วัดสอนแต่เรื่อง #ฟอกกาย #ฟอกวาจาและ #ฟอกใจให้สูงขึ้น

04:27 Mali_Smile1978 2 Comments

     
     ที่ผ่านมาหลายเดือนจวบจนปัจจุบัน บนหน้าสื่อหลักๆ สื่อออนไลน์ยังคงมุ่งมั่นสร้างวาทะกรรมว่าวัด #ฟอกเงิน ว่าพระ #ไม่สมถะ สร้างความเสียหายและเสื่อมเสียให้กับวัด บั่นทอนศรัทธาชาวพุทธและสร้างความสั่นคลอนให้เกิดขึ้นต่อสถาบันศาสนาซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจของคนในชาติ สื่อเสี้ยมและผู้บงการอยู่เบื้องหลังของแผนการอันเลวร้ายเพื่อหวังทำลายศรัทธาชาวพุทธ ตั้งใจจะขุดรากถอนโคนพุทธศาสนาให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทยหรืออย่างไร!!!???


ขอย้ำชัดๆ ว่า วัดสอนแต่เรื่อง #ฟอกกาย #ฟอกวาจาและ #ฟอกใจให้สูงขึ้น

     แล้ววัดใช้หลักธรรมอะไรเพื่อ #ฟอกกาย วาจา ใจ ให้สะอาด สงบและทำให้จิตใจสูงขึ้น???

     หลักการ #ฟอกจิตใจให้สะอาด ในทางพุทธศาสนามีหลักง่ายๆ ๓ อย่าง คือ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา



๑. การให้ทาน เป็นวิธี #ฟอกใจ ขั้นต้น
การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์
     ซึ่งเป็นวิธีช่วย #ฟอกใจขั้นพื้นฐาน เพื่อขจัดอำนาจมืด ยางเหนียวหนืดที่ครอบงำจิตใจ คือความตระหนี่ ด้วยวิถีของการให้  เริ่มตั้งแต่การให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน (อามิสทาน) การสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน (ธรรมทาน) และสละอารมณ์ไม่ดีขุ่นมัว การให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน (อภัยทาน) 


ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ชนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน

(ที่มาบทกลอน: https://goo.gl/MPR78E)

๒. การรักษาศีล เป็นวิธี #ฟอกกาย วาจา ใจ ขั้นกลาง 
     ศีลจะทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ได้มากกว่าทานเพราะว่า การรักษาศีลนั้นเป็นการเพียรพยายามจะระงับสิ่งที่จะเกิดเป็นโทษทางกายและวาจาไม่ให้มันเกิดขึ้น

     ศีล แปลว่า ปกติ เป็นวินัยทางธรรมเบื้องต้นของคน เป็นเครื่องจำแนกคนออกจากสัตว์ ดังนั้น เราทุกคนควรรักษาศีล ๕ ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, การดำรงตนอยู่ในคู่ครองของตัวเอง, ไม่พูดปด พูดส่อเสียด หรือแม้แต่พูดคำหยาบ และไม่ดื่มสุราให้ขาดสติเป็นเหตุให้สติไม่ตั้งมั่นจิตใจเศร้าหมองลง

๓. สมาธิ เป็นวิธี #ฟอกจิตใจระดับสูงขึ้นมา 
     การเจริญภาวนาในพุทธศาสนาเป็นการทำความสะอาดจิตอย่างละเอียดเป็นการ #ซักฟอกจิตให้สะอาดจนถึงที่สุดได้ คือ ทำให้จิตเบาบางไปจากสิ่งปรุงแต่ง (กิเลสทั้งหลาย) จนกระทั่งหมดกิเลสได้ในที่สุด

     บุคคลที่หมั่นเพียร #ฟอกจิตใจ ตนเองให้สะอาด สูงส่ง บริสุทธิ์อยู่เสมอแล้ว บุคคลนั้นจะอยากถอยหลังลงมาเกลือกกลั้วสิ่งสกปรก สิ่งที่ไม่สะอาด คือกิเลสอีกหรือไม่ 
     เปรียบเหมือน มีชายคนหนึ่งที่ใส่เสื้อผ้าตรากตรำทำงานหนักทั้งวัน เหงื่อไคลไหลชุ่มทั่วตัว เสื้อผ้าสกปรกเหม็นคาวกลิ่นเหงื่อไคล พอถึงบ้านจึงรีบอาบน้ำชำระความสะอาดร่างกาย ถูฟอกด้วยสบู่ เช็ดตัวให้สะอาด โรยแป้งทำให้กลิ่นกายหอมสดชื่น เขาจึงมีความสุข ถามว่าชายคนนี้จะปรารถนากลับมาสวมเสื้อผ้าชุดเก่าที่สกปรก มีกลิ่นเหม็นอับและชุ่มด้วยเหงื่อไคล อีกหรือไม่??? ฉันใดฉันนั้น



     ปุถุชนบางคน ผู้ยังเต็มไปด้วยกิเลส ใช้สายตา ทัศนะของตนอันเอิ่มอาบด้วยกิเลสเจตนาร้าย อคติและความไม่รู้ มาว่าพระผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เกิดความเสียหาย การทำเยี่ยงนี้มันใช่เหรอ?

     สื่อเสี้ยม หรือคนใจมืดบอดที่บงการอยู่เบื้องหลังใช้สื่อเป็นเครื่องมือ ใช้คนหน้าเดิมๆ ไม่กี่คน ที่วันๆ ไม่รู้ว่าทำมาหากินอะไร? ขยันออกมา สร้างวาทกรรมอันร้ายกาจให้กับวัด ให้กับพระผู้ที่ท่านประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ใส่ร้าย ยัดข้อหา ว่า พระ/วัดฟอกเงิน ทั้งที่จากจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง  คือการรับเงินบริจาคจากศรัทธาญาติโยมเพื่อนำมาใช้ในงานพระศาสนาเท่านั้นเอง



     ถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า จะพยายามชักฟ้าให้ต่ำตามแรงปรารถนาของตน ฟ้าหาต่ำลงไม่ แต่บุคคลผู้มีเจตนาร้ายนั้นต่างหาก ยิ่งถ่ม ยิ่งอยากดึงฟ้าลง ตัวเองยิ่งต่ำเตี้ยถอยลงเรื่อยๆ ทุกอนุวินาที

2 ความคิดเห็น:

ชาวพุทธห่วงวัด ห่วงพระศาสนายิ่งขึ้น เมื่อผอ.พศ.ชี้ให้ออกกฎหมายคุมบัญชีเงิน 4 หมื่นวัดทั่วประเทศ...ท่านผอ.มีวาระซ่อนเร้นในใจหรือเปล่า???

03:13 Mali_Smile1978 17 Comments


ที่มา: http://www.komchadluek.net/news/regional/282116

     ช่วงนี้มีกระแสข่าวออกมาเกือบทุกสำนักสื่อ เกี่ยวกับพ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ออกมามีบทบาทชี้ให้ออกกฎหมายคุมบัญชีเงิน 4 หมื่นวัดทั่วประเทศ จะดีที่สุด พร้อมพิจารณา กำหนดบทลงโทษ


     การที่ผอ.พศ.ออกมาแสดงท่าทีห่วงใยต่อเรื่องทรัพย์สินของวัด จึงดูจะทำเกินบทบาทหน้าที่หรือไม่ เกินความจำเป็นหรือเปล่า เพราะกิจการภายในสงฆ์ พระท่านก็มีผู้ที่ทำหน้าที่และทำการตรวจสอบเรื่องบัญชีทรัพย์สินของแต่ละวัดอยู่แล้ว

     จึงอยากจะฝากข้อแท้จริง ๔ ประเด็นนี้ ถึงท่านผอ.พศ. ให้ทบทวน ดังนี้

     - ระบบตรวจสอบบัญชีการเงินของวัดมีผู้ทำหน้าที่อยู่แล้ว และต้องส่งสรุปให้เจ้าคณะปกครองตรวจสอบบัญชีทุกปี 

...ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายหลักที่ดูแลในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของวัดคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ซึ่งยังมีกฎกระทรวงฉบับต่าง ๆ ที่ออกตามกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าอาวาสเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของวัด และให้มีการแต่งตั้งไวยาวัจกรหรือคณะกรรมการวัดขึ้นมาดูแลตรวจสอบทรัพย์สินของวัด รวมถึงมติมหาเถรสมาคม (มส.) ที่ขอความร่วมมือวัดให้รายงานบัญชีดังกล่าว (ที่มา https://goo.gl/Ni6dHC)

     ⁃ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)ไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีการเงินของวัดโดยตรง

     ⁃ ส่วนมูลนิธิก็จะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินให้ผู้เกี่ยวข้องดูแลตรวจสอบทุกปีอยู่แล้ว

     กำหนดให้กรมสรรพากรเข้าไปทำหน้าที่กำกับดูแลการใช้จ่ายเงินของมูลนิธิหรือสมาคมแทนผู้บริจาคเงิน โดยองค์กรการกุศลกลุ่มนี้ต้องส่งงบดุล บัญชีรายได้-รายจ่าย และผลการดำเนินงานให้กรมสรรพากรตรวจสอบภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบปีบัญชี หากไม่ดำเนินการจะถูกเพิกถอนชื่อออกจากประกาศกระทรวงการคลังฯ ฉบับที่ 2 (ที่มา: https://goo.gl/D3dM1C)



   
     - สังเกตดูท่าที ผอ.พศ. กระตือรือร้นที่อยากจะให้มีกฎหมายเพื่อควบคุมตรวจสอบเข้มการเงินวัดจนออกหน้าออกตา ดูจะเป็นเรื่องสำคัญ วาระเร่งด่วนสำหรับท่านเหลือเกิน จนพระสงฆ์หลายๆ รูปและชาวพุทธหลายๆ คนเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ผอ.พศ.มีเจตนาเบื้องหลังอะไรแอบแฝงหรือเปล่า??? 

17 ความคิดเห็น:

เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 7): ถ้ามัวแต่เข้าวัดจะทันคนได้อย่างไร?

02:45 Mali_Smile1978 0 Comments

เรียนรู้เรื่องศาสนาจากปัญหาข้องใจ(ตอนที่ 7): 
7.1 ถ้ามัวแต่เข้าวัดจะทันคนได้อย่างไร? 
7.2 ที่พระสอนว่าอย่าคบคนพาลนั้น มิเป็นการทอดทิ้งคนพาลไปหรือ? 

7.1 ถาม: เดี๋ยวนี้ทุกคนต้องทำงานเข่งกับเวลา หากมัวชักช้าจะไม่ทันกินและต้องมีอุบายร้อยแปด หากมัวเข้าวัดฟังธรรมหรือมัวคิดจะไม่ให้ผิดธรรมอยู่แล้วจะหาทันกินคนได้อย่างไร จะมิเป็นว่างอมืองอเท้าไปหรือ?

ตอบ: เรื่องนี้ยังมีผู้เข้าใจผิดกันอยู่เสมอว่า ศาสนาสอนให้คนงอมืองอเท้า ศาสนาสอนให้คนอืดอาด ไม่กล้าทำงานให้คล่องตัว และคนที่เข้าวัดฟังธรรมมักจะกินไม่ทันคน เพราะกลัวผิดเสียไปหมด หรือเพราะเสียเวลาไปกับการไปวัด ส่วนมากคิดกันอย่างนี้

     ความจริงจะโทษศาสนาไม่ถูกเลย ศาสนาทุกศาสนานั้นมีหลักคำสอนในเรื่องการทำมาหากินครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นแต่ว่าผู้เข้าวัดฟังธรรมนั้นๆ ไม่ได้นำคำสอนที่เรียนหรือที่ฟังมาไปใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น ผลที่ตามมาจึงหากินไม่ค่อยพอกินหรือไม่ทันคน ส่วนบางคนซึ่งก็มีโดยมากเขาไม่รู้จักศาสนา ไม่รู้จักธรรมะเสียด้วยซ้ำ แต่เขารู้จักทำมาหากิน ดำเนินชีวิตไปตามครรลองแห่งธรรมะของศาสนาโดยไม่รู้ตัว ผลที่ได้รับก็มีตามมา ทั้งเป็นผลดีเสียด้วย เหมือนเด็กน้อยนำเมล็ดมะม่วงไปโยนทิ้งไว้หลังบ้านโดยไม่รู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น แต่เมล็ดมะม่วงนั้นเมื่อได้น้ำได้ปุ๋ยลงตัวแล้วก็งอกออกมา เจริญเติบโตและให้ผลแก่เจ้าของ คือเด็กนั้นและคนอื่นๆ ได้ 

