ความยุติธรรมคืออะไร? อยู่ที่ไหน? ยุติธรรมสำหรับฉัน? สำหรับเขา? หรือสำหรับใคร?
![]() |
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/G6Bc7a |
ความยุติธรรมคืออะไร? อยู่ที่ไหน?
ยุติธรรมสำหรับฉัน? สำหรับเขา? หรือสำหรับใคร? มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันค่ะ
ในวันที่องคาพยพต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมยังถูกตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่ให้ความยุติธรรมในทุกวันนี้ยังคงเผชิญกับข้อกังขาที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น "ยุติ 2 มาตรฐาน!?" "ยุติธรรม (มี) จริงหรือในสังคมนี้!?"
ความยุติธรรมนั้นเป็นนามธรรมมากๆ
![]() |
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/G6Bc7a |
>>> ยุติธรรม คือการแบ่งครึ่งหรือเปล่า หรือดำกับขาว ต่างมองไม่เหมือนกัน
>>> ความยุติธรรมบางครั้งก็ไม่ใช่ต้องเป็นไปตามกฎหมายอย่างเดียวเพราะการที่ทำให้สังคมสงบสุขได้มีหลายมิติ ทั้งที่บางเรื่องกฎหมายก็ไปไม่ถึง ทำอะไรไม่ได้
วันนี้ตั้งโจทย์ว่าเป้าหมายของความยุติธรรมคืออะไร คำตอบคือทำให้สังคมสงบสุข ซึ่งหนังสั้นเรื่อง "สองพี่น้อง" ที่จะนำเสนอได้สะท้อนแง่มุมต่างของความยุติธรรม สะท้อนด้วยว่าความยุติธรรมไม่ได้หมายถึง ศาล อัยการ ตำรวจ ดีเอสไอ ฯลฯ เหล่านี้แค่กลไกหนึ่งเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมนุษย์ทุกคนในสังคมให้ความยุติธรรมกันได้ ไม่ใช่พึ่งกระบวนการหลักเพียงอย่างเดียว"
คำว่าความยุติธรรมนั้นเป็นนามธรรม (abstract noun) คือไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ
(1) “ความยุติธรรมตามธรรมชาติ” หรือกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาตินั้นมีอยู่จริง มันคือกฎเกณฑ์ วิถีทาง ปรากฏการณ์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ มีความเท่าเทียมกันทั่วโลก เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก สายน้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ เป็นต้น ความจริงเหล่านี้คือความยุติธรรม ไม่เคยมีการเลือกปฏิบัติ ไม่มีการเลือกชนชาติ ไม่มีการเลือกเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าจะเกิดพายุ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด ปรากฏการณ์เหล่านี้มนุษย์เราสัมผัสรับรู้ได้ มันเป็นไปตามธรรมะ เป็นไปตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลตามที่ควรจะเป็น
(2) “ความยุติธรรมตามกฎหมาย” คือสังคมสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขซับซ้อน เพื่อไปสู่ข้อยุติของปัญหาต่าง ๆ
ความยุติธรรมมีอยู่จริงหรือไม่ ?
ในสังคมของมนุษย์พยายามจะหาความยุติธรรมให้ได้ โดยบัญญัติศัพท์ต่าง ๆ ที่แสดงถึงความยุติธรรม คำนิยามของคำว่ายุติธรรม...
