ารู้ น่าสนใจเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมศพ อีกหลายอย่างที่น่าศึกษาและชาวไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก....


ขอบคุณข้อมูอ้างอิง
1.https://www.thaitux.info/dict/words=%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99
2.https://goo.gl/owtzU7
3.http://data.bn.ac.th/doc/pdf/princessgalyani/karayalai_ebook.pdf
4.http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333548676

0 ความคิดเห็น: