ประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ของสมาธิ 76 ข้อที่คุณอาจจะยังไม่ทราบ (ตอนที่ 1)

06:02 Mali_Smile1978 3 Comments

ที่มา: https://goo.gl/fYziGB


     เราทุกคนมักได้ยินว่า การฝึกสมาธิดีต่อเรานะ แล้วคำว่า ดี มันดีขนาดไหน? อะไรบ้าง?  ผมตั้งใจศึกษาและสรุปรวบรวมจากบทความจำนวนมากเกี่ยวกับข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องประโยชน์ของการทำสมาธิ มากกว่า 100 งานวิจัยได้รับการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อค้นพบดังกล่าว เรื่องประโยชน์ของสมาธิได้ถึง 76 ข้อ (แบ่งจัดกลุ่มได้ 46 หัวข้อย่อย)

     คุณจะรู้สึกทึ้งเมื่อได้อ่านประโยชน์ของสมาธิเหล่านี้ ผลการศึกษาเรื่องสมาธิหลายชิ้น ระบุชัดว่า การฝึกสมาธิแม้เพียง 20 นาทีต่อวัน 2-3 วันต่อสัปดาห์ เป็นการเพียงพอแล้วที่จะได้สัมผัสประสบการณ์ถึงประโยชน์ของสมาธิ



ที่มา : http://liveanddare.com/benefits-of-meditation/

1. ประโยชน์ต่อสมองและอารมณ์

สมาธิเปรียบเหมือนวิตามินรวมสำหรับสมอง 

มีประโยชน์ที่จะกินได้ทุกๆ วัน




การฝึกสมาธิช่วยลดภาวะความซึมเศร้า

     ในการศึกษาวิจัยที่โรงเรียนขนาดกลาง 5 แห่งในเบลเยี่ยมซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมประมาณ 400 คน (อายุ 13 ~ 20 ปี) ศาสตราจารย์ฟิลิปเรส สรุปได้ว่า "นักเรียนที่ปฏิบัติตามโปรแกรมฝึกสติในชั้นเรียน พบว่า อาการซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเครียดลดลง ถึงหกเดือนหลังจากนั้น นอกจากนี้ นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสน้อยที่จะพัฒนามีอาการซึมเศร้าอย่างเด่นชัด"

     อีกหนึ่งการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทำการศึกษากับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าในอดีต สรุปได้ว่า การทำสมาธิทำให้ลดภาวะการย้ำคิด จมลึกอยู่กับความคิดและความเชื่อที่ผิดปกติ

       อีกข้อสรุป พบว่า การทำสมาธิแบบเจริญสติ อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะซึมเศร้าในระดับใกล้เคียงกับการรักษาด้วยยาต้านอาการซึมเศร้า "
ที่มา: ScienceDaily, Link Springer, Jama Network

การทำสมาธิแบบเจริญสติช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าในมารดา
     หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงได้เข้าร่วมการฝึกโยคะแบบเจริญสติ ระยะเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า อาการซึมเศร้าลดลงอย่างมาก, ผลการศึกษาจากโครงการนำร่องการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยมิชิแกน

     มารดาจะมีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางอารมณ์อย่างใกล้ชิดมากขึ้นต่อทารกในครรภ์ ผลการวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร เรื่องการบำบัดด้วยวิธีเสริมในการปฏิบัติการทางคลินิก
ที่มา : Medical News Today

การทำสมาธิช่วยควบคุมความผิดปกติของอารมณ์และความวิตกกังวล
นี่เป็นข้อสรุปของการศึกษาแบบสุ่มควบคุมกว่า 20 แบบที่นำมาจาก PubMed, PsycInfo และ Cochrane Databases ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคนิคการทำสมาธิสวดมนต์, โยคะ, ผลของความผ่อนคลาย

การวิจัยสรุปได้ว่า การทำสมาธิแบบเจริญสติอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาความวิตกกังวลในระดับใกล้เคียงกันกับการรักษาด้วยยาต้านโรคซึมเศร้า

ที่มา : The Journal of Alternative and Complementary Medicine, Jama Network

จากการศึกษา พบว่า การทำสมาธิมีประสิทธิผลในการรักษาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในฐานะยาแก้ซึมเศร้า ... 



การทำสมาธิช่วยลดความเครียดและความกังวลโดยทั่วไป

     การศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ระบุว่า การปฏิบัติของ "การทำสมาธิเปิดการตรวจสอบ" (เช่น ฝึกวิปัสสนา) ช่วยลดความหนาแน่นของสารสีเทาในสมองบริเวณที่เกี่ยวกับความวิตกกังวลและความเครียด นักปฏิบัติสมาธิสามารถที่จะรักษาสภาวะใจยิ่งขึ้น ช่วงเวลาต่อช่วงเวลาต่อกระแสของสิ่งเร้าที่พวกเขาสัมผัสได้และไม่ค่อยมีแนวโน้มที่พวกเขาจะ "สะดุด/ ติดขัด" ต่อการกระตุ้นใด ๆ "การฝึกสมาธิเปิดการตรวจสอบ เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบที่ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเนื้อหาของประสบการณ์จากช่วงเวลาต่อช่วงเวลา ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่จะรับรู้ธรรมชาติทางอารมณ์และรูปแบบความรู้ความเข้าใจ


ที่มา : NCBI, Wiley Online Library, The American Journal of Psychiatry, ScienceDirect, American Psychological Association, American Psychosomtic Medicine Journal, Medical News Today

การทำสมาธิช่วยลดอาการของโรคตื่นตระหนก


     ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Psychiatry ผู้ป่วย 22 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลหรือโรคตื่นตระหนกถูกส่งไปฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย 3 เดือน ผลปรากฏว่า 20 คนในผู้ป่วยเหล่านั้น ผลกระทบจากความหวาดกลัวและความวิตกกังวลลดลงอย่างมากและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รับการรักษาในขั้นติดตามผลต่อไป
Source: American Journal of Psychiatry




ที่มา : http://liveanddare.com/benefits-of-meditation/

สมาธิช่วยเพิ่มสารสีเทาเรื่องความจดจ่อในสมอง

     นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองกลุ่มหนึ่งของฮาร์วาด ทำการทดลองกับกลุ่มคนทั่วไป 16 คนที่ได้สมัครเข้าร่วมคอร์สฝึกสติ, มีการแนะนำการทำสมาธิและการบูรณาการสติเข้ากับกิจกรรมประจำวัน
ดร.ซาร่า ลาซาร์ ( Sara Lazar, PhD.) ได้รายงานผลการศึกษาดังนี้ ในตอนท้ายของการสแกน MRI แสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของสารสีเทาเพิ่มขึ้นในพื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ, การควบคุมอารมณ์, ความรู้สึกของตัวเองและการมีมุมมอง
การศึกษาอื่นๆ ยังพบว่า ส่วนหนึ่งของสมองที่สำคัญต่อความจำและพื้นที่ส่วนหน้าของสารสีเทาขยายใหญ่ขึ้น สำหรับผู้ที่ทำสมาธิระยะยาว
ที่มา : Psychiatry Research Neuroimaging, ScienceDirect

สมาธิช่วยเพิ่มพลังจิตใจ ความรอบคอบ และอาจจะช่วยลดความจำเป็นในการนอนหลับ

     งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเคนตั๊กกี้ ผู้เข้าร่วมได้รับการทดสอบใน 4 เงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนี้
กลุ่มควบคุม(C), กลุ่มนอน (N), กลุ่มทำสมาธิ(M), และกลุ่มอดนอนบวกกับทำสมาธิ
ผู้ไม่เคยทำสมาธิ, ผู้ทำสมาธิที่เป็นสามเณร, และผู้มีประสบการณ์ในการทำสมาธิเป็นกลุ่มคนในการทดสอบครั้งนี้
ผลการศึกษาพบว่า
การทำสมาธิแม้ในระยะเวลาสั้นๆ ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพแม้กระทั้งผู้ทำสมาธิที่เป็นสามเณร ผู้ทำสมาธิระยะยาว ใช้เวลาทำสมาธิหลายชั่วโมงมีความสัมพันธ์กับการลดลงของเวลาในการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบอายุและเพศกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ทำสมาธิ ไม่ว่าการทำสมาธิสามารถแทนที่ส่วนของการนอนหลับได้จริงหรือการชดใช้การนอนหลับได้ ยังคงต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป
ที่มา : NCBI, DoctorsOnTM, Time Magazine

การทำสมาธิในระยะยาวช่วยเพิ่มความสามารถในการสร้างคลื่นแกมมาในสมอง

     ในการศึกษากับพระภิกษุทิเบต ทำการศึกษาโดยนักประสาทวิทยา Richard Davidson จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน พบว่า สามเณรที่ทำสมาธิ "ปฏิกิริยาแกมมามีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่สำหรับพระมีมากที่สุด พบว่า มีปฏิกิริยาแกมม่าเพิ่มขนาดใหญ่อย่างมาก ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อน ในวรรณกรรมด้านประสาทวิทยา "
ที่มา: The Wall Street Journal

การทำสมาธิช่วยลดแอลกอฮอล์และสารเสพติด

     3 งานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเรื่อง การทำสมาธิแบบวิปัสสนากับกลุ่มคนที่ถูกจองจำ พบว่า
สามารถช่วยลดความอยากแอลกอฮอล์และสารเสพติดได้
ที่มา: Journal Of Alternative and Complementary Medicine





2. ด้านจิตใจและศักยภาพ

การทำสมาธิช่วยเพิ่มความสนใจ ความตั้งใจและความสามารถในการทำงานภายใต้ความเครียด


     การศึกษาที่นำโดยแคทเธอรีน แม็คลีน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างการฝึกสมาธิและหลังการฝึก อาสาสมัครมีทักษะเพิ่มขึ้นในการรักษาความสนใจจดจ่อโดยเฉพาะในงานที่ทำซ้ำและน่าเบื่อ
ยังมีการศึกษาอื่นๆ แสดงให้เห็นชัดว่า แม้จะมีการฝึกสมาธิเพียง 20 นาทีต่อวัน นักเรียนยังสามารถพัฒนาศักยภาพในการทดสอบทักษะทางปัญญา ในบางกรณีทำได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทำสมาธิถึง 10 เท่า พวกเขายังทำงานได้ดีขึ้นกับงานประมวลผลข้อมูลที่มีกำหนดเวลาซึ่งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นความเครียด
     ในความเป็นจริงมีหลักฐานว่า ผู้ทำสมาธิมีเยื่อหุ้มสมองหนาขึ้น (prefrontal cortex) และ insula anterior ฝั่งขวาและยังมีผลต่อว่า การทำสมาธิอาจชดเชยการสูญเสียความสามารถทางความรู้ความเข้าใจในวัยชราได้
ที่มา: นิตยสารไทม์, NCBI, Link Springer

การทำสมาธิช่วยเพิ่มการประมวลผลข้อมูลและการตัดสินใจ

     Eileen Luders ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก UCLA Laboratory of Neuro Imaging และทีมงาน ได้พบว่า ผู้ทำสมาธิในระยะยาวมีปริมาณการหมุนวนที่ใหญ่ขึ้น ("รอยหยัก" ของเยื่อบุสมอง (cortex) ซึ่งอาจทำให้สมองสามารถประมวลผลข้อมูลได้เร็วกว่า) กว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้ทำสมาธิ นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า การหมุนวนมีผลทำให้สมองดีขึ้นในการประมวลผลข้อมูล,การตัดสินใจ, สร้างความทรงจำและพัฒนาความตั้งใจ
ที่มา: UCLA Newsroom

การทำสมาธิช่วยให้คุณมีพลังจิต, ความยืดหยุ่นและความฉลาดทางอารมณ์
     นักจิตอายุรเวช Dr. Ron Alexander รายงานในหนังสือของเขาชื่อ Wise Mind, Open Mind (จิตใจที่ฉลาดและจิตใจที่เปิดกว้าง) ว่า เป็นกระบวนการในการควบคุมจิตใจได้โดยผ่านการทำสมาธิ ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งทางจิตใจ, ความยืดหยุ่นและความฉลาดทางอารมณ์
ที่มา: ดร. รอน อเล็กซานเด (Dr. Ron Alexander)



ที่มา : http://liveanddare.com/benefits-of-meditation/

สมาธิทำให้คุณเข้มแข็งมากขึ้นที่จะต่อสู้กับความเจ็บปวด
     กลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยมอนทรีอัล ได้เปิดเผย ผู้นำการทำสมาธิแบบเซน 13 คนและอีก 13 คนที่ไม่ได้ฝึกสมาธิ เปรียบเทียบถึงระดับความเจ็บปวดจากความร้อน ขณะวัดการทำงานของสมองของพวกเขาในเครื่องสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (fMRI) สิ่งที่พวกเขาค้นพบคือ การทำสมาธิเซน (เรียกว่า zazen) กลุ่มผู้ทำสมาธิรายงานความเจ็บปวดน้อยลง ในความเป็นจริงพวกเขารายงานอาการปวดน้อยกว่าอาการทางระบบประสาทของพวกเขาที่ระบุใน fMRI
ดังนั้น แม้ว่าสมองของพวกเขาอาจได้รับจำนวนความเจ็บปวดเดียวกัน แต่ในใจของพวกเขามีความเจ็บปวดน้อยลงจริง
ที่มา: Time Magazine, NCBI, David Lynch Foundation

การทำสมาธิช่วยลดอาการปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีน


     ในการทดลองที่ดำเนินการโดย Wake Forest Baptist Medical Center อาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 15 คนเป็นคนใหม่ที่เข้ารับการฝึกสมาธิได้เข้าเรียนคอร์สสมาธิ 20 นาที จำนวน 4 ครั้ง เรียนรู้ฝึกสมาธิกำหนดสติที่ลมหายใจ ทั้งก่อนและหลังการฝึกสมาธิ สมองของผู้เข้าทดลองที่ได้รับการตรวจโดยใช้ ASL MRI ขณะที่ความปวดลุกลามพวกเขาด้วยการใช้ความร้อน ดร.ฟาเดล ซีแดน (Fadel Zeidan, Ph. D.,) หัวหน้าทีมศึกษาเรื่องนี้ได้อธิบายว่า

     นี่คือการศึกษาครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า การฝึกสมาธิเล็กน้อยเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง

สามารถลดทั้งประสบการณ์ของความเจ็บปวดและความเจ็บปวดที่กระตุ้นจากปฏิกิริยาสมอง

     เราพบว่า มีผลกระทบอย่างมาก -ต่อการลดความรุนแรงของความเจ็บปวดลงถึงร้อยละ 40 และการลดความไม่พึงพอใจต่อความเจ็บปวดได้ 57 เปอร์เซ็นต์ การทำสมาธิมีผลต่อการลดความเจ็บปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีนหรือยาลดความเจ็บปวดตัวอื่น ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วยาเหล่านี้จะช่วยลดระดับความปวดลงได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ "
ที่มา: Huffington Post


การทำสมาธิช่วยในการจัดการภาวะซึมเศร้า (โรคสมาธิสั้น)
     การศึกษาที่ทำกับผู้ป่วยสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ 50 ราย กลุ่มที่ถูกส่งไป MBCT (การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ) มีแนวโน้ม ช่วยลดความกระวนกระวายใจ,ความหุนหันพลันแล่น และเพิ่มทักษะ"การกระทำด้วยความตระหนักรู้" มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาโดยรวมของอาการไม่ตั้งใจ

ที่มา: Clinical Neurophysiology Journal, DoctorsOnTM


การทำสมาธิช่วยเพิ่มความสามารถการรักษาความสนใจแม้ว่ามีการรบกวน

     การศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอมมอรี่ (Emory University) เมืองแอตแลนต้า แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำสมาธิมามาก แสดงให้เห็นถึง การเชื่อมต่อภายในเครือข่ายสมอง

     ส่วนของการควบคุมความสนใจที่เพิ่มมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทเหล่านี้ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะทางปัญญา เช่น การรักษาความสนใจและการปลดปล่อยจากสิ่งที่ทำให้ไขว้เขว นอกจากนี้ประโยชน์ของการฝึกสมาธิยังช่วยรักษาสภาวะปกติของสติระหว่างวันอีกด้วย 

ที่มา: Frontiers Journal


ที่มา: google.com

การทำสมาธิช่วยเพิ่มการเรียนรู้, ความจำและความตระหนักในตนเอง

     การฝึกสมาธิในระยะยาวจะเพิ่มความหนาแน่นของสารสีเทาในพื้นที่ต่างๆ สมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้, หน่วยความจำ, ความตระหนักในตนเอง, ความเมตตา, ความใคร่ครวญพิจารณา
ที่มา: NCBI

การทำสมาธิแบบเจริญสติช่วยเพิ่มการเรียกคืนหน่วยความจำได้อย่างรวดเร็ว
     อ้างอิงจากแคทเธอรีน เคอริ์ของ ศูนย์มาร์ติโนส์ภาพทางชีวการแพทย์และศูนย์วิจัย Osher "การทำสมาธิแบบเจริญสติ ทำให้เพิ่มความสามารถทางจิตจำนวนมากรวมถึงการเรียกคืนหน่วยความจำได้อย่างรวดเร็ว "
ที่มา : PsychCentral

การทำสมาธิช่วยพัฒนาอารมณ์และความสงบสุขทางจิตใจ
     นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมเทรนต์ ประเทศอังกฤษ พบว่า เมื่อผู้เข้าร่วมที่มีปัญหาด้านความเครียดและอารมณ์ ได้เข้ารับการฝึกสมาธิ พวกเขามีประสบการณ์ช่วยในเรื่องการพัฒนาความสงบสุขทางจิตใจ
ที่มา: Link Springer

การทำสมาธิช่วยป้องกันไม่ให้คุณตกอยู่ในกับดักของการทำงานหลายอย่างบ่อยเกินไป
     การทำงานหลายอย่างไม่ได้เป็นเพียงตำนานการผลิตที่เป็นอันตราย แต่ก็เป็นแหล่งที่มาของความตึงเครียด “การเปลี่ยนเกียร์” ระหว่างกิจกรรมต่างๆ มีค่าใช้จ่ายสำหรับสมองและก่อให้เกิด
ความรู้สึกของความไขว้เขวและความไม่พอใจจากงานที่กำลังทำอยู่        ในการวิจัยที่ทำโดยมหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยแอริโซนา  บุคลากรได้รับการฝึกอบรม 8 สัปดาห์ ในสองเรื่อง คือ
การฝึกสมาธิแบบเจริญสติ รวมทั้งเทคนิคการผ่อนคลายร่างกาย และการได้รับความเครียด
     การทดสอบมีงานที่หลากหลายให้ทำทั้งก่อนและหลังการฝึกสมาธิ กลุ่มพนักงานที่ได้ทำสมาธิ พบว่า มีระดับความเครียดที่ต่ำลงและมีความจำดีขึ้นต่องานที่พวกเขาได้ทำ พวกเขายังเปลี่ยนงานน้อยลงและยังคงจดจ่อต่องานได้นานขึ้น
แหล่งที่มา: ACM Digital Library


ที่มา : http://liveanddare.com/benefits-of-meditation/

การทำสมาธิช่วยให้เราจัดสรรทรัพยากรทางสมองที่จำกัด
     เมื่อสมองถูกนำเสนอให้สนใจในสองเป้าหมาย และสมองจะถูกเรียกคืนตำแหน่งเดิมทันทีต่อจากอีกเป้าหมาย (ความแตกต่างครึ่งวินาที) ซึ่งอันที่สองมักจะไม่เห็น สิ่งนี้เรียกว่า “การกะพริบความสนใจ” (attentional-blink)

   ในการทดลองที่ทำโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กระแสของตัวอักษรแบบสุ่มได้ถูกแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอักษรผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในแต่ละชุดมีตัวเลขหนึ่งหรือสอง หรือหน้าจอว่างเปล่าจะปรากฏอยู่ตรงกลาง และต่อมาผู้เข้าร่วมทดลองถูกถามทันทีหลังจากกลุ่มตัวอักษรสิ้นสุดลง ให้พิมพ์ตัวเลขที่เห็น พวกเขาถูกถามด้วยว่าพวกเขาคิดว่าหน้าจอว่างถูกแสดงหรือไม่ 
     กลุ่มทดลองนี้ที่ทำสมาธิวิปัสสนาอย่างเข้มข้นภายในระยะเวลาสามเดือน พบว่า มีการควบคุมที่ดีขึ้นด้านการกระจายความสนใจและการรับรู้แหล่งที่มา พวกเขาพบว่า การจัดสรรของสมองน้อยลง สำหรับที่มาแต่ละตัวอักษรที่แสดง ซึ่งส่งผลต่อการลดลงของขนาด “การกะพริบความสนใจ” (attentional-blink)
ที่มา: PLOS Biology

การทำสมาธิช่วยเพิ่มการประมวลผลแบบ visuospatial และหน่วยความจำด้านการทำงาน
     การวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้เพียงสี่ช่วงเวลาของการฝึกสมาธิแบบเจริญสติ, ผู้เข้าร่วมได้รับการพัฒนาในเรื่องการประมวลผลแบบ visuospatial, หน่วยความจำในการทำงานและหน่วยทำงานด้านบริหาร
ที่มา: ScienceDirect

การทำสมาธิเตรียมตัวให้คุณจัดการกับเหตุการณ์เครียด
     การศึกษาจากสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศอินเดีย ทำการทดลองกับผู้ใหญ่ 32 คน ที่ไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อน พบว่า ถ้ามีการฝึกสมาธิก่อนเจอเหตุการณ์เครียด ผลกระทบของความเครียดลดลง
ที่มา: 
The Journal of Alternative and Complementary Medicine

การทำสมาธิแบบเจริญสติส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
     งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยไลเดน (Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ แสดงให้เห็นว่า การทำสมาธิ "เปิดการตรวจสอบ" (การตรวจสอบที่ปราศจากการโต้ตอบต่อประสบการณ์จากช่วงเวลาต่อช่วงเวลา) มีผลในเชิงบวกต่อความคิดสร้างสรรค์และความคิดที่แตกต่าง     

     ผู้เข้าร่วมที่ได้ปฏิบัติสมาธิ ทำงานได้ดีขึ้นในชิ้นงานที่ต้องความสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยความคิดใหม่ ๆ
ที่มา: The Journal of Alternative and Complementary Medicine



                                                              Translated by Mali Smile

ขอบคุณข้อมูล
 http://liveanddare.com/benefits-of-meditation/

3 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดของสมาธิคุณที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแบบหยาบๆ แต่โดยเป้าหมายของสมาธิในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ธรรม...และเป็นสุขที่ไม่ควรกลัว...คือสุขจากฌานสมาธิ ดังที่ตรัสไว้ว่า...
    อัคคิเวสสนะ เรานั้น ได้มีความรู้สึกอันแล่นไปตามสติว่า นี่แล หนทางแห่งการตรัสรู้. อัคคิเวสสนะ เรานั้น
    ได้ปริวิตกว่า เราจะกลัวความสุข ซึ่งเป็นความสุขนอกจากกามทั้งหลาย นอกจากอกุศลธรรมแลหรือ. อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า เราไม่ควรกลัวต่อสุขซึ่งเป็นสุขนอกจากกามทั้งหลาย นอกจากอกุศลธรรมเช่นนั้นเลย.

    ดูก่อนอุทายี ความสุขโสมนัสที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณห้านี้ เรากล่าวว่ากามสุข ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะอันบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรให้เกิดมี ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัวแต่สุขนั้น.

    ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ....
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุขเกิดแต่ความสงัดความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.

    แต่ก็ทำไมหนอ...?...ยังมีนักบวชในพุทธศาสนานี้ ยังเที่ยวชักชวนให้คนกลัวสมาธิสุขว่า เป็นความหลงความงมงายดังคนหลับบ้าง เที่ยวอุปมาเปรียบเทียบว่า ดังคนติดฝิ่นบ้าง...ไม่เป็นการคัดค้านคำสอนของพระศาสดาตนเองหรือไร ?

    ตอบลบ
  2. ***สวดธรรมจักรฯบูชา---------- พระรัตนตรัย***
    สวดบูชาพระพุทธเจ้าจำนวน----- บ่สุดสิ้น***
    อนิสงฆ์ผลบุญแผ่ไพศาล----บ่สิ้นสุดอจินไตย****
    อนันผลบุญนับอสงไขยนับบ่ได้ ----ปลื้มใจแผ่ไพศาล*

    ตอบลบ
  3. สมาธิมีประโยชน์มากมาย มีแต่ผลดี ไม่มีผลเสียเอย.

    ตอบลบ