ความยุติธรรม (justice) หมายถึง ความเที่ยงธรรม (rectitude); ความชอบธรรม (righteousness); ความชอบด้วยเหตุผล (fairness); ความถูกต้อง (rightness) แต่ถึงแม้จะบัญญัติศัพท์นี้ให้พิสดารอย่างไร สังคมมนุษย์ก็ยังไม่เกิดความยุติธรรมขึ้นอยู่ดี? ดังเช่นความวุ่นวาย ความกังขาที่เกิดขึ้นในสังคมหลายๆ เหตุการณ์ เช่น
![]() |
https://goo.gl/d1hRbW |
>>> 14 ส.ค. 59 กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเฮลิคอปเตอร์ไปควบคุม ผู้ต้องหามือวางเพลิงเผาห้างโลตัส สาขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ทำงานอยู่บนแท่นเจาะน้ำมันกลางทะเลอ่าวไทย เมื่อกลับเข้าถึงฝั่งแล้วนำตัวผู้ต้องหาเข้าค่ายทหาร ทันที
ต่อมา 17 ส.ค.59...ตำรวจชุดคลี่คลายคดีได้สรุปว่า นายศักรินทร์ คฤหัส ผู้ต้องหาที่ถูกศาลออกหมายจับรายแรก และถูกนำตัวไปควบคุมที่ค่ายทหาร มทบ.41 มีแนวโน้มว่าจะมีการจับผิด ทำให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ถึงกับอารมณ์เสีย ตำหนิตำรวจชุดคลี่คลายคดีนี้ที่เร่งรีบจับโดยไม่ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน... (http://www.thairath.co.th/content/689832)
กรณี จนท.ตำรวจลงทุนนั่งฮอร์ฯ ไปจับผู้ต้องหาบนเรือกลางทะเล ต่อมาเมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า ผู้ต้องหาไม่มีความผิดจึงปล่อยตัวกลับบ้านไป...ซะงั้นจบข่าวคับพี่น้อง
??? สามัญชนอย่างเราๆ ขอถามว่า
กระบวนการสอบสวน สืบสวนทำกันอย่างไร?
มีหลักฐานหนักแน่นแล้วตั้งสมมติฐานกันด้วยวิธีการใด?
ถึงเกิดเหตุการณ์จับแพะชนแกะ ผิดตัว ผิดคนได้ซะขนาดนี้เชียวหรือ?
ถ้าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวคุณ พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ หรือบุคคลที่คุณรัก คุณจะรับได้ไหม? คุณจะสะเทือนใจเสียขวัญ เสียชื่อเสียง เสียเวลา เสียอารมณ์ขนาดไหน?
>>> กรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จวัดปากน้ำฯ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม เปี่ยมด้วยเมตตา ท่านเป็นประมุขสงฆ์ของประเทศ สร้างคุณประโยชน์มากมายให้กับชาติ ศาสนา มาตลอดต่อเนื่อง
มาวันหนึ่งโดนคนพาลยัดข้อหาว่า ครอบครองรถหรู สื่อก็ขยันประโคมข่าวจนกลายเป็นกระแสข่าวลบ สร้างความเข้าใจผิด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ให้เกิดขึ้นในสังคม...
จริงๆ แล้วรถที่ย้ำหนักหนาว่า หรู คือซากรถโบราณนั่นเอง ที่ญาติโยมนำมาบริจาค พระท่านรับมาด้วยความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แล้วรถโบราณคันดังกล่าวก็จอดไว้ในพิพิธภัณฑ์เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เพื่อให้เยาวชน ประชาชนทั่วไปได้มาชม ศึกษา ซึ่งรถคันเก่าๆ โบราณๆ ไม่ได้นำใช้ประโยชน์ส่วนตนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่อย่างใด
คำถาม ญาติโยมบริจาครถเก่า สมเด็จวัดปากน้ำ รับไว้ บริจาคเข้าพิพิธภัณฑ์วัดปากน้ำ อู่ประกอบรถผิดกฎหมาย อู่ปลอมแปลงเอกสาร สมเด็จวัดปากน้ำไม่รู้เรื่อง จะผิดได้ไง หรือว่าผิดใจใคร? เจาะลึกความจริงได้ที่นี่ (https://goo.gl/te2Tpz)
??? สามัญชนอย่างเราๆ อยากรู้ว่า...ความเสียหายที่เกิดขึ้น สร้างความเสื่อมเสียในชื่อเสียงต่อตัวบุคคลและต่อพระศาสนา ใครจะรับผิดชอบ?