ผู้ที่ไม่รู้ธรรมะ ไม่เข้าใจธรรมะ ไม่เคยฟังธรรมะ แต่ปฏิบัติตัวและดำเนินชีวิตไปตรงกับหลักธรรมะทางศาสนาพอดีก็ย่อมได้รับผลดีอันเหมาะสมแก่การปฏิบัติ

ที่มา: https://goo.gl/5q6xLc
     ในเรื่องการทำมาหากินนั้น ในทางศาสนาสอนให้ทุกคนขยันทำมาหากิน รู้จักเก็บงำ รู้จักหาคู่ครองที่ดี มีความเสียดายทรัพย์ที่หามาได้ รู้จักใช้จ่ายทรัพย์แต่พอควร ไม่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย สอนให้รีบด่วนในเวลาที่ควรด่วน โดยให้มีสติสัมปชัญญะกำกับเป็นบังเหียนใจไม่ให้ด่วนในทางผิดหรือเสียหายนอกลู่นอกทาง สอนให้รู้จักช้าในเวลาที่ควรช้า ดูทีท่าเหตุการณ์ด้วยสติปัญญาเสียก่อนค่อยลงมือทำ เป็นต้น

     คนที่หากินไม่ทันคนนั้น ลองสืบหาสาเหตุดูว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่? เพราะเข้าวัดหรืออย่างไร หรือเพราะเขาไม่นำพาต่อคำสอนทางศาสนาที่ได้ยินได้ฟังมาจนชินหู

     เป็นของแน่เหลือเกิน คนที่รู้ธรรมะแค่ไม่ปฏิบัติธรรมะ ย่อมไม่ได้รับผลของธรรมะ จึงสู้คนที่ไม่รู้ธรรมะแต่ปฏิบัติธรรมะไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบไว้ว่า เหมือนลูกจ้างที่รับจ้างเขาเลี้ยงวัวนม ได้เลี้ยงและใกล้ชิดวัวได้แต่ค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนเท่านั้น หาได้รับผล คือน้ำนมและเนื้อของวัวเหล่านั้นไม่ ส่วนเจ้าของวัวแม้ไม่ได้ใกล้ชิดกับวัวเลย แต่ได้นมและเนื้อมันมาขายเลี้ยงชีวิตสบายไป

ที่มา: https://goo.gl/kwaHih

7.2 ถาม: ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า อย่าคบคนพาลนั้น มิเท่ากับว่าทอดทิ้งคนพาลหรือ เพราะคนพาลทั้งหลายเมื่อไม่มีใครคบเขาจะหายพาลได้อย่างไร บ้านเมืองคงจะเต็มไปด้วยพาล เพราะเขาถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่จากคนดีเสียแล้ว
ตอบ: ข้อนี้เป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขา คือคล้ายกับว่าที่ทรงสอนไม่ให้คบคนพาลนั้นเท่ากับให้ทอดทิ้งคนพาล อย่าไปตอแยด้วย แต่ความจริงแล้วคำสอนข้อนี้ที่ต้องทำความเข้าใจหลายตอน

     ตอนแรก ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า “คบ” ก่อน คำๆ นี้ในภาษาไทยเราออกจะแคบไปหน่อย คือหมายถึงเข้าพวกกันหรือหมายถึงเพียงการไปไหนมาไหนด้วยกันเท่านั้น

     ส่วนคำเดิมที่เราแปลออกมาว่า “คบ” นั้น ได้แก่คำว่า “เสวนา” ท่านแจกลูกอธิบายไว้ว่าหมายถึง ๓ ลักษณะ คือ

- ภชน การคบหาสมาคมกัน รู้จักกัน

- สหายตา การไปไหนมาไหนด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน อยู่ด้วยดัน

- สมฺปวงฺกตา การเข้าเป็นพวกเดียวกัน เอาไงเอากัน ไปไหนไปกัน

     เสวนา ของพระมิใช่เพียงแค่คบตามภาษาที่เราเข้าใจกันเท่านั้น ยังหมายถึง การอยูร่วมกันแบบสามีภรรยา แบบบิดามารดากับบุตร แบบนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้นด้วย

     คราวนี้วกเข้ามาถึงปัญหาที่พระพุทธองค์ทรงห้ามคบคนพาลก็เพราะถ้าคบคนพาลจะเป็นอัปมงคล คือมีแต่ทางเสีย ไม่มีทางได้ มิใช่หมายถึงให้ทอดทิ้งคนพาลเสียเลย แต่ให้ “เข้าใกล้” คนพาลได้ ขออย่าไปคบเท่านั้น
ที่มา: https://goo.gl/kwaHih
เข้าใกล้” กับ “คบ” ไม่เหมือนกัน

     เข้าใกล้ หมายเพียงเข้าไปมาหาสู่ เดินไปหา ไปนั่งใกล้เท่านั้น เช่น ทำงานด้วยกัน เรียนด้วยกัน แค่นี้ไม่เสียหาอะไรมากหรอก

     ส่วน คบ หมายถึง การไปมาหาสู่ประจำจนเป็นพวกเดียวกันดังความหมายข้างต้น จนกระทั่งถ่ายทอดนิสัยและพฤติกรรมของคนพาลที่ตนคบมาเลย อย่างนี้เสียแน่

     ดังนั้น เมื่อเรารู้ว่าใครเป็นพาล หากมีจิตเมตตาสงสารต้องการให้เขาหายพาล ก็อย่าทอดทิ้งเขาเลย จงเข้าไปใกล้เขาไว้ พยายามพูดคุยโน้มน้าวจิตใจของเขา พยายามถ่ายทอดความดีของเราไปให้เขา แต่อย่าถ่ายทอดของเขามาสู่เราท่านั้น แค่นี้ไม่ชื่อว่าคบคนพาลดังกล่าวมา และก็หาโทษมิได้ด้วย

     การเข้าใกล้คนพาลนั้น ไม่ต้องระวังคนพาลหรอก ระวังตัวเองจะไปถ่ายทอดอะไรๆ จากคนพาลมาเท่านั้น ขอให้คิดถึงหมอหรือพยาบาลที่รักษาคนไข้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงก็แล้วกัน พวกเขารักษาคนไข้ใกล้ชิด แต่จะไม่ยอมให้โรคของคนไข้มาติดตัวได้ คือพยายามป้องกันตัวเองอยู่เสมอในขณะที่รักษาคนไข้นั้นอยู่

ที่มา: https://goo.gl/kwaHih
     การที่เราเข้าไปหาคนพาลเพื่อแนะนำ เพื่ออบรมสั่งสอน หรือเพื่อให้เลิกเป็นพาลนั้น มิใช่ว่าเราจะพลอยเป็นคนพาลไปด้วย เหมือนกับพระพุทธเจ้าไปสอนโจรองคุลีมาลจะทรงเป็นโจรไปด้วยก็หาไม่

     ฉะนั้น สาธุชนคนดีทั้งหลายจงหวังความอนุเคราะห์เป็นที่ตั้ง มีเมตตาจิตเป็นกำลังช่วยคนพาลเถิด เข้าใกล้คนพาลกันเถิด แต่อย่าคบคนพาลเลย ให้คนพาลเอาอย่างเถิด อย่าเอาอย่างคนพาลเลย แล้วโลกนี้จะสันติสุขแค่ไหน ไม่ต้องบรรยายกระมัง



ขอบคุณข้อมูล
หนังสือไขข้อข้องใจ ๒, (จากวารสารมงคลสาร: มีนาคม, ๒๕๑๙). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า ๖ - ๗. 

-___________________, (จากวารสารมงคลสาร: มิถุนายน, ๒๕๑๙ ). พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช),๒๕๕๒.หน้า๔๕-๔๗.

0 ความคิดเห็น: