ปัญหาซึมลึก ภายในศาสนจักร เนื่องแต่ ‘พศ.’ : ปัญหาระหว่าง “มส.” กับ “พศ.” ได้เกิดขึ้นจริง...ใครที่เป็น “พุทธ” ย่อมบังเกิดอาการ “หวาดเสียว”

01:24 Mali_Smile1978 12 Comments

                        ที่มา https://www.matichon.co.th/news/618002


     ไม่ว่าจะมองตามหลักแห่ง “สภาวธรรม” ไม่ว่าจะมองผ่านกระบวนการแห่ง “อริยสัจ 4” ความจริงอันประเสริฐ
ปัญหาระหว่าง “มส.” กับ “พศ.” ได้เกิดขึ้นจริง

หากมองจากความเป็นจริงที่ มส. คือมหาเถรสมาคม หากมองจากความเป็นจริงที่ พศ. คือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


ใครที่เป็น “พุทธ” ย่อมบังเกิดอาการ “หวาดเสียว”

เพราะตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่ว่าที่ประกาศและบังคับใช้เมื่อ พ.ศ.2505 ไม่ว่าที่ประกาศและบังคับใช้หลังจากแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ.2535
ระบุความรับผิดชอบของ “พศ.” เด่นชัด

เด่นชัดโดยการกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของมหาเถรสมาคม


นั่นก็คือ รับใช้และสนองงานให้ “มส.”


ถามว่าแล้ว “ปัญหา” อันกลายเป็นตัว “ทุกข์” ของความสัมพันธ์ระหว่างมหาเถรสมาคมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีเหตุปัจจัยมาจากอะไร
คำตอบก็คือ ส่อแววจะกลับหัวกลับหาง

แทนที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะเป็นเลขานุการให้กับมหาเถรสมาคมทำท่าว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นเสียแล้ว

>> เห็นได้จากกรณีของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
>> เห็นได้จากกรณีของการแต่งตั้ง “เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา” อันมีความไม่พอใจกรุ่นมาจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เห็นได้ชัดว่า “พศ.” ทำท่าจะอยู่เหนือกว่า “มส.”

รูปธรรมก็คือ การประชุมมหาเถรสมาคม 2 ครั้ง ทางกรรมการมหาเถรสมาคมต้องการจะสอบถามความอื้อฉาวมากหลายไม่ว่าเรื่อง “เงินทอน” ไม่ว่าเรื่องเงินของโรงเรียนพระปริยัติธรรมจาก พศ.
ที่มา https://www.thairath.co.th/content/1030434#cxrecs_s
>> แต่ผู้อำนวยการ พศ.ไม่เข้าประชุมทั้ง 2 ครั้ง

หลายฝ่ายประจักษ์ในเจตนาดีของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่จะต้องการกวาดล้างและทำความสะอาดภายในวงการสงฆ์

โดยถือเอาวัดและโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็น “เป้า”

การกวาดล้างและทำความสะอาดนี้มีการขานรับจากสังคมอย่างคึกคัก กว้างขวาง เพราะเกิดความเอือมระอามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

>> แต่คำถามก็คือ เรื่องนี้มีการปรึกษากับ “มส.” หรือไม่
ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ก็คือ แม้ พศ.ต้องการจะเข้าไปมีบทบาทในการจัดระเบียบวัดและพระอย่างไร แต่ก็ต้องกระทำโดยผ่านคณะปกครองของสงฆ์ ที่สำคัญก็คือโดยมติของมหาเถรสมาคม

ตัวอย่างที่เห็นจากกรณีของวัดพระธรรมกายก็เด่นชัด
ใช่ว่าทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะสามารถทำอะไรได้ตามที่ต้องการ เพราะว่าต้องผ่านเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล

ต่อวัดอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ยิ่งต่อโรงเรียนพระปริยัติธรรมยิ่งมีความละเอียดอ่อน

ทั้งหมดนี้คือตัวปัญหา ทั้งหมดนี้คือตัวทุกข์ ซึ่งไม่ว่ามหาเถรสมาคม ไม่ว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องทำความเข้าใจตามความเป็นจริง

น่าแปลกที่ความขัดแย้งอันซึมลึกระหว่างมหาเถรสมาคมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกลับไม่อยู่ในความรับรู้ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

กลับมองเห็นเป็นเรื่อง “น่าขัน”

เรื่องโลกๆ โดยทั่วไปท่านรัฐมนตรีอาจเห็นเป็นความขำขันได้ แต่เรื่องของศาสนา เรื่องของวัด เรื่องของพระ ไม่ควรเลย

เพราะอาจก่อปัญหาระหว่าง “ศาสนจักร” กับ “อาณาจักร” ได้


ขอบคุณเนื้อหาและภาพ 
- คอลัมน์หน้า 3 มติชน https://www.matichon.co.th/news/618002
https://www.thairath.co.th/content/1030434#cxrecs_s


12 ความคิดเห็น:

  1. ผอ.พศ. คือการสร้างประโยชน์ ประสานประชาสัมพันธ์ เป็นกันชนไม่ให้คนเข้ามาโจมตีพระสงฆ์
    การทุจริตเกิดจากข้าราชการบางคน พระท่านเป็นเหยื่อ
    เป็นผู้เสียหาย แต่กลับ มีการออกข่าวเสมือนเจ้าอาวาสวัดต่างๆ
    เป็นผู้ทุจริตโกงกินงบประมาณแผ่นดินดังกล่าวเสียเอง
    ทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาบันพระพุทธศาสนาโดยภาพรวม
    ย้ำว่า ผอ.สำนักพุทธหรือใคร ไม่มีสิทธิ์มาตัดสินพระ
    แต่ ณ ปัจจุบันดูเหมือนมาเป็นมือปราบเสียเอง ถูกแล้วหรือ?
    ทำหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์ และมหาเถรสมาคม อย่างถูกต้องแล้วหรือไม่? ตกลงยุคนี้ คือยุคฆราวาสปกครอง สงฆ์แล้วใช่หรือไม่

    ตอบลบ
  2. ผู้ปกครองควรรอบคอบก่อนสายเกินแก้ ถ้าพระพุทธศาสนาถูกทำลาย

    ตอบลบ
  3. ผู้ปกครองควรรอบคอบก่อนสายเกินแก้ ถ้าพระพุทธศาสนาถูกทำลาย

    ตอบลบ
  4. อีกไม่นานเราคงเห็นผอ.พศ.คนแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่มีพระทั้งประเทศออกมาบิณฑบาตให้ลาออก หากยังมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้

    ตอบลบ
  5. การขาดความเคารพในพระรัตนตรัยคือต้นเหตุของปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น ควรพิจารณาเลือกคนที่มีวุฒิภาวะ นับถือพระพุทธศาสนา มีความเคารพต่อพระรัตนตรัย มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการความสะดวกในการบริหารการคณะสงฆ์

    ตอบลบ
  6. การขาดความเคารพในพระรัตนตรัยคือต้นเหตุของปัญหานี้

    ตอบลบ
  7. การขาดความเคารพในพระรัตนตรัยคือต้นเหตุของปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น ควรพิจารณาเลือกคนที่มีวุฒิภาวะ นับถือพระพุทธศาสนา มีความเคารพต่อพระรัตนตรัย มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการความสะดวกในการบริหารการคณะสงฆ์

    ตอบลบ
  8. นี่หรือผู้มีหน้าที่สนองงานสงฆ์

    ถ้ามีเจตนาดี ภาพพจน์รวมของคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนาก็จะไม่มีภาพเสียเลย ถ้าผู้ต้องคอยสนองงานสงฆ์ทำหน้าที่ของตนให้บริบูรณ์ แต่ภาพพจน์ปัจจุบันของคณะสงฆ์เสียหาย นั้นก็แสดงถึงเจตนาของผู้คอยสนองงานว่าเป็นอย่างอื่นไป

    ไม่ว่าใครก็ตามหากเป็นชาวพุทธแท้จริง ถ้ารักศรัทธาในพระพุทธศาสนาของตน มีเหตุอะไรเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาก็ต้องปรับปรุงแก้ไขและป้องกันกันไป โดยสืบสาวหาเหตุถึงต้นเค้าให้ได้ แล้วไปแก้ให้ถูกจุด ปัญหาก็จะหมด ภาพรวมของพระพุทธศาสนาก็จะไม่มีเสียหาย เหมือนอย่างที่ศาสนิกอื่น ปัญหาภายในศาสนาของพวกเขาก็มีเหมือนกัน แต่พวกเขาไม่ออกมาให้ข่าวว่าร้ายศาสนาเขาเสียหายเลย
    เรื่องนี้ถ้าผู้ดูแลสน.พุทธมีความปรารถนาดีจริงๆ ก็จะไม่เอาไฟในนำออก ไม่เอาไฟนอกนำเข้า สืบหาถึงต้นเหตุ ซึ่งความจริงก็รู้อยู่แล้ว ก็ไปจัดการตรงนั้นให้เรียบร้อย แต่ถ้าเจตนาแอบแฝงเป็นอย่างอื่นเที่ยวโพทนาให้ภาพพระพุทธศาสนาเสียหายตลอด เหมือนกับเอาปัญหาความผิดพลาดบางอย่างของสมาชิกในครอบครัวพ่อแม่ตนมาโพทนาให้ชาวบ้านรู้ จะเรียกว่า "คนกตัญญู" ได้อย่างไร ?
    "เหตุที่เกิดทั้งหมดเป็นเรื่องของข้าราชการบางคนกระทำการทุจริต ไม่เกี่ยวกับพระ"

    ขอย้ำว่า ไม่ใช่ไม่ให้แก้ไขอะไร แก้ไขได้ เอาผิดคนทำผิดได้ แต่ต้องไม่มีอคติ ๔ และทำไปตามหน้าที่ของตน ตามกระบวนการที่เขามีอยู่แล้ว อย่าไปก้าวก่าย อย่าเที่ยวให้สื่อให้ข่าวให้คณะสงฆ์เสียหาย ก็ใช้ได้แล้ว

    ตอบลบ
  9. การแก้ปัญหาทางพระพุทธศาสนา หน่วยงานทางพระพุทธศาสนาต้องแก้ไขร่วมกับคณะสงฆ์โดยผ่านมหาเถรสมาคม ไม่ใช่เข้ามาเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆให้พระสงฆ์ท่านทำตามโดยไม่ผ่านการเห็นชอบจากคณะสงฆ์ พระสงฆ์ไม่ได้เป็นสามัญชน แต่อยู่เพศสมณะ เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชาวพุทธนับถือว่า เป็นบรมศาสดา เป็นบรมครู การจะออกคำสั่งใดๆให้ท่านปฏิบัติ ต้องทำด้วยความเคารพและเป็นไปตามบทพระธรรมวินัย การใช้อำนาจในการปกครองแบบคนทั่วไปเอาใช้กับพระสงฆ์ไม่เป็นการบังควรอย่างยิ่ง คณะรัฐบาลถ้าพุทธศาสนิกชนกันอยู่ได้โปรดพิจารณาด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  10. ผอ พศ เป็นฆราวาสไม่สมควรที่จะมาจัดระเบียบโดยพละการ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของท่าน ที่จะมาทำตัวควบคุมพระ

    ตอบลบ
  11. ทำดี ทำถูก สังคมชื่นชมและได้บุญ แต่ถ้าทำผิด ทำไม่ดี สังคมติเตียนและได้บาปครับ

    ตอบลบ
  12. พระพุทธศาสนาในไทยกำลังมีภัย?
    เหตุใดรัฐบาลนี้จึงใช้กฏหมายพิเศษ ม.44 แต่งตั้งผู้ที่นับถือศาสนาอื่น มาดำรงตำแหน่ง ผอ.พศ. แล้วพฤติกรรมของผอ.พศ.คนใหม่นี้ ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง ก็ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องส่งเสริมสนับสนุนงานของคณะสงฆ์ตามกฏหมายแต่อย่างใด ในการนี้ เป็นที่กังขาของชาวพุทธทั่วประเทศยิ่งนัก

    ตอบลบ