ตย.เหตุการณ์ที่ 3
>>> กรณีเจ้าอาวาสวัดธรรมกาย มีผลงานกิจกรรมงานเผยแผ่มากมาย ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญเติบโตรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องกว่า 48 ปี สร้างวัดให้เกิดขึ้นอย่างมากมายทั้งในและต่างประเทศ สร้างคนดีให้เกิดขึ้นนับไม่ถ้วน ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อย และความมั่นคงให้กับสังคมมาโดยตลอดมา
วันหนึ่งโดนยัดเยียดข้อหา “รับของโจร” ทั้งที่ความจริงพระรับบริจาคโดยสุจริต ในท่ามกลางสาธารณชนนับหมื่น
พระนำเงินบริจาคไปสร้างศาสนสถาน โดนยัดคดีว่า “ฟอกเงิน” แล้วดีเอสอายก็พยายามเหลือเกินที่จะมาจับตัวท่านเจ้าอาวาสไปให้ได้เพื่ออะไร? เพื่อใคร?
??? สามัญชนอย่างเราๆ ถามว่า...นี้คือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการอำนวยความยุติธรรมให้เกิดความชอบธรรมได้จริงหรือ?
ตย.เหตุการณ์ที่ 4
>>> กรณี เมื่อ 2 ผู้ต้องหายื่นหนังสือต่อหน้า DSI....ความยุติธรรมที่พึ่งได้ แบบนี้หรือ?
รายชื่อผู้ต้องหา จำนวน 38 ราย
ลำดับที่ 30.นายไพบูลย์ นิติตะวัน
ข้อหา ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
(http://www.dsi.go.th/view.aspx?tid=t0000092)
พระสุวิทย์ วัดอ้อน้อย
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 57 ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา โดยมีชื่อของพระสุวิทย์รวมอยู่ด้วย (http://www.thairath.co.th/content/401775;
http://www.komchadluek.net/news/detail/178369; http://news.sanook.com/1429569/)
>>> สงสัยมากว่าทำไม
??? กรณีคดีกว้านซื้อที่ดินของพระสุวิทย์ วัดอ้อน้อย จึงไม่มีใครมาเปิดเผยความจริงบ้าง (http://news.sanook.com/1461329/)
??? ท่านสุวิทย์เอาเงินมาจากไหน? ใครเป็นผู้สนับสนุน? และครอบครองที่ดินไม่มีโฉนดจริงหรือ?
??? ทั้งกรมสอบสวนฯ หรือลูกศิษย์ก็น่าจะออกมาช่วยให้ความกระจ่างทางสื่อเพื่อเคลียร์ความบริสุทธิ์
จะได้ไม่ต้องคลางแคลงใจเรื่องสองมาตรฐานเนอะ
ตย.เหตุการณ์ที่ 5
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/MttMio |
>>> กรณี นายธวัชชัย อนุกูล อายุ 66 ปี อดีตเจ้าพนักงานที่ดินพังงา สาขาท้ายเหมือง ผู้ต้องหาคดีออกเอกสารสิทธิที่ดินโดยมิชอบหลายแปลงใน จ.ภูเก็ตและพังงา เสียชีวิตอย่างปริศนาภายในห้องขัง ตึกดีเอสไอ...โดนกระทำจน "ตับแตก" เสียชีวิต แต่ DSI บอกว่า แขวนคอตายด้วย "ถุงเท้ากับบานพับ"
23 ก.ย. 59 ผู้กำกับ สน.ทุ่งสองห้อง เปิดผลการสอบสวนนายแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต "ธวัชชัย อนุกูล" พบร่องรอยชี้ชัด ไม่ได้ผูกคอเสียชีวิต เชื่อว่าถูกทำร้ายที่ดีเอสไอ...(https://www.thaich8.com/news_detail/13576)
ต่อมาจากการชันสูตรศพของนิติเวช มีการแถลงข่าวโดยใช้วาทะกรรมทำลายสังคม ว่า "ถูกทำให้ตาย" แทน"ฆาตกรรม" เพื่อจะปฏิเสธความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นและไม่ต้องให้มีการสืบค้นว่าใครคือ "ฆาตกร" ตัวจริง ใช่หรือไม่? เจาะลึกประเด็นเด็ดที่นี่ (https://goo.gl/zgtEw0) (https://goo.gl/SMmkHa)
23 ก.ย. 59 ‘หมอเหรียญทอง’โพสต์แฉ ดีเอสไอปิดข้อมูล’ธวัชชัย’ ว่าผูกคอ แจ้งเพียงเป็นลมขณะส่งรพ. ...ทราบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ DSI แต่เพียงว่าให้ไปรับนายธวัชชัยที่มีอาการคล้ายเป็นลมเท่านั้น เจ้าหน้าที่ DSI กระทำการปกปิดข้อมูล ไม่ได้ให้ข้อมูลเลยว่านายธวัชชัยผูกคอตายแต่อย่างใด จนเมื่อมีการแถลงข่าวจากอธิบดี DSI ในวันที่ 30 ส.ค.59 หลังจากที่นายธวัชชัยได้ตายไปแล้ว (http://www.matichon.co.th/news/295849)
ผู้คนในสังคมต่างเฝ้าติดตามและเกิดความสงสัยในการตายอย่างปริศนาของนายธวัชชัย...ยิ่งจนท.พูดแบบเล่นสำนวนว่า "ถูกทำให้ตาย" แต่ไม่ใช่ "ฆาตกรรม" สังคมยิ่งเกิดความวกวน สับสน...กำลังกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนศรัทธาและความน่าเชื่อถือของกรมสอบสวนคดีพิเศษลงไปทุกวันๆ
ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในหน่วยงานนี้ ว่าจะยังสามารถดำรงความยุติธรรม คืนความถูกต้อง ชอบธรรม ให้กับประชาชนต่อไปได้อีกหรือ? หากเป็นเช่นนั้น หน่วยงานนี้ DSI "ความยุติธรรมที่พึ่งไม่ได้" ก็ควรจะยุบทิ้งเสีย เพราะหมดความน่าเชื่อถือเสียแล้ว ไร้สปิริต ที่จะรับผิดรับชอบ?
อ่านมาถึงตรงนี้ไม่ทราบว่าท่านทั้งหลายพอจะเข้าใจ เข้าถึงความยุติธรรมว่าคืออะไร อยู่ที่ไหน จะหาเจอได้อย่างไร ในดินแดนกะลาแลนด์กันหรือยัง? กว่าจะเจอเทพีแห่งความยุติธรรม แต่ละท่านจะง่ายหรือยากกว่าการงมเข็มในมหาสมุทร ก็พิจารณากันเองตามสบายและเดินหากันต่อนะค่ะ...เพราะเวลานี้มันไร้ตัวตนจริงๆ ค่ะ
![]() |
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/G6Bc7a |
เป้าหมายของการทำให้เกิดความยุติธรรม คือความยุติธรรมที่สังคมและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และศรัทธาในผลลัพธ์ที่ปรากฏ....การสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรมด้วยการทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในความยุติธรรมจึงต้องมุ่งไปที่ความชอบธรรมของขั้นตอนและวิธีการของการทำให้เกิดความยุติธรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือผลลัพธ์ในแต่ละเรื่องหรือแต่ละกรณี
ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องสร้างความโปร่งใสในทุกขั้นตอนของกระบวนการ จึงจะเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นแก่สังคมโดยทั่วไป
ก่อนจบขอน้อมนำความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ที่ว่า...
“...กฎหมายมิใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตามแม้ไม่รู้กฎหมาย แต่ถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยความสุจริตแล้ว ควรจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ ตรงกันข้ามคนที่รู้กฎหมายแต่ใช้กฎหมายไปในทางทุจริตควรต้องถือว่าทุจริต...” (ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒)
เรียบเรียงโดย มะลิ สไมล์
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง:
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/538818#sthash.IBLwHSH3.dpuf
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374562796
http://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=396#.V-TluvmLTIU
http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=1460&articlegroup_id=278
https://goo.gl/HIBdxo
https://goo.gl/NKVt6C
https://goo.gl/4TN55u
35 ความคิดเห็น: